กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4042
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorเพ็ชรงาม ไชยวานิช
dc.contributor.authorพิสิษฐ์ พิริยาพรรณ
dc.contributor.authorสุกัญญา เจริญวัฒนะ
dc.contributor.authorสมชาย ยงศิริ
dc.contributor.authorสุริยา โปร่งน้ำใจ
dc.contributor.authorผกาพรรณ ดินชูไท
dc.contributor.authorศิริพร ตั้งจาตุรนต์รัศมี
dc.contributor.authorระวีวรรณ วิฑูรย์
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะแพทยศาสตร์
dc.date.accessioned2021-04-20T05:46:50Z
dc.date.available2021-04-20T05:46:50Z
dc.date.issued2557
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4042
dc.descriptionงานวิจัยฉบับนี้ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ประเภทงบประมาณแผ่นดิน ประจำปี 2557th_TH
dc.description.abstractแนวคิด: ภาวะทุพโภชนาการมีผลต่อคุณภาพชีวิตที่แย่ลง การดูแลภาวะโภชนาการอาจจะทำให้คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในชุมชนดีขึ้นได้ วัตถุประสงค์: เพื่อทราบถึงความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตกับภาวะโภชนาการ ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตและภาวะโภชนาการ และนำไปสู่การสร้างรูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในชุมชน วิธีวิจัย: ศึกษาวิจัยแบบตัดขวางในกลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุในชุมชนเทศบาลแสนสุข เก็บข้อมูลจากแบบสอบถามคุณภาพชีวิตขององค์กรอนามัยโลกฉบับย่อ (WHOQOL-BREF) แบบประเมินภาวะโภชนาการ (mini nutritional assessment) วัดสัดส่วนของร่างกายด้วยเครื่องมือ bioelectrical impedance analysis (BCM) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม R version 3.01 กำหนดให้ค่าความเชื่อมั่นที่ p<0.05 ถือว่ามีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างจำนวน 239 ราย อายุเฉลี่ย 67.3+5.64 ปี ร้อยละ 65.27 มีคุณภาพชีวิตอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง ร้อยละ 64.44 มี MNA อยู่ในเกณฑ์ปกติ กลุ่มที่มี MNA ปกติ มีคุณภาพชีวิตโดยรวม ดีกว่า กลุ่มที่มี MNA ผิดปกติอย่างมีนัยสำคัญ (93.01+10.61 vs. 89.69+9.71, p=0.016) กลุ่มที่ออกกำลังกาย 5-7 วัน/สัปดาห์ มี MNA ดีกว่า กลุ่มที่ออกกำลังกาย 1-4 วัน/สัปดาห์ อย่างมีนัยสำคัญ (25.34+2.80 vs. 24.46+3.05 p=0.03) กลุ่มรายได้ที่มากกว่า 10,000 บาทต่อเดือน มีคุณภาพชีวิต โดยรวม ดีกว่า กลุ่มที่มีรายได้น้อยกว่า 10,000 บาทต่อเดือนอย่างมีนัยสำคัญ (94.60+10.41 vs. 90.38+8.72 p=0.01) MNA มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตทุก ๆ มิติอย่างมีนัยสำคัญ (r=0.379 p<0.001) ผลการตรวจด้วยเครื่อง BCM มีความสัมพันธ์กับผลการวัด MNA แต่กลับไม่พบความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตแต่อย่างใด (r=0.111 p=0.165) สรุป: ภาวะโภชนาการมีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตทุก ๆ มิติในระดับปานกลาง กลุ่มตัวอย่างที่มีคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าคือกลุ่มที่ออกกำลังกายมากกว่า 4 ครั้งต่อสัปดาห์และกลุ่มที่มีรายได้มากกว่า 10,000 บาทต่อเดือน ผลการตรวจด้วยเครื่อง BCM มีความสัมพันธ์กับผลการวัด MNA แต่ไม่พบความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตแต่อย่างใดth_TH
dc.description.sponsorshipสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectผู้สูงอายุ - - คุณภาพชีวิต - - ไทยth_TH
dc.subjectผู้สูงอายุ - - โภชนาการth_TH
dc.subjectวัยชรา - - แง่โภชนาการth_TH
dc.subjectสาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์th_TH
dc.titleการพัฒนารูปแบบการดูแลภาวะโภชนาการในผู้สูงอายุ (ปีที่ 3)th_TH
dc.typeResearchth_TH
dc.author.emailpechngam074@hotmail.comth_TH
dc.author.emailpisit@buu.ac.thth_TH
dc.author.emailsukanyac@buu.ac.thth_TH
dc.author.emailsomshy@buu.ac.thth_TH
dc.author.emailsuriya@buu.ac.thth_TH
dc.author.emailpakaphan@buu.ac.thth_TH
dc.author.emailsiripornsopha@gmail.comth_TH
dc.author.emailr_aumy@hotmail.comth_TH
dc.year2557th_TH
dc.description.abstractalternativeBackground: Malnutrition is associated with poor quality of life (QOL). QOL in the elderly may be better if we can improve their nutritional status. Objective: To explore the association between QOL and nutritional status, factors affecting QOL and nutritional status, leading to the development of a model to improve nutritional status and QOL in the elderly. Methods: cross-sectional descriptive analytic study of QOL and nutritional status of the elderly in the Saensuk sub-district area, Thailand during Feb-Apr 2013. QOL was measured by WHOQOL-BREF questionnaire, nutritional assessment was measured by mini nutritional assessment (MNA) and bioelectrical impedance analysis (BCM). Data were analyzed by program R version 3.01, p<0.05 was considered as statistical significance. Results: There were 239 Thai elderly included in this study. Mean age was 67.3+5.64 year old, 65.27% of them had QOL in the middle range, 64.44% had normal MNA. Those who had normal MNA also had better QOL (93.01+10.61 vs. 89.69+9.71, p=0.016). The subjects who exercise more than 4 days per week had better MNA (25.34+2.80 vs. 24.46+3.05 p=0.03). Those who had higher income (more than 10,000 bath/month) had higher QOL (94.60+10.41 vs. 90.38+8.72 p=0.01). MNA correlated to all domain of QOL (r=0.379 p<0.001). BCM correlated to MNA but not QOL (r=0.111 p=0.165). Conclusion: Nutritional status was significantly correlated to QOL. The subjects who had better QOL were those who exercise more than 4 days/month and those who had income > 10,000 bath/month. BCM correlated to Nutritional status but not QOL.en
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2564_207.pdf1.35 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น