กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/5121
ชื่อเรื่อง: การตรวจสอบการปนเปื้อนไวรัสตับอักเสบชนิดเอในหอยนางรมพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Detection of Hepatitis A Viruses in Oysters Cultured in the East Coast of Thailand
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อุไรวรรณ อินทมาโส
คำสำคัญ: ไวรัสตับอักเสบเอ
หอยนางรม - - การปนเปื้อน
การปนเปื้อนในอาหาร
หอยนางรม - - จุลชีพก่อโรค
วันที่เผยแพร่: 2551
สำนักพิมพ์: คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: ไวรัสตับอักเสบชนิดเอเป็นไวรัสที่สำคัญชนิดหนึ่งที่มักติดต่อสู่คนผ่านการบริโภคหอยนางรมสดในเขตชายฝั่งตะวันออก การตรวจหาไวรัสในหอยนางรมสดก่อนที่จะไปถึงมือผู้บริโภค อาจมีประโยชน์ในเชิงป้องกันโรคได้ จากงานวิจัยนี้ได้นำเทคนิค RT-PCR มาใช้ตรวจหาไวรัสตับอักเสบเอในหอยนางรมสายพันธุ์ Saccostrea commercialis ที่เพาะเลี้ยงตามชายฝั่งทะเลในเขตจังหวัดชลบุรี โดยสกัดสารพันธุกรรมของไวรัสด้วยวิธี Acid-adsorption alkaline elution และนำสารพันธุกรรมของไวรัสมาขยายเพิ่มจำนวนด้วย primer ที่ออกแบบไว้ จากการทดลองพบว่า มีการปรากฎแถบ cDNA เพียง 1 แถบที่มีความยาวนิวคลีโอไทด์ ประมาณ 242 bp ตามที่คาดไว้ และไม่ปรากฎแถบของ cDNA เมื่อใช้สารพันธุกรรมของไวรัสชนิดอื่นที่ติดต่อผ่านทางอาหาร เมื่อตรวจสอบหอยนางรมที่เก็บมาเป็นเวลา 6 เดือนในเนื้อหรือกระเพาะอาหาร พบแถบ cDNA แต่เมื่อนำไปพิสูจน์ความจำเพาะของแถบ cDNA ที่เกิดขึ้นด้วยวิธี Southern blot hybridization ไม่มีการปรากฎของสัญญาณ จากการทดลองจะเห็นได้ว่าวิธี RT-PCR นั้นแม้มีความไวสูง แต่อาจทำให้เกิดผลบวกปลอมได้ซึ่งจำเป็นต้องมีการยืนยันผลด้วยวิธี Southern blot hybridization ก่อนถึงจะสามารถใช้ในการตรวจสอบการปนเปื้อนสารพันธุกรรมของไวรัสหอยนางรมได้
รายละเอียด: ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากงบประมาณเงินรายได้ที่เป็นเงินอุดหนุนจากรัฐบาลลักษณะงานวิจัยและพัฒนาถ่ายทอดเทคโนโลยี งบประมาณ ปี 2550-51
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/5121
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2566_004.pdf1.28 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น