กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3926
ชื่อเรื่อง: ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและสารพฤกษเคมีของสารสกัดจากขลู่ในพื้นที่ต่าง ๆ ของ ประเทศไทย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Antioxidant capacity and phytochemicals of Pluchea indica extracts from different areas of Thailand
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ชัชวิน เพชรเลิศ
คำสำคัญ: ขลู่
อนุมูลอิสระ
สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: ขลู่ (Pluchea indica Less.) เป็นพืชในวงศ์ Asteraceae มีลักษณะเป็นไม้พุ่ม สามารถพบได้ตามป่า ชายเลน ใบอ่อนและหน่ออ่อนสามารถรับประทานได้ อย่างไรก็ตามข้อมูลเกี่ยวกับความแตกต่างของพื้นที่ตามแหล่งที่พบกับสารพฤกษเคมีที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระยังไม่มีการศึกษามากนัก ผู้วิจัยจึงสนใจศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของใบขลู่จากพื้นที่ต่าง ๆ ในประเทศไทย ได้แก่ จังหวัดจันทบุรี สมุทรสาคร และอุดรธานี โดยทำการสกัดใบขลู่ในเอทานอลเพื่อทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี DPPH ทดสอบค่าความสามารถในการรีดิวซ์เฟอร์ริก และศึกษาปริมาณสารประกอบฟีนอลรวม ฟลาโวนอยด์รวม รวมทั้งทำการศึกษาเชิงคุณภาพของสารโพลีฟีนอลชนิดต่าง ๆ โดยวิธีการทำให้เกิดสี และวิธีโครมาโตกราฟีแบบชั้นบาง (TLC) จากผลการทดสอบพบว่า เมื่อทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี DPPH ยังพบว่าส่วนสกัดเอทานอลของใบขลู่จังหวัดจันทบุรีมีฤทธิ์ในการกำจัดอนุมูล DPPH สูงที่สุดโดยมีค่า EC50 น้อยที่สุดเท่ากับ 0.090±0.009 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร โดยวิตามินซีและบีเอชทีที่ถูกใช้เป็นตัวควบคุมเชิงบวก มีค่า EC50 เท่ากับ 0.006±0.004 และ0.023±0.016 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร ตามลำดับ นอกจากนี้เมื่อทำการทดสอบค่าความสามารถในการรีดิวซ์เฟอร์ริกพบว่า ส่วนสกัดเอทานอลของขลู่ที่มาจากจังหวัดจันทบุรีถึงแม้จะมีความสามารถในการรีดิวซ์เฟอร์ริกมากที่สุด (283.582±0.002 มิลลิกรัมสมมูลเฟอร์รัสซัลเฟตต่อกรัมของส่วนสกัดใบขลู่) แต่ก็ไม่แตกต่างจากส่วน สกัดของขลู่ที่มาจากจังหวัดสมุทรสาคร อย่างไรก็ตาม ยังพบว่า ส่วนสกัดเอทานอลของจังหวัดสมุทรสาครมีปริมาณฟีนอลรวมมากที่สุดเท่ากับ 87.840±0.270 มิลลิกรัมสมมูลกรดแกลลิกต่อกรัมของส่วนสกัด อีกทั้งยังพบว่าส่วนสกัดเอทานอลของจังหวัดสมุทรสาครมีปริมาณฟลาโวนอยด์รวมมากที่สุดเท่ากับ 317.300±0.001 มิลลิกรัมสมมูลของเควอร์เซตินต่อกรัมของส่วนสกัด และเมื่อนำทดสอบเชิงคุณภาพทั้งการทดสอบด้วยน้ำยาทดสอบต่าง ๆ รวมทั้งการทดสอบด้วยวิธี TLC ผลปรากฏว่า ในสารสกัดเอทานอลจากชาใบขลู่จากทั้ง 3 จังหวัด มีองค์ประกอบของสารประกอบฟีนอลในกลุ่มฟลาโวน ฟลาโวนอล แซนโทน และแทนนิน อีกทั้งยังมีสารฟลาโวน-โอ-ไกลโคไซด์ ฟลาโวน ซี-ไกลโคไซด์ ฟลาโวนอล โอ-ไกลโคไซด์ นอกจากนี้ยังพบฟลาวาโนน ฟลาโวนอล และ ฟลาโวนอยด์-อะไกลโคนที่มีขั้วสูง ซึ่งจากการศึกษาครั้งนี้ทำให้ทราบว่าใบขลู่ในแต่ละพื้นที่ของประเทศไทยอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระในปริมาณที่แตกต่างกัน และมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระที่ต่างกันด้วย
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3926
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2564_071.pdf636.7 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น