กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4470
ชื่อเรื่อง: การใช้เครื่องมือวิเคราะห์องค์ประกอบของร่างกายเพื่อป้องกัน การเกิดภาวะไตวายเฉียบพลันจากการฉีดสารทึบรังสีในผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Bioimpedance analysis for preventing contrast induced nephropathy in chronic kidney disease patients
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ระวีวรรณ วิฑูรย์
สมชาย ยงศิริ
ศรสุภา ลิ้มเจริญ
ตระการ ไชยวานิช
ศิริญญา ปัญญา
ธันวพร แพทย์พิทักษ์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะแพทยศาสตร์
คำสำคัญ: ภาวะไตวาย
โรคไตเรื้อรัง
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: Bioimpedance คือ เครื่องมือที่นำมาใช้วัดปริมาณสารต่าง ๆ ในร่างกาย (body composition) มีหลักการคือ วัดคุณสมบัติการนำไฟฟ้า ความต้านทานไฟฟ้า และความสามารถในการเก็บประจุของร่างกายต่าง ๆ โดยการผ่านกระแสไฟฟ้าปริมาณน้อย ๆ เข้าสู่ร่างกาย แล้ววัดค่า impedance และค่าทางไฟฟ้าอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง จากนั้นจึงนำค่าที่วัดได้ไปคำนวณหาปริมาณส่วนประกอบต่าง ๆ ของร่างกาย สามารถใช้ในการคำนวณสารอาหารต่าง ๆ ได้แก่ โปรตีน ไขมัน ปริมาณสารน้ำ การกระจายตัวของสารน้ำทั้งในเซลล์และนอกเซลล์ 1, 2 เป็นวิธีการที่ปลอดภัย และใช้มานานมากกว่า 40 ปี ในปัจจุบันมีการใช้ bioimpedance กันอย่างแพร่หลาย เช่น ประเมินไขมันในร่างกาย, ประเมินสารน้ำในผู้ป่วยไตวายที่ฟอกเลือด หรือล้างไตทางช่องท้อง, ประเมินสารน้ำในผู้ป่วยที่เข้ารับการดมยาสลบ และในผู้ป่วยที่เข้ารับการใส่ implant cardiac device เป็นต้น เนื่องจากผู้ป่วยไตวายเรื้อรังเป็นกลุ่มที่มีโอกาสเกิด CIN ได้มากกว่าผู้ป่วยที่มีการทำงานของไตปกติ ประกอบกับการประเมิน volume status ในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังมีความซับซ้อนมากกว่าคนทั่วไป การได้รับสารน้ำปริมาณน้อยไปอาจทำให้การทำงานของไตแย่ลงได้ แต่หากได้รับสารน้ำปริมาณมากไปอาจทาให้ผู้ป่วยมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะน้ำเกินอันเป็นอันตรายต่อชีวิต ผู้วิจัยจึงต้องการนำประโยชน์จากเครื่อง bioimpedance มาใช้ติดตามการให้สารน้ำในผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง เพื่อให้ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่จะเข้ารับการฉีดสารทึบรังสีมีสารน้ำในร่างกายในระดับที่เหมาะสม (optimal volume status ) วัดจาก bioimpedance -1 < OH ≤ 1 ผู้วิจัยจะประเมินผู้ป่วยเป็นรายบุคคล และให้สารน้ำจนกระทั่งผู้ป่วยมี optimal volume status (วัดจาก bioimpedance -1 < OH ≤ 1) เปรียบเทียบกับกลุ่มที่ให้สารน้ำตามมาตรฐาน (normal saline 1 ml/kg/hr) แล้ววัดผลออกมาเป็นอุบัติการณ์การเกิด CIN โดยมีสมมติฐานว่า การใช้ bioimpedance เพื่อติดตามการให้สารน้ำ (-1 < OH ≤ 1) จะช่วยลดอุบัติการณ์การเกิด CIN ในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังลงได้อย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับการให้สารน้ำตามมาตรฐาน (normal saline 1 ml/kg/hr)
รายละเอียด: ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากงบประมาณเงินรายได้ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 เลขที่สัญญา 011/2563
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4470
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2565_167.pdf3.58 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น