กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4182
ชื่อเรื่อง: กระบวนการสะสมทุนเบื้องต้นบริเวณพื้นที่ชายแดนไทย - กัมพูชาของจังหวัดชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The process of primitive accumulation of capital in Thailand- Cambodia border of eastern coastal provinces
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จุฑามาศ ชูสุวรรณ
ปรีชา เปี่ยมพงศ์สานต์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์
คำสำคัญ: การสะสมทุน
ทุนนิยม
พื้นที่ชายแดน -- ไทย (ภาคตะวันออก)
ปัญหาชายแดน -- ไทย (ภาคตะวันออก)
สาขารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุเพื่อศึกษาบริบท กลไก และกระบวนการแปลงสภาพของการสะสมทุนเบื้องต้นมาเป็นการสะสมทุนแบบทุนนิยมในบริเวณพื้นที่ชายแดนไทย-กัมพูชา ของจังหวัดชายฝั่งทะเลตะวันออก ผลการศึกษา พบว่า 1) บริบทสำคัญที่ก่อให้เกิดกระบวนการสะสมทุนเบื้องต้นในบริเวณพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออกเกิดขึ้นจากกระแสโลกาภิวัตน์หลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียตในปี ค.ศ. 2532–2534 มีผลให้เกิดกระบวนการพัฒนาของระบบทุนนิยมอย่างแพร่หลายไปทั่วโลก รัฐบาลไทยในยุคพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ ก็ได้มีการปรับเปลี่ยนนโยบายของรัฐไทยกับประเทศเพื่อนบ้านจากสนามรบเป็นสนามการค้าในปี พ.ศ. 2533 ส่งผลให้กระบวนการสะสมทุนเบื้องต้นตามแนวชายแดนจังหวัดตราดและจังหวัดเกาะกง สามารถขับเคลื่อนได้อย่างก้าวหน้า 2) กลไกที่สำคัญในการสะสมทุนเบื้องต้น ได้แก่ กลไกของรัฐไทย ทั้งกลไกด้านเศรษฐกิจในรูปแบบการค้าชายแดน และกลไกด้านการเมืองในรูปของจุดผ่านแดน และกลไกของรัฐบาลกัมพูชา ซึ่งเกิดขึ้นหลังจากที่รัฐบาลส่วนกลางสามารถเข้าไปปกครองดินแดนทั้งหมดในประเทศได้ รัฐบาลแห่งชาติของทั้งสองประเทศ ก็คือ รัฐบาลกัมพูชาและรัฐบาลไทยได้สนับสนุนให้เกิดกระบวนการสะสมทุนทั้งในระดับจังหวัดและระดับชาติ 3) กระบวนการแปลงสภาพของการสะสมทุนเบื้องต้นมาเป็นการสะสมทุนแบบทุนนิยม พบว่า มีพลวัตอยู่ในกระบวนการสะสมทุนเบื้องต้นเป็นหลัก กล่าวคือ มีการเปลี่ยนแปลงจากการสะสมทุนในธุรกิจสีดำไปสู่ธุรกิจสีเทา และเป็นธุรกิจสีขาวในปัจจุบัน ความพยายามในการแปลงสภาพจากการสะสมทุนเบื้องต้นไปสู่การสะสมในลักษณะทุนนิยมปรากฎให้เห็นเด่นชัดจากการทำการเกษตรขนาดใหญ่ แต่ก็ไม่สามารถขับเคลื่อนได้อย่างมีพลวัตได้ ข้อค้นพบจากการวิจัย ชี้ให้เห็นว่า ทฤษฎีการสะสมทุนเบื้องต้นในกลุ่มมาร์กซิสต์ ไม่มีทฤษฎีใดทฤษฎีหนึ่งมีความสมบูรณ์ในตนเอง ที่จะอธิบายถึงการสะสมทุนเบื้องต้นในพื้นที่ชายแดนของประเทศไทยได้ เนื่องจากแนวคิดเบื้องต้นของ David Harvey และ Karl Marx ต่างก็เป็นแนวคิดที่มีพื้นฐานจากตะวันตก โดยในกรณีของ Karl Marx เกิดจากบริบทในอดีต ส่วนในกรณีของ David Harvey เกิดจากบริบทปัจจุบันในยุค โลกาภิวัตน์และเสรีนิยมใหม่ ดังนั้น ในการใช้แนวคิดดังกล่าว อาจต้องมีการปรับให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของโลกที่เปลี่ยนไป
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4182
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
politic12n1p119-137.pdf425.66 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น