กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6272
ชื่อเรื่อง: ปัญหาและอุปสรรคในการนำนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าไปปฏิบัติของหน่วยบริการปฐมภูมิในเขตจังหวัดชลบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Problems nd obstcles of implementing policies on universl coverge scheme in primry helth cre units
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เทียนแก้ว เลี่ยมสุวรรณ
โชติกา คงพริ้ว
มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ
คำสำคัญ: ประกันสุขภาพ
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารทั่วไป
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการนํานโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าไปปฏิบัติของหน่วยบริการปฐมภูมิในเขตจังหวัดชลบุรี และเพื่อเปรียบเทียบระดับปัญหาและอุปสรรคในการนํานโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าไปปฏิบัติ จําแนกตามปัจจัยบุคคลของบุคลากรและปัจจัยด้านองค์กร กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรในหน่วยบริการปฐมภูมิ ในเขตจังหวัด ชลบุรี จํานวน 200 คน ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอยางแบบกลุ่มเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานการวิจัยโดยใช้การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย Independent sample t-test การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และใช้ค่า Brown-Forsythe และค่า Welch วิเคราะห์ข้อมูลแทน หากพบว่า Levene’s test ไม่เป็นไปตามข้อกำหนด และทดสอบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีการทดสอบ Scheffe และ Dunnett T3 โดยกำหนดระดับนัยสําคัญทางสถิติที่ .05 ผลการศึกษา พบว่า บุคลากรที่ปฏิบัติงานในหน่วยบริการปฐมภูมิในเขตจังหวัดชลบุรี มีปัญหาและอุปสรรคในการนํานโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าไปปฏิบัติอยู่ในระดับน้อยเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีปัญหาและอุปสรรคในด้านโครงสร้างมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านบุคลากร ด้านงบประมาณ และด้านสถานที่ ส่วนด้านวัสดุอุปกรณ์เป็นด้านที่เป็นปัญหาและอุปสรรคน้อยที่สุด ผลการเปรียบเทียบระดับปัญหาและอุปสรรคในการนํานโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าไปปฏิบัติ จําแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า เพศ อายุ อายุราชการ อายุการทํางาน ระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ตําแหน่งงาน และงานที่รับผิดชอบที่แตกต่างกันมีปัญหาและอุปสรรคในนํานโยบายหลักประกนสุขภาพถ้วนหน้าไปปฏิบัติไม่แตกต่างกัน แต่บุคลากรที่มีสถานภาพสมรส แตกต่างกันมีปัญหาและอุปสรรคในการนํานโยบายหลักประกันสุขภาพไปปฏิบัติแตกต่างกันอย่างมี นัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเมื่อจําแนกตามปัจจัยด้านองค์กร พบว่า จํานวนอาสาสมัครในพื้นที่รับผิดชอบและประชากรในพื้นที่รับผิดชอบที่แตกต่างกันมีปัญหาและอุปสรรคในนํานโยบายหลักประกนสุขภาพถ้วนหน้าไปปฏิบัติไม่แตกต่างกัน ส่วนจํานวนบุคลากรในหน่วยงาน จํานวน หมู่บ้านในพื้นที่รับผิดชอบ และจํานวนครัวเรือนในพื้นที่รับผิดชอบ ที่แตกต่างกันมีปัญหาและอุปสรรคในการนํานโยบายหลักประกนสุขภาพถ้วนหน้าไปปฏิบัติแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05
รายละเอียด: งานนิพนธ์ (รป.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6272
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf1.33 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น