กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/5439
ชื่อเรื่อง: แนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนเชิงบูรณาการของการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและธรรมชาติของชุมชนอำเภอสีโคดตะบอง นครหลวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Guldelines for an integrative sustainable development of cultural and natural community-based tourism for Sikhottabong Sistrict,Vientiane capital, Lao people's democratic republic
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วุฒิชาติ สุนทรสมัย
ธินิกานต์ สังข์สุวรรณ
จันทน์เพชร อินใจ
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะการจัดการและการท่องเที่ยว
Chanphet Inchai
คำสำคัญ: การท่องเที่ยว
การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม --ลาว
วัฒนธรรม
วันที่เผยแพร่: 2565
สำนักพิมพ์: คณะการจัดการและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นต่อศักยภาพแหล่งท่องเที่ยว 2) เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นต่อความคาดหวังและความต้องการในการจัดการแหล่งท่องเที่ยว 3) เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของระดับความคิดเห็นด้านศักยภาพแหล่งท่องเที่ยว และ 4) เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของระดับความคิดเห็นด้านความคาดหวังและความต้องการในการจัดการแหล่งท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนเชิงบูรณาการของการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและธรรมชาติของชุมชนอำเภอสีโคดตะบอง จำแนกตามลักษณะทางสังคมของประชากร การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้วิธีเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามออนไลน์ กับกลุ่มตัวอย่าง คือ ชุมชนในพื้นที่ท่องเที่ยว ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง และนักท่องเที่ยว จำนวน 400 คน ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ t-test และ One-way ANOVA ผลการศึกษา พบว่า ระดับความคิดเห็นต่อองค์ประกอบของศักยภาพแหล่งท่องเที่ยว และระดับความคิดเห็นด้านความคาดหวังและความต้องการในการจัดการแหล่งท่องเที่ยวของอำเภอสีโคดตะบองทั้งภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก การเปรียบเทียบความแตกต่างของระดับความคิดเห็นด้านศักยภาพแหล่งท่องเที่ยว พบว่า อาชีพ รายได้ จำนวนครั้งในการท่องเที่ยวที่ต่างกันมีผลต่อระดับความคิดเห็นต่อศักยภาพแหล่งท่องเที่ยว และการเปรียบเทียบความแตกต่างของระดับความคิดเห็นด้านความคาดหวังและความต้องการในการจัดการแหล่งท่องเที่ยว พบว่า สถานภาพ อาชีพ ระดับการศึกษาที่ต่างกันมีผลต่อระดับความคิดเห็นด้านความคาดหวังและความต้องการในการจัดการแหล่งท่องเที่ยว จากผลการวิจัยในครั้งนี้ สามารถนำผลที่ได้ไปพัฒนาและเป็นแนวทางในการวางแผนการจัดการเพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงบูรณาการทางด้านวัฒนธรรมและธรรมชาติอย่างยั่งยืน
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (บธ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2565.
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/5439
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
62920159.pdf5.31 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น