กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4359
ชื่อเรื่อง: อัตราส่วนระยะตั้งฉากของปุ่มข้อกระดูกต้นขาส่วนหลังและผลของการตัดกระดูกต้นขาทางด้านหน้าระหว่างระบบการอ้างอิงด้านหน้าและระบบการอ้างอิงด้านหลังในการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Posterior Condylar Offset Ratio and Anterior Femoral Cut between Anterior and Posterior Referencing Systems in Total Knee Arthroplasty
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ออมทรัพย์ พิกุลณี
ธนศักดิ์ ยะคำป้อ
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะแพทยศาสตร์
คำสำคัญ: ข้อเข่าเทียม
กระดูกโคนขา
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: บทนำและวัตถุประสงค์: การวัดขนาดของข้อเทียมส่วนประกอบกระดูกต้นขาและกำหนดจุดตัดกระดูก ระหว่างการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมมี 2 ระบบคือระบบการอ้างอิงด้านหน้าและระบบการอ้างอิงด้านหลัง ปัจจุบันยังไม่มีข้อสรุปว่าอัตราส่วนระยะตั้งฉากของปุ่มข้อกระดูกต้นขาส่วนหลังหรือผลของการตัดกระดูกต้นขาทางด้านหน้าหลังการผ่าตัดในแต่ละระบบเป็นอย่างไร ผู้วิจัยต้องการศึกษาเปรียบเทียบผลของการผ่าตัดดังกล่าวในสองระบบ วิธีการศึกษา: ทำการศึกษาในกลุ่มตัวอย่างที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมชนิดทดแทนเอ็นไขว้หลัง จำนวน 331 คน (443 เข่า) ในรูปแบบย้อนหลัง แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือระบบการอ้างอิงด้านหน้าและระบบ การอ้างอิงด้านหลัง ต่อมาทำการสุ่มกลุ่มตัวอย่างอย่างเป็นระบบเลือกกลุ่มตัวอย่างกลุ่มละ 104 เข้า ศึกษา อัตราส่วนระยะตั้งฉากของปุ่มข้อกระดูกต้นขาส่วนหลังและผลของการตัดกระดูกต้นขาทางด้านหน้า จากนั้น ทำการเปรียบเทียบภายในกลุ่มและระหว่างกลุ่มทั้งก่อนและหลังการผ่าตัด ผลการศึกษา: การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมทั้งระบบการอ้างด้านหน้าและระบบการอ้างอิงด้านหลังมี อัตราส่วนระยะตั้งฉากของปุ่มข้อกระดูกต้นขาส่วนหลังก่อนและหลังผ่าตัดคือ 0.47 (SD 0.04) โดยอัตราส่วนระยะตั้งฉากของปุ่มข้อกระดูกต้นขาส่วนหลังหลังการผ่าตัดทั้งสองกลุ่มคือ 0.47 (SD 0.04) ซึ่งไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.43) และผลของการตัดกระดูกต้นขาทางด้านหน้าคือช่องระหว่างส่วนปลายปิด ด้านหน้าของข้อเทียมส่วนประกอบกระดูกต้นขากับกระดูกต้นขาส่วนหน้าพบในระบบการอ่างอิงด้านหน้า 24.04% และพบในระบบการอ้างอิงด้านหลัง 28.85% ซึ่งไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.43) และไม่พบรอยบากทางด้านหน้าของกระดูกต้นขาในทั้งสองกลุ่มตัวอย่าง สรุป: การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมโดยใช้ระบบการอ้างอิงด้านหน้าหรือระบบการอ้างอิงด้านหลัง ทำให้ อัตราส่วนระยะตั้งฉากของปุ่มข้อกระดูกต้นขาส่วนหลังหลังการผ่าตัดไม่เปลี่ยนแปลงและไม่แตกต่างกัน รวมทั้งผลของการตัดกระดูกต้นขาทางด้านหน้าก็ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
รายละเอียด: งานวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากงบประมาณเงินรายได้ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4359
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2565_176.pdf15.1 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น