กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/617
ชื่อเรื่อง: ผลกระทบจากปรากฎการณ์ขี้ปลาวาฬบริเวณชายฝั่ง จังหวัดชลบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Impact from red tide at the coastal area of Chonburi
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สิทธิพันธ์ ศิริรัตนชัย
แววตา ทองระอา
มหาวิทยาลัยบูรพา. สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล
คำสำคัญ: ชายฝั่ง - - ชลบุรี - - ผลกระทบจากมูลปลาวาฬ - - วิจัย
ปลาวาฬ - - มูล - - ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม - - วิจัย
สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
วันที่เผยแพร่: 2536
สำนักพิมพ์: สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: ในแต่ละปีจะมีปรากฎการณ์ขี้ปลาวาฬ (red tide) เกิดขึ้นในอ่าวไทยหลายแห่งและบ่อยครั้งมากขึ้น บางครั้งการเกิดค่อนข้างรุนแรงและส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมากโดยเฉพาะครั้งที่เกิดขึ้นเมื่อกลางเดือนสิงหาคม 2534 ในบริเวณชายฝั่งของจังหวัดชลบุรี ตั้งแต่บริเวณชายหาดบางแสนไปจนถึงบริเวณอ่าวอุดม ซึ่งพบว่าเป็นการขยายพันธุ์อย่างรวดเร็ว ของไดโนแฟลคเจลเลต ชนิด นอคติลูกา ทำให้น้ำทะเลในบริเวณนี้มีสีเขียวเข้มตลอดแนวชายฝั่ง และในปี 2535 ช่วงระหว่างปลายเดือนมิถุนายน ถึงต้นเดือนกรกฎาคม ก็เกิดการขยายพันธุ์อย่างรวดเร็ว ของ นอคติลูกา อีกเช่นกัน ในบริเวณตั้งแต่อ่างศิลา ไปจนถึง อำเภอศรีราชา จากการเกิดปรากฎการณ์ขี้ปลาวาฬ ในช่วงเวลาดังกล่าวนับว่ารุนแรง และก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและประชาชนที่อยู่อาศัยในบริเวณชายฝั่งอย่างมาก โดยทำให้ปลา และสัตว์ทะเลหลายชนิดตายเป็นจำนวนมาก เกิดกลิ่นเหม็นที่รุนแรงตลอดแนวชายฝั่ง ทำให้น้ำทะเล และชายฝั่งสกปรก เกิดความเสียหายต่อการเพาะเลี้ยงกุ้งและการเลี้ยงปลาในกระชังคิดเป็นมูลค่าหลายสิบล้านบาท สร้างความตื่นตระหนกให้กับประชาชน และธุรกิจการท่องเที่ยวในบริเวณนี้เป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตามการเกิดปรากฎการณ์ขี้ปลาวาฬ ในบริเวณชายฝั่งจังหวัดชลบุรี มีแนวโน้มว่าจะเกิดในช่วงเวลาดังกล่าวทุกปี และนับจะทวีความรุนแรงขึ้นทุกวัน
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/617
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น