กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4307
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorอรสุรางค์ โสภิพันธ์
dc.contributor.authorจตุพร วิทยาคุณ
dc.contributor.authorเพียว ผาใต้
dc.contributor.authorนวลละออง สระแก้ว
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว. คณะเทคโนโลยีการเกษตร
dc.date.accessioned2022-03-11T02:25:09Z
dc.date.available2022-03-11T02:25:09Z
dc.date.issued2561
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4307
dc.description.abstractงานวิจัยนี้ศึกษาผลของวิธีการเติมโลหะเหล็กบนตัวรองรับซิลิกาจากเถ้าชานอ้อยเพื่อดูดซับสารปราบ วัชพืชไกลโฟเซต โดยนำเถ้าชานอ้อยเหลือทิ้งจากโรงงานน้ำตาลมาบำบัดด้วยวิธีทางความร้อนหรือวิธีทางเคมี จากนั้นใช้เป็นสารตั้งต้นในการเตรียมซิลิกา ได้ซิลิกาที่มีความบริสุทธิ์ (78-89 ร้อยละโดยน้ำหนักของซิลิกา) เมื่อทดสอบประสิทธิภาพการดูดซับไกลโฟเซต พบว่า ซิลิกาที่ได้จากเถ้าชานอ้อยผ่านการบำบัดด้วยความร้อนที่ 300 ˚C (Si-BA-300) เป็นตัวดูดซับที่มีประสิทธิภาพเหมาะสมที่สุด จากนั้นทำการเติมโลหะเหล็กลงบน Si-BA-300 ด้วยวิธีที่แตกต่างกัน ได้แก่ 1) วิธีทำให้เอิบชุ่ม (incipient wetness impregnation; IWI) 2) วิธีการรีฟลักซ์ (reflux; RF) 3) วิธีการเกิดปฏิกิริยาสถานะของแข็ง (solid state reaction; SSR) เอกลักษณ์ทางโครงสร้างและธาตุองค์ประกอบของตัวดูดซับที่เตรียมได้วิเคราะห์ด้วยเทคนิคการเลี้ยวเบนของรังสีเอกซ์และเทคนิคฟลูออเรสเซนต์ พื้นที่ผิวของตัวดูดซับวิเคราะห์ด้วยเทคนิคการวัดไอโซเทอร์มการดูดซับไนโตรเจนสภาวะออกซิเดชันของโลหะเหล็กวิเคราะห์ด้วยเทคนิคการดูดกลืนรังสีเอกซ์ และค่าพีเอชที่ประจุพื้นผิวตัวดูดซับเป็นศูนย์วิเคราะห์ด้วยวิธี pH Drift method โดยตัวดูดซับโลหะเหล็กบนตัวรองรับซิลิกาจากเถ้าชานอ้อยที่เตรียมด้วยวิธีต่าง ๆ ดังนี้ Fe/Si-BA-300-IWI Fe/Si-BA-300-RF และ Fe/Si-BA-300-SSR ใช้ทดสอบประสิทธิภาพการดูดซับไกลโฟเซต การวิเคราะห์ปริมาณไกลโฟเซตอาศัยวิธีคัลเลอรีเมตรีและวัดค่าการดูดกลืนแสงด้วยเทคนิคยูวี-วิสิเบิลสเปกโตรสโคปี จากผลการทดลองพบว่าประสิทธิภาพการดูดซับไกลโฟเซต เรียงลำดับจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ Fe/Si-BA-300-IWI > Fe/Si-BA-300-SSR ≈ Fe/Si-BA-300-RF > Si-BA-300 โดย Fe/Si-BA-300-IWI มีประสิทธิภาพในการดูดซับไกลโฟเซตสูงสุดคิดเป็น 32% การเติมโลหะเหล็กลงบนซิลิกาจากเถ้าชานอ้อยด้วยวิธีที่แตกต่างกันมีผลต่อปริมาณประจุบวกบนผิวหน้าของตัวดูดซับในสารละลายไกลโฟเซต จากการศึกษาไอโซเทอร์มการดูดซับพบว่าเป็นแบบฟรอยลิช โดยประสิทธิภาพการดูดซับไกลโฟเซตจะลดลงเมื่อสภาพพีเอชของสารละลายเพิ่มขึ้นth_TH
dc.description.sponsorshipสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้วth_TH
dc.subjectวัชพืชth_TH
dc.subjectชานอ้อยth_TH
dc.subjectโลหะth_TH
dc.subjectซิลิกาth_TH
dc.subjectสาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยาth_TH
dc.titleผลของวิธีการเติมโลหะเหล็กบนตัวรองรับซิลิกาจากเถ้าชานอ้อยเพื่อดูดซับสารปราบวัชพืชไกลโฟเชตth_TH
dc.title.alternativeInfluence of iron loading onto silica from bagasse ash for glyphosate adsorptionen
dc.typeResearchth_TH
dcterms.descriptionโครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณเงินแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 มหาวิทยลัยบูรพา
dc.author.emailonsulang@buu.ac.thth_TH
dc.author.emailJatuporn@sut.ac.thth_TH
dc.author.emailpiawtee99@hotmail.comth_TH
dc.author.emailn_srakaew@hotmail.comth_TH
dc.year2561th_TH
dc.description.abstractalternativeThis research studied the influence of iron loading onto silica from bagasse ash for glyphosate adsorption. Baggasse ash from sugar factories was treated by thermal or chemical methods. Then, it was used to prepared silica with high purity (78-89%w/w). As glyphosate adsorption experiment, Si-BA-300 from the thermal treatment at 300 ˚C was the best adsorbent. Thus, iron was loaded onto Si-BA-300 by different methods followed as 1) incipient wetness impregnation (IWI) 2) reflux (RF) and 3) solid state reaction (SSR). The structural identification and chemical compositions of adsorbents were analyzed by X-ray diffraction techniques and X-ray fluorescence techniques. The surface area of adsorbents was determined by N2 adsorption-desorption isotherm. Oxidation state of iron was analyzed by X-ray absorption techniques. pHpzc of adsorbents was determined by pH Drift method. The glyphosate adsorbents were Fe/Si-BA-300-IWI Fe/Si-BA-300-RF and Fe/Si-BA-300-SSR. Glyphosate quantitative analysis was performed by colorimetric method and detected by UV-Visible spectroscopy. From the results, the glyphosate adsorption capacity was following of Fe/Si-BA-300-IWI > Fe/Si-BA-300-SSR ≈ Fe/Si-BA-300-RF > Si-BA-300. Fe/Si-BA-300-IWI was the best adsorbent with 32% glyphosate adsorption. Addition of iron onto bagasse ash silica by different methods affected the cation density on adsorbent surface in glyphosate solution. From the study, the adsorption process was followed Freundlich isotherm. The glyphosate adsorption capacity was disproportional with solution pH.en
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2565_023.pdf1.56 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น