กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/424
ชื่อเรื่อง: สัมฤทธิผลการพัฒนาชุมชนตามโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ : กรณีศึกษา จ. สมุทรปราการ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The effectiveness of community development based on one tambon one product project : case study in Samutrprakarn province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุวรรณี ละออปักษิณ
นงคราญ วงษ์ศรี
จินตนา อาจสันเที๊ยะ
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
คำสำคัญ: การพัฒนาชนบท - - สมุทรปราการ
การพัฒนาชุมชน - - สมุทรปราการ
โครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์
วันที่เผยแพร่: 2554
สำนักพิมพ์: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์หลัก 2 ข้อ คือ 1)เพื่อศึกษาว่าโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์บรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการในระดับใดในด้าน 1.1)การสร้างงาน สร้างรายได้แก่ชุมชน 1.2)การสร้างความเข้มแข็งแก่ชุมชนให้สามารถคิดเอง ทำเองในระดับท้องถิ่น 1.3)การส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น 1.4)การส่งเสริมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และ 2)เพื่อวิเคราะห์ปัญหาเชิงบวกและลบที่มีผลต่อการดำเนินโครงการฯ และข้อเสนอแนะต่อการดำเนินโครงการฯ ต่อไป โดยศึกษาในพื้นที่ จ.สมุทรปราการใน 2 อำเภอ คือ อ.เมือง และ อ.พระประแดง โดยวิธีการสัมภาษณ์เป็นหลัก กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย หัวหน้ากลุ่ม 134 คน สมาชิกกลุ่ม 270 คน ผู้บริหารระดับสูงทองถิ่น 7 คน พัฒนากรชุมชนระดับอำเภอและจังหวัด และเกษตรกรอำเภอ 3 คน ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้ 1. การบรรลุวัตถุประสงค์โครงการ : 1.1)โครงการฯ สามารถสร้างงาน สร้างรายได้แก่ชุมชนในระดับสูง 1.2)โครงการฯ สามารถสร้างความเข้มแข็งแก่ชุมชนในระดับปานกลาง 1.3)โครงการสามารถส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นในระดับค่อนข้างสูง 1.4)โครงการฯ สามารถส่งเสริมพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อเป็นบุคคลของชุมชนในระดับปานกลางและผลลัพธ์การประเมินอื่น คือ 1)การเกิดเครือข่ายระหว่างกลุ่ม และ2)การต่างสนับสนุนระหว่างการปกครองท้องถิ่นแบบการกระจายอำนาจ และโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ 2.ปัจจัยเชิงบวกและลบที่กระทบต่อผลสัมฤทธิ์โครงการฯ และข้อเสนอแนะการดำเนินโครงการฯ : 2.1)ปัจจัยที่กระทบต่อการดำเนินโครงการในเชิงบวก ประกอบด้วย ความเข้นแข็งขององค์การบริหารส่วนตำบล การมีกิจกรรมกลุ่มในลักษณะประชาคม 2.2)ปัจจัยที่กระทบต่อการดำเนินโครงการในเชิงลบประกอบด้วยความไม่ต่อเนื่องของนโยบายการเมือง ความไม่เข้าใจอย่างแจ้งชัดของผู้มีส่วนได้เสียในแนวคิดโครงการ ข้อเสนอแนะการดำเนินโครงการฯ ที่สำคัญ คือต้องส่งเสริมการตลาดอย่างเข้มแข็ง สร้างเอกลักษณ์ของชุมชน เพื่อร้อยรัดพลังสร้างสรรค์และศรัทธาต่อชุมชน และสร้างความเข้าใจอย่างต่อเนื่องในการดำเนินโครงการฯ This study had two main objectives, which were 1) to assess how each of the One Tambon One Product was achieved its objectives in term of 1.1Xjob creating and increasing income to the communities promoting the communities' creativity in developing products which are in harmony with local culture and way of life., 1.2) stengthening the communities to be self-dependent by promoting the communities' creativity in developing products which are in harmony with local culture and way of life, 1.3)promoting Thai wisdom, 1.4)promoting human resoures development and 2) to explore both positive and negative factors affecting the project implementation and some recommendations to continue this project. The study area is the two districts in Samutrprakarn Province includeing Muang and Prapradaeng Districts. The data was collected mainly by the structural interview among the project stakeholders. The project stakeholders that were interviewed included 100 OTOP groups, each of which consisted of 134 leaders and 270 team members, 7 presidents of local authority ai tambon level, 3 Community Development Personnel at district level 1 Agricultural Personnel at district level, The finndings were as follow: 1) The achievement of the project objectives: 1.1) the OTOP Project could create jobs and income to the communities at the hight level, 1.2) the OTOP Project could strengthen the communities to be self-dependent at the moderate level, 1.3) the OTOP Project could promote Thai wisdom at the high level, 1.4) the OTOP Project could promote human resources development at the moderate level. Other findings are network between groups and reciprocity supporting between decentralizing government and OTOP Project, 2) The exploration ofboth positive and negative factors affecting the project and some recommendations to continue this project: 2.1) the positive factors affecting the OTOP Project included the strength of the Tambon Adminidtration Organization and the activties as society available to the community, 2.2) the negative factors affecting the OTOP Project included the unstable and sidcontinue policy of the OTOP Project and the unclear enough of the OTOP Project among the stakeholders. Some significant recommendation were that promoting marketing was in needed, creating promoting community identity was essential for synergizing the community creation and continuing to oromote the understanding of the OTOP project among the stakeholders.
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/424
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น