กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4046
ชื่อเรื่อง: การจำแนกจีโนไทป์/ สปีชีย์ทางอณูชีวโมเลกุลของเชื้อ Enterocytozoon bieneusi และ Cryptosporidium spp. ในสุกรที่เลี้ยงในจังหวัดชลบุรี ประเทศไทย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Molecular characterization of genotype/species of Enterocytozoon bieneusi and Cryptosporidium spp. from pig in Chon Buri province, Thailand
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อุมาพร ทาไธสง
เสาวนีย์ ลีละยูวะ
มฑิรุทธ์ มุ่งถิ่น
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
คำสำคัญ: สุกร - - การเลี้ยง - - ไทย - - ชลบุรี
สุกร - - การเลี้ยง - - ชลบุรี
สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: เชื้อ Cryptosporidium spp. และ Enterocytozoon bieneusi เป็นโปรโตซัวปรสิตฉวยโอกาสที่ทำให้เกิดโรคอุจจาระร่วงที่รุนแรงในผู้ป่วยภูมิคุ้มกันบกพร่องโดยเฉพาะผู้ที่ติดเชื้อ HIV เชื้อทั้งสองชนิดนี้พบได้ทั้งคนและสัตว์หลายชนิด เชื่อว่าการติดต่อสามารถเกิดขึ้นได้ทาง fecal-oral route เหมือนกับโปรโตซัวชนิดอื่น ๆ ในลำไส้ และมีรายงานว่าสัตว์เป็นรังโรคที่ทำให้เกิดการติดเชื้อในคน งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำการศึกษาความชุกของเชื้อ Cryptosporidium spp. และ E. bieneusi ในสุกรด้วยเทคนิค nested-PCR ในการเพิ่มจำนวนยีน small subunit (SSU) rRNA และทำการจำแนกจีโนไทป์/ สปีชีย์ของเชื้อทั้งสองชนิด โดยการศึกษานี้ได้ทำการเก็บตัวอย่างมูลสุกร จำนวน 245 ตัว จากฟาร์มจำนวน 11 ฟาร์ม ในเขตจังหวัดชลบุรี ประเทศไทย ผลการทดลองพบความชุกของเชื้อ Cryptosporidium spp. และ E. bieneusi เท'ากับ 20.8% (51/245 ตัวอย'าง) และ 15.1% (37/245 ตัวอย่าง) ตามลำดับ เมื่อทำการจำแนกจีโนไทป์/ สปีชีย์ของเชื้อ Cryptosporidium spp. ด้วยวิธี Restriction Fragment Length Polymorphism (RFLP) วิเคราะห์ลำดับนิวคลีโอไทป์และวิเคราะห์ phylogenic tree ของยีน SSU rRNA พบว'า เชื้อ Cryptosporidium spp. ที่พบในสุกร เป็นเชื้อ Cryptosporidium spp. pig genotype II 82.4% (42/51 ตัวอย่าง) และ Cryptosporidium suis 17.6% (9/51 ตัวอย่าง) และทำการจำแนกจีโนไทป์ของเชื้อ E. bieneusi ด้วยการวิเคราะห์ลำดับนิวคลีโอไทป์ และวิเคราะห์ phylogenic tree ของยีน SSU rRNA บริเวณ Internal transcribed spacer (ITS) พบว่าเป็นจีโนไทป์ E 78.4% (29/37 ตัวอย่าง) และจีโนไทป์ F 21.6% (8/37 ตัวอย่าง) และทั้งสองจีโนไทป์อยู่ในกลุ่ม 1 ของจีโนไทป์ที่สามารถติดต่อสู่คน (zoonotic potential) ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าสุกรอาจเป็นรังโรคของการติดเชื้อ Cryptosporidium spp. และ E. bieneusi ในคนในประเทศไทย การศึกษานี้เป็นรายงานแรกของการจำแนกจีโนไทป์/ สปีชีย์ของเชื้อ Cryptosporidium spp. ด้วยวิธีทางอณูชีวโมเลกุลในสุกรในประเทศไทย
รายละเอียด: โครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนจากรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4046
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2564_223.pdf4.62 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น