กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6219
ชื่อเรื่อง: รูปแบบใหม่ของเกณฑ์ชี้วัดโครงการด้านพลังงานทดแทน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The new model of indictors for considering renewble energy projects
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: บรรพต วิรุณราช
ณัฐพล อมตวณิช
มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์
คำสำคัญ: พลังงานทดแทน
มหาวิทยาลัยบูรพา -- การจัดการสาธารณะ
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบใหม่ของเกณฑ์ชี้วัดโครงการด้านพลังงานทดแทน และวิธีการปฏิบัติให้เข้าถึงรูปแบบใหม่ของเกณฑ์ชี้วัดฯ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบประสานวิธี กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเชิงคุณภาพใช้เทคนิคเดลฟายเป็นผู้เชี่ยวชาญผู้ทรงคุณวุฒิโครงการด้านพลังงานทดแทน จํานวน 17 ท่าน การวิจัยเชิงปริมาณเก็บแบบสอบถามจากผู้เชี่ยวชาญที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดําเนินโครงการด้านพลังงานทดแทนของประเทศไทยจํานวน 138 องค์กร ใช้โปรแกรม SPSS ในการวิเคราะห์ค่าสถิติที่เกี่ยวข้องได้แก่ ค่าเฉลี่ย, ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน, Paired sample t-test ในการทดสอบสมมติฐานที่ระดับความเชื่อมั่น 95 เปอร์เซ็นต์ ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบใหม่ของเกณฑ์ชี้วัดโครงการด้านพลังงานทดแทน ประกอบด้วย เกณฑ์พิจารณา 6 หมวดใหญ่ และประกอบด้วยเกณฑ์ย่อยด้านต่าง ๆ 25 ด้านย่อย ดังนี้ 1. หมวดเทคโนโลยีและการจัดการนวัตกรรม 1.1 ด้านความคิดริเริ่ม 1.2 ด้านเทคนิคทางวิศวกรรม 1.3 ด้านระดับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี 2. หมวดทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และสุขภาพ 2.1 ด้านสิ่งแวดล้อม 2.2 ด้านสุขภาพ 2.3 ด้านทรัพยากรและการวางแผนพลังงาน 3. หมวดสังคม ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และการพัฒนาอย่างยั่งยืน 3.1 ด้านสังคมโดยรวม 3.2 ด้านการปรับปรุงคุณภาพชีวิตของสังคมและชุมชน 3.3 ด้านการสร้างงานให้คนในชุมชน 3.4 ด้านเศรษฐกิจที่ส่งผลต่อชุมชน และท้องถิ่น 3.5 ด้านการสร้างความตระหนัก 3.6 ด้านการพัฒนาเมืองและชนบทอย่างยั่งยืนและเติบโตอย่างมั่นคง 3.7 ด้านการพิจารณาผู้มีส่วนได้เสีย 4. หมวดเศรษฐศาสตร์การเงินและการตลาด 4.1ด้านเศรษฐกิจและผลตอบแทนการลงทุน 4.2 ด้านการตลาดและพาณิชยกิจ 4.3 ด้านการสร้างมูลค่าเพิ่มต่อธุรกิจที่เกี่ยวข้องมุ่งเน้นการจัดการห่วงโซ่อุปทาน 4.4 ด้านการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน 5. หมวดความเป็นเลิศในการดําเนินการ 5.1 ด้านการดําเนินการและการบํารุงรักษา โครงการ 5.2 ด้านการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ 5.3 ด้านสมรรถนะของบุคลากรในการดําเนินโครงการ 5.4 ด้านผู้ค้า ผู้ส่งมอบ และพันธมิตรที่เกี่ยวข้อง 6. หมวดการจัดการองค์ความรู้และประยุกต์นําไปใช้งาน 6.1 ด้านความสามารถในการจําลองและนําไปใช้งาน 6.2 ด้านการใช้องค์ความรู้และทรัพยากรภายในประเทศ 6.3 ด้านการแบ่งปันองค์ความรู้ 6.4 ด้านรูปแบบการนําเสนอโครงการ ซึ่งผลการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า ความเหมาะสมของเกณฑ์พิจารณาโครงการพลังงานทดแทนที่ค้นพบและความสามารถที่จะพัฒนาเข้าถึงเกณฑ์ดังกล่าวได้แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญที่ 0.05
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6219
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf4.52 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น