กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/5440
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อซ้ำผักที่ได้มาตรฐานเกษตรกรรมอินทรีย์ของผู้บริโภคชาวลาวในเขตพื้นที่นครหลวงเวียงจันทน์ สปป.ลาว
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors Affecting Intention to Repurchase Organic Standard Farming Vegetables of Vientiane Consumers.  
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วุฒิชาติ สุนทรสมัย
สมบัติ ธำรงสินถาวร
สมทร ศรีสานนท์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะการจัดการและการท่องเที่ยว
Samoudthon Sisanonh
คำสำคัญ: ผักปลอดสารพิษ
เกษตรอินทรีย์ --ลาว
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: คณะการจัดการและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อซ้ำ เพื่อศึกษาทัศนคติที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อซ้ำ และ เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของระดับความคิดเห็นด้านปัจจัยส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อซ้ำผักที่ได้มาตรฐานเกษตรกรรมอินทรีย์ ของผู้บริโภคชาวลาวในเขตพื้นที่นครหลวงเวียงจันทน์ สปป.ลาว โดยการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีกลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ที่เคยบริโภคผักที่ได้มาตรฐานอินทรีย์ จำนวน 400 คน โดยเลือกการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล แบบออนไลน์ (Online Questionnaire ผ่าน Google Form) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สมาการถดถอยเชิงพหุคูณ (Multiple regression analysis) ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอยุระหว่าง 20 – 30 ปี จบการศึกษาระดับปริญญาตรี มีอาชีพรับราชการ และมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน มากกว่า 2.400.000 กีบ ปัจจัยส่วนบุคคลด้าน เพศ อายุ อาชีพ ระดับการศึกษา และรายได้ ไม่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อซ้ำผักที่ได้มาตรฐานเกษตรกรรมอินทรีย์ของผู้บริโภค และมีความคิดเห็นในด้านปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อส่งผลทางบวกต่อความตั้งใจซื้อซ้ำผักที่ได้มาตรฐานเกษตรกรรมอินทรีย์ ได้แก่ ปัจจัยด้านทำเลที่ตั้ง รองลงมาคือด้านการรับรู้ราคา และด้านความสะอาดและปลอดภัย และปัจจัยที่ส่งผลทางลบต่อความตั้งใจซื้อซ้ำผักที่ได้มาตรฐานเกษตรกรรมอินทรีย์ได้แก่ ปัจจัยด้านสิ่งอำนวยความสะดวก แสดงว่าผลลัพธ์ที่ได้ไปในทางตรงกันข้ามกับสมมติฐานที่วางไว้ ในด้านของทัศนคติของทัศนคติของผู้บริโภคส่งผลต่อความตั้งใจซื้อซ้ำผักที่ได้มาตรฐานเกษตรกรรมอินทรีย์ พบว่า ทัศนคติด้านความพึงพอใจส่วนตัวของผู้บริโภคมาก รองลงมาคือ ทัศนคติต่อคุณประโยชน์ที่จะได้รับ และด้านแรงจูงใจในการซื้อ แต่ด้านของความรู้เกี่ยวกับผักที่ได้มาตรฐานเกษตรกรรมอินทรีย์กลับไม่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อซ้ำ โดยผลการศึกษาฉบับนี้สามารถใช้เป็นความรู้ใหม่ในการศึกษาเกี่ยวกับการทำนายพฤติกรรมการบริโภค และพฤติกรรมความตั้งใจซื้อซ้ำผักที่ได้มาตรฐานเกษตรกรรมอินทรีย์ของผู้บริโภคชาวลาวในเขตพื้นที่นครหลวงเวียงจันทน์ สปป.ลาวได้
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (พธ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2564.
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/5440
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
62920160.pdf2.3 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น