กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6216
ชื่อเรื่อง: แนวทางการพัฒนาศักยภาพผู้ประนีประนอมของศาลยุติธรรมกรณีศึกษา : ศาลแรงงานภาค 2
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The development of meditor’s potentil in the court: cse study of the lbour court region 2
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: บรรพต วิรุณราช
ธัศฐ์ชาพัฒน์ ยุกตานนท์
มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์
คำสำคัญ: การไกล่เกลี่ย
การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการจัดการสาธารณะ
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณสมบัติและศักยภาพที่เหมาะสม รวมถึงศึกษาแนวทางการพัฒนาศักยภาพของผู้ประนีประนอมประจำศาลแรงงานของประเทศไทย ซึ่งผู้วิจัยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงประสานวิธี (Mixed method research) ประกอบไปด้วย การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) และการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action research) ผลการศึกษาพบว่า คุณสมบัติและศักยภาพที่เหมาะสมของผู้ประนีประนอม ประกอบด้วย 3 ด้าน คือ 1. ด้านคุณสมบัติ 2. ด้านความรู้ความสามารถและทักษะ 3. ด้านสมรรถนะซึ่ง แบ่งเป็น 13 ข้อย่อย ดังนี้ คือ ด้านคุณสมบัติ ประกอบด้วย 1) จบการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป 2) มีความรู้และประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์ต่อการไกล่เกลี่ย 3) เป็นที่ยอมรับทางสังคม มีความรับผิดชอบ ไม่เคยมีประวัติอาชญากร 4) มีจิตอาสา อุทิศเวลา ยอมรับความกดดันและไม่มุ่งหวังสิ่งตอบแทนและ 5) มีความเป็นกลาง เสมอภาคไม่ลำเอียง ด้านความรู้ความสามารถและทักษะ ประกอบด้วย 1) มีความรู้ด้านกฎหมายแรงงานและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง 2) มีความรู้ความสามารถและทักษะการใช้จิตวิทยาในการเจรจาต่อรอง 3) มีความรู้ความสามารถและทักษะในการจับประเด็นสำคัญสรุปความได้และด้านสมรรถนะประกอบด้วย 1) มีจริยธรรม ยึดมั่นในความถูกต้อง 2) มีความเข้าใจภารกิจการเป็นผู้ประนีประนอมอย่างถ่องแท้ 3) มีศิลปะการเจรจาต่อรองและการไกล่เกลี่ยความขัดแย้ง 4) มีคุณลักษณะการเป็นผู้นำ มีปฏิภาณไหวพริบและเป็นผู้ฟังที่ดี 5) มีความเชี่ยวชาญในการไกล่เกลี่ยประนีประนอม สรุปได้ว่า แนทางการพัฒนาศักยภาพผู้ประนีประนอม ควรต้องมีการอบรมให้ความรู้ด้านกฎหมายแรงงานรวมถึงด้านการเจรจาไกล่เกลี่ยและจิตวิทยาในการเจรจาต่อรอง เพื่อเพิ่มทักษะในการสรุปความและจับประเด็นที่สำคัญ ได้จัดรวบรวมคดีตัวอย่าง สร้างกลุ่มสัมพันธ์ให้ทำกรณีศึกษาและจัดให้มีการศึกษาดูงานตามสถานที่ประกอบการสรุปผลการฝึกอบรมแนวทางการพัฒนาศักยภาพของผู้ประนีประนอม พบว่า ความรู้ความเข้าใจของการฝึกอบรมในด้านทักษะและศักยภาพด้านการใช้จิตวิทยาในการเจรจาต่อรองมีอัตราการพัฒนาความรู้เพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 43.41 ด้านความรู้ด้านกฎหมายแรงงานและกฎหมายอื่น ๆ มีอัตราการพัฒนาความรู้เพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 17.71 ด้านความรู้ความสามารถและทักษะในการสรุปความและจับประเด็นสำคัญ มีอัตราการพัฒนาความรู้เพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 16.67 ส่วนผลการประเมินการจัดโครงการหลักสูตรการฝึกอบรมในภาพรวมของผู้เข้าร่วมโครงการ พบว่า การให้คะแนนประเมินเฉลี่ยระดับความพึงพอใจในภาพรวมของการฝึกอบรม อยู่ในระดับดีถึงดีมาก
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6216
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf4.25 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น