กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6220
ชื่อเรื่อง: ผลของการฝึกอินเทอร์วาลแบบแอนแอโรบิก แบบแอโรบิก และแบบผสมผสานที่มีต่อตัวแปรเชิงแอนแอโรบิก แอโรบิก และความสามารถในการวิ่งระยะทาง 400 เมตร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Effects of nerobic, erobic nd combintion intervl trining on nerobic, erobic prmeters nd 400 meters running performnce
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เสกสรรค์ ทองคำบรรจง
ประทุม ม่วงมี
อภิรมย์ จามพฤกษ์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การออกกำลังกายและการกีฬา
การออกกำลังกาย
สมรรถภาพทางกาย -- การทดสอบ
แอโรบิก (กายบริหาร)
การวิ่ง
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการฝึกอินเทอร์วาลแบบแอนแอโรบิก แบบแอโรบิก และแบบผสมผสาน ระยะเวลาการฝึก 8 สัปดาห์ที่มีต่อตัวแปรความสามารถสูงสุดในการนําเอาออกซิเจน ไปใช้ แอนแอโรบิกเทรชโฮล สมรรถภาพเชิงแอนแอโรบิก กรดแลคติกในเลือด และความสามารถในการวิ่ง ระยะทาง 400 เมตร และเพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของตัวแปรดังกล่าว ก่อนการฝึกระหว่างการฝึกและหลัง การฝึกกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชายอายุ 15 ปีของโรงเรียนส่วนบุญโญปถัมภ์ลําพูน ได้มาแบบเจาะจง และ ถูกแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ๆ ละ 10 คน กลุ่มที่ 1 ฝึกอินเทอร์วาลแบบแอนแอโรบิก กลุ่มที่ 2 ฝึกอินเทอร์วาลแบบแอโรบิก และกลุ่มที่ 3 ฝึกอินเทอร์วาลแบบผสมผสาน แล้วนําผลการทดสอบที่ได้มาวิเคราะห์ข้อมูล โดยค่าสถิติพื้นฐาน วิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างกลุ่มความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ (ANOVA with repeated measures) นัยสําคัญทางสถิติถูกกําหนดไว้ที่ระดับ .05 ผลการวิจัยพบว่า 1) ความสามารถสูงสุดในการนําเอาออกซิเจนไปใช้ทั้ง 3 กลุ่ม เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ คือกลุ่มที่ 1 จาก 34.170 ± 6.062 เป็น 36.900 ± 6.772 มล./กก./นาที, กลุ่มที่ 2 จาก35.100 ± 7.314 เป็น 39.040 ± 6.871 มล./กก./นาที และกลุ่มที่ 3 จาก 34.210 ± 5.956 เป็น 39.580 ± 6.245 มล./กก./นาที, จุดที่ถือเป็นแอนแอโรบิกเทรชโฮลทั้ง 3 กลุ่ม เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ คือกลุ่มที่ 1 จาก 9.000 ± 1.000 เป็น 10.550 ± 0.896 กม./ชม., กลุ่มที่ 2 จาก 9.300 ± 1.206 เป็น 11.100 ± 0.966 กม./ชม.และกลุ่มที่ 3 จาก 9.350 ± 1.107 เป็น 10.950 ± 0.956 กม./ชม., สมรรถภาพเชิงแอนแอโรบิกได้แก่ พลังสูงสุดแบบแอนแอโรบิก ทั้ง 3 กลุ่มเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ คือ กลุ่มที่ 1 จาก 9.998 ± 0.544 เป็น 10.509 ± 0.571 วัตต์/กก.,กลุ่มที่ 2 จาก 9.823 ± 0.998 เป็น 10.288 ± 0.788 วัตต์/กก.และกลุ่มที่ 3 จาก 10.267 ± 0.972 เป็น 10.900 ± 0.892วัตต์/กก., ความสามารถในการยืนระยะแบบแอนแอโรบิกทั้ง 3 กลุ่ม เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ คือ กลุ่มที่ 1 จาก 7.636 ± 0.433 เป็น 7.943 ± 0.454วัตต์/กก., กลุ่มที่ 2 จาก 7.326 ± 0.709 เป็น 7.602 ± 0.898 วัตต์/กก. และ กลุ่มที่ 3 จาก 7.673 ± 0.554 เป็น 8.006 ± 0.517 วัตต์/กก., กรดแลคติกในเลือด ในกลุ่มที่ 2 มีเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น (ลดลง) อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ เพียงกลุ่มเดียวคือ จาก 12.390 ± 2.939 เป็น 10.900 ± 2.495 มิลลิโมล/ลิตร, ความสามารถในการวิ่งระยะทาง 400 เมตร ทั้ง 3 กลุ่ม มีการพัฒนาดีขึ้นอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ คือกลามที่ 1 จาก 83.610 ± 9.356 เป็น 75.945 ± 7.707 วินาที, กลุ่มที่ 2 จาก 82.079 ± 8.856 เป็น 74.574 ± 5.148 วินาที และกลุ่มที่ 3 จาก 83.308 ± 9.501 เป็น 76.149 ± 8.904 วินาทีและ 2) ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่ม พบว่า ไม่แตกต่างกันที่ระดับนัยสําคัญ .05
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.) -- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6220
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf2.74 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น