กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4091
ชื่อเรื่อง: รูปแบบการมีส่วนร่วมเพื่อการคิดสร้างสรรค์สู่การเพิ่มมูลค่าภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Collaborative model for community wisdom value-creation innovative process
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พรรณี พิมาพันธุ์ศรี
คำสำคัญ: การสร้างคุณค่าร่วม
ความคิดสร้างสรรค์
ภูมิปัญญาชาวบ้าน
การออกแบบผลิตภัณฑ์
สาขาสังคมศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: คณะการจัดการและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การพัฒนาชุมชนให้สามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจของชุมชนด้วยคุณค่า เป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนประเทศให้มีความยั่งยืนทางเศรษฐกิจ ประเทศไทยมีบริบท และความเป็นเอกลักษณ์ จากธรรมชาติ ศิลปะ และวัฒนธรรม ของแต่ละชุมชนที่สามารถสร้างรายได้ให้แต่ละชุมชนได้ และการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนของคน ชุมชนจึงเป็นการมีส่วนร่วมในการพัฒนาแท้จริงตามแนวความคิดและหลักการของการพัฒนาชุมชน เพื่อให้ชุมชนสามารถนำมาใช้ในการเรียนรู้ สนับสนุนและส่งเสริมให้กระบวนการเรียนรู้ร่วมกันของชุมชนดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อความยั่งยืนของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจชุมชน งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาแนวทางให้เกิดการมีส่วนร่วม และการประสานการทำงานร่วมกันของชุมชนและผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อการเพิ่มมูลค่าสินค้าและบริการของชุมชนที่สอดประสานวิถีไทยและภูมิปัญญาท้องถิ่นสาขางานศิลป์ที่หลากหลาย วิธีการดำเนินการและวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยจะใช้การจัดระดมความคิดเห็น (Focus Group) และการสังเกตอย่างมีส่วนร่วม (Participation Observation) เพื่อหาวิถีดั้งเดิมชุมชนเพื่อเชื่อมโยงสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นสินค้าที่มีรากมาจาก วิถีชีวิต ศิลปะ และธรรมชาติของชุมชน เพื่อการสืบค้นหาของดีของเด่นของแต่ละพื้นที่ และเพื่อให้ได้รูปแบบและวิธีการที่เหมาะสมในการสร้างความร่วมมือของชุมชน จากการทดลองวิจัยครั้งนี้พบว่า กระบวนการสืบค้นข้อมูลโดยการลงพื้นที่ และการทำค่ายร่วมกันช่วยสร้างปฏิสัมพันธ์และสามารถสร้างแรงบันดาลใจในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้แก่คนในชุมชน สามารถสร้างแรงบันดาลใจในการออกแบบผลิตภัณฑ์แก่เหล่านักออกแบบรุ่นใหม่ นักออกแบบอาชีพในสายงานต่าง ๆ ให้สามารถนำเอาของดีของเด่นของ และเรื่องราวของชุมชนร้อยเรียงมาเป็นส่วนหนึ่งของการออกแบบ กลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่สะท้อนถึงคุณค่าของชุมชนผ่านวัตถุดิบ เรื่องเล่า งานหัตถกรรมได้อย่างลึกซึ้ง จากการเปิดรับกลุ่มบุคคลภายนอกพื้นที่ (Outsider) มาร่วมกันทำงานในลักษณะสร้างคุณค่าร่วมกัน (Creating Shared Values) กล่าวคือ ไม่ต้องดำเนินการในสิ่งเดียวกันหรือทำงานร่วมกันในทุกกระบวนการของการพัฒนา เพราะแต่ละกลุ่มมีศักยภาพและข้อจำกัดที่แตกต่างกันออกไปแต่สามารถสร้างสรรค์คุณค่าร่วมกัน
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4091
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
bbs9n2p105-116.pdf557.6 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น