กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6276
ชื่อเรื่อง: ผลของการประนอมข้อพิพาทในชั้นพนักงานอัยการ : กรณีศึกษา สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีในสังกัดภาค 2
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Results of dispute concilition of the public prosecutors: cse study of office of civil rights protection, legl id nd legl execution in region 2
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เทียนแก้ว เลี่ยมสุวรรณ
วนิชชา โพธิ์ทอง
มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ
คำสำคัญ: กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ -- ประนีประนอม
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน
ความขัดแย้งระหว่างบุคคล
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การศึกษาผลของการประนอมข้อพิพาทในชั้นพนักงานอัยการ: กรณีศึกษา สำนักงานอัยการคุ้มครอง สิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีในสังกัดภาค 2 มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาลักษณะของเรื่อง ที่เข้าสู่กระบวนการประนอมข้อพิพาทในชั้นพนักงานอัยการ (2) เพื่อศึกษาผลของการประนอมข้อพิพาท ในชั้นพนักงานอัยการ และ (3) เพื่อเปรียบเทียบผลของการประนอมข้อพิพาท จำแนกตามลักษณะของเรื่องที่เข้าสู่ กระบวนการประนอมข้อพิพาทในชั้นพนักงานอัยการ โดยใช้วิธีการวิจัยเอกสาร ซึ่งเป็นข้อมูลจากเอกสารสารบบ ประนีประนอมข้อพิพาทคดีแพ่งและอาญาของสำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมาย และการบังคับคดีภายในหน่วยงานสังกัดภาคที่ 2 ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2559 พบว่า มีจำนวนทั้งสิ้น 106 เรื่อง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบบันทึกข้อมูลสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษา พบว่า พื้นที่ที่มีเรื่องเข้าสู่กระบวนการประนอมข้อพิพาทมากที่สุด คือ จังหวัดระยอง ประเภทคดีที่เข้าสู่กระบวนการเกือบทั้งหมดเป็นคดีแพ่ง โดยคู่กรณีส่วนใหญ่เป็นบุคคล ลักษณะของข้อพิพาท ที่เข้าสู่กระบวนการเป็นข้อพิพาทเรื่องหนี้มากที่สุด ส่วนใหญ่มีสาเหตุจากข้อขัดแย้งทางด้านผลประโยชน์ ซึ่งเกือบทั้งหมดพนักงานอัยการเป็นผู้ทำหน้าที่ประนอมข้อพิพาท สำหรับผลการประนอมข้อพิพาท ในภาพรวม พบว่า ร้อยละ 44.34 ของเรื่องที่เข้าสู่กระบวนการประนอมข้อพิพาทสามารถไกล่เกลี่ยสำเร็จ และร้อยละ 36.79 ยุติการไกล่เกลี่ย ส่วนเรื่องที่ไกล่เกลี่ยไม่สำเร็จ คิดเป็นร้อยละ 18.87 สำหรับระยะเวลาของกระบวนการประนอม ข้อพิพาทโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 16 วัน โดยเรื่องที่สามารถไกล่เกลี่ยสำเร็จใช้ระยะเวลาในการประนอมข้อพิพาทเฉลี่ย 15 วัน เรื่องที่ไกล่เกลี่ยไม่สำเร็จใช้ระยะเวลาในการประนอมข้อพิพาทเฉลี่ย 14 วัน และเรื่องที่ต้องยุติการไกล่เกลี่ย มีระยะเวลาในการประนอมข้อพิพาทเฉลี่ย 18 วัน
รายละเอียด: งานนิพนธ์ (รป.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6276
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf909.41 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น