กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4482
ชื่อเรื่อง: ความสัมพันธ์ของการเกิดยีนโพลีมอร์ฟิซึมของยีน BDNF และ GRIA3 ต่อความไวในการเกิดโรคซึมเศร้าในประชากรไทย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Association of BDNF and GRIA3 gene polymorphisms with vulnerability for major depressive disorder in the Thai population
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ศรีอรุณ เอี่ยมจันทร์
เบญจมาศ สุขใจ
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสหเวชศาสตร์
คำสำคัญ: โรคซึมเศร้า
โรคซึมเศร้า - - ผู้ป่วย
โรคซึมเศร้า - - การรักษา
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: โรคซึมเศร้า (Major depressive disorder) เป็นโรคความผิดปกติทางอารมณ์ ที่สัมพันธ์กับการลดลงของสารสื่อประสาท serotonin และการส่งสัญญาณประสาทที่ผิดปกติในสมอง Brain-derived neurotrophic factor หรือ BDNF (สร้างจาก BDNF gene) เป็นโปรตีนที่สำคัญในการปกป้องเซลล์ประสาท ช่วยส่งเสริมและปรับสมดุลการส่งสัญญาณประสาท (synaptic plasticity) ในระบบสารสื่อประสาทต่าง ๆ รวมถึงระบบสารสื่อประสาท serotonin นอกจากนี้ โปรตีนตัวรับสารสื่อประสาทกลูตาเมทชนิด AMPA (สร้างจาก GRIA gene) มีบทบาทสำคัญในการกระตุ้นการทำงานของระบบประสาทและการส่งสัญญาณประสาท งานวิจัยที่ผ่านมาพบว่า ระดับของ BDNF และ ตัวรับสารสื่อประสาทกลูตาเมทชนิด AMPA มีการลดลงในสมองของผู้ป่วยโรคซึมเศร้า ดังนี้ การเกิด gene polymorphism ของ BDNF และ GRIA genes ซึ่งเป็นกระบวนการทางพันธุกรรมที่เกี่ยวข้องกับระดับการแสดงออกของยีนและโปรตีน น่าจะเป็นปัจจัยหนึ่งที่สัมพันธ์กับกลไกการก่อโรคซึมเศร้าได้ การศึกษานี้ จึงมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของการเกิด gene polymorphism ของยีน BDNF (rs6265) และ GRIA3 (rs502434) ต่อความไวในการเกิดโรคซึมเศร้าในประชากรไทย การศึกษา SNP genotyping ของยีน BDNF รหัส rs6265 และ GRIA3 รหัส rs502434 ได้ถูกดำเนินการในตัวอย่าง DNA ของอาสาสมัครชาวไทยกลุ่มควบคุมจำนวน 100 คน และอาสาสมัครกลุ่มผู้ป่วยซึมเศร้า จำนวน 100 คน โดย TaqMan SNP genotyping assay ผลการทดลอง ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของความถี่ของ genotype และ allele ของทั้ง ยีน BDNF-rs6265 และ GRIA3-rs502434 เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มผู้ป่วย แสดงให้เห็นว่า การเกิด gene polymorphism ของยีน BDNF และ GRIA3 ในรหัสนี้ไม่สัมพันธ์ต่อความไวในการเกิดโรคซึมเศร้าปัจจัยความแตกต่างทางพันธุกรรมของยีนที่ศึกษานี้ อาจยังไม่ใช่ปัจจัยเสี่ยงทางพันธุกรรมที่ส่งผลโดยตรงต่อกลไกการเกิดโรคซึมเศร้าในประชากรไทย
รายละเอียด: ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัย ประเภทเงินรายได้ ประจำำปีงบประมาณ 2562 คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4482
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2565_193.pdf9.05 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น