กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4316
ชื่อเรื่อง: การเปลี่ยนแปลงเชิงพื้นที่และเวลาในองค์ประกอบและความชุกชุมของชุมชีพมดในระบบเกษตรกรรมเขตร้อน : กรณีศึกษาจังหวัดระยองและจังหวัดชลบุรี ภาคตะวันออกของประเทศไทย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Spatial and temporal variation in the composition of ant assemblages in tropical agricultural system: a case study of Rayong and ChonBuri Provinces,Eastern ThaiLand
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สาลินี ขจรพิสิฐศักดิ์
เกศราภรณ์ จันทร์ประเสริฐ
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
คำสำคัญ: มด - - การควบคุมทางชีววิทยา
สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: ความหลากชนิดและความชุกชุมของมดที่หากินตามพื้นดินในระบบเกษตรกรรมเขตร้อนกรณีศึกษา จังหวัดชลบุรีและจังหวัดระยอง ภาคตะวันออกของประเทศไทย ได้ทำการศึกษาในเขตพื้นที่สวนน้อยหน่า สวนขนุน สวนทุเรียน สวนมังคุด และสวนยางพารา ระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2558 ถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2559 โดยสำรวจภาคสนามเดือนละครั้งด้วยวิธีเก็บตัวอย่าง 4 วิธี ได้แก่ การใช้กับดักหลุม กับดักเหยื่อทูน่ากับดักเหยื่อน้ำหวาน และการร่อนเศษใบไม้ ผลการศึกษาพบมดทั้งหมดจำนวน 299,874 ตัว แบ่งเป็นสวนขนุน 106,504 ตัว สวนน้อยหน่า 82,948 ตัว สวนทุเรียน 49,998 ตัว สวนมังคุด 35,724 ตัว และสวนยางพารา 24,700 ตัว โดยสามารถจัดจำแนกในระดับชนิดออกเป็น 41 ชนิด ใน 29 สกุล และ 7 วงศ์ย่อย ได้แ ก่ Dolichoderinae, Dorylinae, Ectatomminae, Formicinae, Myrmicinae, Ponerinae และ Pseudomyrmecinae สวนมังคุดพบจำนวนชนิดมดมากที่สุด (30 ชนิด ใน 26 สกุล 6 วงศ์ย่อย) รองลงมาคือ สวนทุเรียน (23 ชนิด ใน 21 สกุล 5 วงศ์ย่อย) สวนยางพารา (20 ชนิด ใน 18 สกุล 6 วงศ์ย่อย) สวนขนุน (15 ชนิด ใน 15 สกุล 4 วงศ์ย่อย) และสวนน้อยหน่า (15 ชนิด ใน 15 สกุล 4 วงศ์ย่อย) วงศ์ย่อย Myrmicinae เป็นวงศ์ย่อยที่มีจำนวนสกุลและจำนวนชนิดมากที่สุด (14 ชนิด 9 สกุล) รองลงมาคือ วงศ์ย่อย Formicinae (10 ชนิด 7 สกุล) และวงศ์ย่อย Ponerinae (7 ชนิด 5 สกุล) เมื่อพิจารณาตามวิธีเก็บตัวอย่าง พบว่า วิธีการวางกับดักหลุมเป็นวิธีที่ได้จำนวนวงศ์ย่อย สกุล และชนิดได้สูงสุดเมื่อเทียบกับวิธีอื่น โดยสามารถรวบรวมมดได้ทั้งหมด 7 วงศ์ย่อย 41 ชนิด 29 สกุล คิดเป็นร้อยละ 100 ของจำนวนชนิดมดทั้งหมด จากการศึกษาดัชนีโครงสร้างทางชีวภาพของชุมชีพมด พบว่า ค่าเฉลี่ยของดัชนีความหลากหลา ยของ Shannon (H') ดัชนีความสม่ำเสมอ (E') และดัชนีความหลากหลายของ Simpson (D') ของมดในพื้นที่สวนขนุนมีค่าต่ำที่สุดเมื่อเทียบกับพื้นที่สวนมังคุด สวนยางพารา สวนทุเรียน และสวนน้อยหน่า ตามลำดับ เมื่อพิจารณาถึงจำนวนตัวมดในแต่ละชนิด พบว่า มดง่าม (Carebara affinis) มดน้ำผึ้ง (Anoplolepis gracilipes) และมดคัน (Pheidole sp.1) เป็นชนิดพันธุ์เด่นที่พบในสวนทุเรียน สวนมังคุด และสวนยางพารา ตามลำดับ ขณะที่มดคันไฟ (Solenopsis geminate) เป็นชนิดพันธุ์เด่นที่พบทั้งในสวนขนุนและสวน น้อยหน่า ผลการศึกษาทั้งหมดในครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าความหลากชนิด ความชุกชุม และองค์ประกอบทางชนิดของกลุ่มสังคมมดมีความแปรผันไปตามรูปแบบของการทำเกษตรกรรม
รายละเอียด: งานวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4316
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2565_029.pdf3.92 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น