กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/480
ชื่อเรื่อง: ผลการให้คำปรึกษาตามทฤษฎีโปรแกรมภาษาประสาทสัมผัสด้วยเทคนิคการสร้างทรรศนะใหม่ใต้จิตสำนึกแบบองค์รวมและเทคนิคการวางแผนอนาคตต่อความสม่ำเสมอในการรับประทานยาต้านไวรัสเอดส์ในผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ เอดส์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The effect of neuro-linguistic programming counseling on clobal unconscious reframing and future planner techniques for antiretroviral adherence of people living with HIV-AIDS
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จุฑามาศ แหนจอน
พวงทอง อินใจ
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: จิตใต้สำนึก
ทฤษฎีโปรแกรมภาษาประสาทสัมผัส
ผู้ติดเชื้อเอชไอวี - - การใช้ยา
ผู้ติดเชื้อเอชไอวี - - การให้คำปรึกษา
สารต้านไวรัส
สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
วันที่เผยแพร่: 2551
สำนักพิมพ์: คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาผลของการให้คำปรึกษาทฤษฎีโปรแกรมภาษาประสาทสัมผัสด้วยเทคนิคการสร้างทรรศนะใหม่ใต้จิตสำนึกแบบองค์รวมและเทคนิคการวางแผนอนาคตที่มีต่อความสม่ำเสมอในการรับประทานยาต้านไวรัสในผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ เอดส์ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ เอดส์ที่กินยาต้านไวรัสเอดส์ ณ คลินิกยาต้านไวรัส โรงพยาบาลชลบุรีมาแล้วอย่างน้อย 1 ปี อายุระหว่าง 20-60 ปี ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่ามี Clinical treatment failure และมีคะแนนความสม่ำเสมอในการกินยาต้านไวรัส <90% ได้กลุ่มตัวอย่างที่มีคุณสมบัติตรงตามต้องการและสมัครเข้าร่วมการทดลอง จำนวน 64 คน สุ่มอย่างง่ายเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 32 คน เครื่องมือในการวิจัย คือ แบบสอบถามความสม่ำเสมอในการกินยาต้านไวรัสเอดส์ ของวันทนา มณีศรีวงศ์กุล (2546) และโปรแกรมการให้คำปรึกษาทฤษฎีโปรแกรมภาษาประสาทสัมผัสที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง การเก็บข้อมูลดำเนินการตั้งแต่เริ่มวัดผลในระยะก่อนการทดลอง ระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำหนึ่งตัวแปรระหว่างกลุ่มและหนึ่งตัวแปรภายในกลุ่ม และการวิเคราะห์เนื้อหาจากประสบการณ์ผู้รับการปรึกษาเพื่อใช้อภิปรายผลร่วมกับข้อมูลเชิงสถิติ ผลการวิจัยพบว่า มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างวิธีการทดลองและระยะเวลาการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.1) ผู้ติดเชื้อ เอช ไอ วี / เอดส์ ที่ได้รับคำปรึกษาทฤษฎีโปรแกรมภาษาประสาทสัมผัส มีความสม่ำเสมอในการกินยาต้านไวรัส สูงกว่า กลุ่มควบคุมทั้งในระยะหลังการทดลอง และระยะติดตามผล สูงกว่าระยะก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< .01) และผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ เอดส์ ในกลุ่มทดลอง มีความสม่ำเสมอในการกินยาต้านไวรัส ในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผลสูงกว่าในระยะก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.01) สรุปได้ว่า การให้คำปรึกษา ทฤษฎีโปรแกรมภาษาประสาทสัมผัส ด้วยเทคนิคการสร้างทรรศนะใหม่ได้จิตสำนึกแบบองค์รวมและเทคนิคการวางแผนอนาคต ช่วยให้ผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ เอดส์ มีความสม่ำเสมอในการกินยาต้านไวรัส เพิ่มขึ้น > 90% ตามข้อกำหนดของการรับประทานยาต้านไวรัส
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/480
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2567_150.pdf6.31 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น