กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6149
ชื่อเรื่อง: การใช้ปุ๋ยอินทรีย์เพื่อลดต้นทุนในการผลิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและพัฒนาธุรกิจวิสาหกิจชุมชน ตำบลกุดสิมคุ้มใหม่ อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The use of orgnic fertilizer to reduce production cost regrding to philosophy of sufficiency economy nd to develop community enterprise in Kudsimkummi sub-district, Kho Wong district, Klsin province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: กฤช จรินโท
ธีรพงศ์ เถาว์ชาลี
มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์
คำสำคัญ: วิสาหกิจชุมชน -- ไทย -- กาฬสินธุ์
อุตสาหกรรมการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ
เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี)
เกษตรกรรม -- การควบคุมต้นทุนการผลิต
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาบริหารธุรกิจ สำหรับผู้บริหาร
ปุ๋ยอินทรีย์ -- การผลิต -- มาตรฐาน
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การทำวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนสมาชิกและเกษตรกรในพื้นที่ใกล้เคียงให้หันมาใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในการลดต้นทุนในการผลิต และเพื่อสนับสนุนการสร้างอาชีพ งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research: PAR) ใช้แบบสอบถามโครงการและใช้การสังเกต เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประชากรที่ใช้ในการศึกษาคือกลุ่มวิสาหกิจชุมชนหนองสโนว์ หมู่ที่ 8 ตำบลกุดสิมคุ้มใหม่ อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ ซึ่งมีจำนวนสมาชิก 12 คน ผลการวิจัย พบว่า โครงการใช้ปุ๋ยอินทรีย์เพื่อลดต้นทุนการผลิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีส่วนสำคัญต่อบทบาทในการพัฒนาเศรษฐกิจของชุมชนหนองสโนว์ หมู่ที่ 8 อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยเฉพาะการสนับสนุนส่งเสริมให้ประชาชนเกิดความตื่นตัว สนใจที่จะเข้ามาร่วมกิจกรรมที่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่ผู้ดำเนินโครงการจัดขึ้น แต่ที่พบทำได้น้อยเพราะ ผู้เข้าร่วมกิจกรรม มีภาระหน้าที่หลายด้านด้วยกันประกอบกับเป็นฤดูแห่งการเพาะปลูกและการเก็บเกี่ยวผลผลิตทางการเกษตร และประชาชนไม่ได้ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมอาชีพอย่างจริงจัง ในด้านของโครงการการใช้ปุ๋ยอินทรีย์เพื่อลดต้นทุนการผลิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจและเกษตรกร ในพื้นที่ใกล้เคียงส่วนมากยังขาดความรู้ความเข้าใจ ขาดประสบการณ์จึงทำให้ไม่สามารถนำหลักปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ได้อย่างเต็มที่และทั้งนี้ไม่มีเจ้าหน้าที่ดูแลรับผิดชอบโครงการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ เพื่อลดต้นทุนการผลิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโดยตรง ในส่วนการพัฒนาอาชีพมีข้อจำกัดด้วยเวลามีระยะเวลาน้อยในการดำเนินกิจกรรมจึงไม่สามารถปฏิบัติได้อย่างต่อเนื่อง ทำให้ประชาชนส่วน ใหญ่ยังขาดความรู้ความเข้าใจในรูปแบบและประกอบกับปัญหาดำเนินโครงการในปัญหาด้านการตลาด และยังขาดความสนใจจากเกษตรกรในพื้นที่อาจเป็นเพราะมีความคิดและความเชื่อว่าการทำการเกษตร โดยการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ยากลำบากกว่าการใช้ปุ๋ยเคมีเพราะปุ๋ยเคมีส่งผลต่อผลการเกษตรในระยะสั้น และจากสภาพสังคมที่ประชาชนมีความรู้มากขึ้น ทำให้เกิดความรู้สึกด้านลบ และเกิดการประเมินค่าการ ทำการเกษตรที่ต่ำ จึงไม่มีความสนใจที่จะเข้ามามีส่วนร่วมกับกิจกรรมโครงการการใช้ปุ๋ยอินทรีย์เพื่อลดต้นทุนการผลิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
รายละเอียด: งานนิพนธ์ (บธ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6149
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
57710017.pdf2.92 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น