กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4244
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาลักษณะมุ่งอนาคตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ด้วยการปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการทฤษฎีและเทคนิค
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The development on future orientation of grade 9th students through assimilative integrative group counseling
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สิวินีย์ ทองนุช
ระพินทร์ ฉายวิมล
สุรินทร์ สุทธิธาทิพย์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: การให้คำปรึกษาแบบกลุ่ม
การแนะแนวกลุ่ม
นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น
สาขาการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนาที่มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบลักษณะมุ่งอนาคต 2) สร้างโปรแกรมการปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการทฤษฎีและเทคนิคสำหรับพัฒนาลักษณะมุ่งอนาคต และ 3) ศึกษาผลของโปรแกรมการปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการทฤษฎีและเทคนิคต่อการพัฒนาลักษณะมุ่งอนาคต กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่มัธยมศึกษา กระทรวง ศึกษาธิการในภาคตะวันออกของประเทศไทย แบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกมีจำนวน 960 คน ที่ได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multistage random sampling) เพื่อใช้ในการศึกษาองค์ประกอบลักษณะมุ่งอนาคต กลุ่มที่ 2 เป็นนักเรียนโรงเรียนแสนสุข จังหวัดชลบุรี ที่มีคะแนนลักษณะมุ่งอนาคตต่ำกว่าเปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ 25 จำนวน 24 คน สุ่มเป็น 2 กลุ่ม และทำการสุ่มเข้ากลุ่ม (Random assignment) แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 12 คน เพื่อใช้ในการศึกษาผลของโปรแกรมการปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการทฤษฎีและเทคนิคในกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุมใช้วิธีปกติของโรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ 1) แบบวัดลักษณะมุ่งอนาคต และ 2) โปรแกรมการปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการทฤษฎีและเทคนิคสำหรับพัฒนาลักษณะมุ่งอนาคต แผนการทดลองเป็นแบบสุ่ม 2 กลุ่ม ทดสอบระยะก่อนการทดลอง ระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผล (The randomized pretest-posttest control group design) และมีแผนการดำเนินการปรึกษากลุ่มในการทดลอง 18 ครั้ง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (EFA) การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (CFA) การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบสองทางวัดซ้ำ (two-way repeated measure ANOVA) และทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยรายคู่ด้วยวิธี Bonferroni ผลการวิจัยพบว่า 1. องค์ประกอบลักษณะมุ่งอนาคตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบได้แก่ การรับรู้ความสามารถตนเอง เจตคติต่อการเรียนรู้ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ การควบคุมตนเอง และการคาดการณ์อนาคต ซึ่งโมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์และมีค่าน้ำหนักองค์ประกอบอยู่ในเกณฑ์ระดับสูง ซึ่งมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2. รูปแบบโปรแกรมการปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการทฤษฎีและเทคนิค เพื่อพัฒนาลักษณะมุ่งอนาคตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นเริ่มต้นการให้การปรึกษา ขั้นดำเนินการให้การปรึกษาและขั้นยุติการให้การปรึกษา โดยเนื้อหาได้บูรณาการทฤษฎีการปรึกษากลุ่มพฤติกรรมการรู้คิด (CBT) และเทคนิคในทฤษฎีการปรึกษากลุ่มที่เกี่ยวข้องอีก 4 ทฤษฎี ได้แก่ เทคนิคในทฤษฎีเหตุผล อารมณ์และพฤติกรรม (REBT) เทคนิคในทฤษฎีเกสตัลท์ (GT) เทคนิคในทฤษฎีพฤติกรรมนิยม (BT) และเทคนิคในทฤษฎีเผชิญความจริง (RT) เพื่อพัฒนาลักษณะมุ่งอนาคตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 3. ผลของโปรแกรมการปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการทฤษฎีและเทคนิคต่อลักษณะมุ่งอนาคตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่า 1) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการทฤษฎีและเทคนิคมีลักษณะมุ่งอนาคตในระยะหลังการทดลอง และระยะติดตามผล สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการทฤษฎีและเทคนิคมีลักษณะมุ่งอนาคตระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผลสูงกว่าระยะก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4244
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
edusoc15n2p22-33.pdf646.36 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น