กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3865
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorปิยะพงษ์ ประเสริฐศรี
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสหเวชศาสตร์
dc.date.accessioned2020-04-12T02:33:27Z
dc.date.available2020-04-12T02:33:27Z
dc.date.issued2562
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3865
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบระดับความดันโลหิต การทำงานของระบบ ประสาทอัตโนมัติที่ควบคุมหัวใจ และปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือดก่อนและหลังการรับประทานน้ำมันรำข้าวทั่วไปและน้ำมันรำข้าวไรซ์เบอร์รี่ในผู้สูงอายุที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคความดันโลหิตสูง และเพื่อเปรียบเทียบระดับความดันโลหิต การทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติที่ควบคุมหัวใจ และปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือดหลังการรับประทานน้ำมันรำข้าวทั่วไปและน้ำมันรำข้าวไรซ์เบอร์รี่ในผู้สูงอายุที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคความดันโลหิตสูง ผู้เข้าร่วมโครงการวิจัยเป็นผู้สูงอายุที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 36 คน เป็นเพศชาย 1 คน และเพศหญิง 35 คน อายุ 66.50 ± 4.69 ปี ดัชนีมวลกาย 24.11 ± 3.22 กิโลกรัม/ตารางเมตร ระดับความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัวและคลายตัว 122.16 ± 11.80 และ 73.58 ± 11.64 มิลลิเมตรปรอท ผู้เข้าร่วมโครงการวิจัยถูกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มโดยวิธีการสุ่ม ประกอบด้วยกลุ่มที่รับประทานน้ำมันรำข้าวทั่วไป จำนวน 19 คน และกลุ่มที่รับประทานน้ำมันรำข้าวไรซ์เบอร์รี่ จำนวน 17 คน ผู้เข้าร่วมโครงการวิจัยทั้ง 2 กลุ่มรับประทานน้ำมันรำข้าวที่ได้รับ ขนาด 500 มิลลิกรัม วันละ 2 แคปซูล หรือวันละ 1,000 มิลลิกรัม หลังอาหารเช้าทุกวัน ติดต่อกันเป็นเวลา 8 สัปดาห์ ก่อนและหลังการรับประทานน้ำมันรำข้าว ผู้เข้าร่วมโครงการวิจัยได้รับการตรวจวัดองค์ประกอบของร่างกาย ระดับความดันโลหิต ความแปรปรวนของอัตราการเต้นของหัวใจซึ่งบ่งชี้การทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติที่ควบคุมหัวใจ ปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือด ภาวะเครียดออกซิเดชันและการอักเสบในเลือด ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มที่รับประทานน้ำมันรำข้าวทั่วไปมีระดับภาวะเครียดออกซิเดชันลดลง (p = 0.000) ขณะเดียวกันพบว่ามวลโปรตีนลดลงเช่นกัน (p = 0.028) ส่วนกลุ่มที่รับประทานน้ำมันรำข้าวไรซ์เบอร์รี่มีระดับภาวะเครียดออกซิเดชันลดลง (p = 0.001) การอักเสบลดลง (p = 0.007) น้ำหนักตัวลดลง (p = 0.024) และดัชนีมวลกายมีแนวโน้มลดลงหลังการรับประทาน (p = 0.052) เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มพบว่าระดับความดันโลหิต การทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติที่ควบคุมหัวใจ ปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือด ภาวะเครียดออกซิเดชันและการอักเสบในเลือดของผู้เข้าร่วมโครงการวิจัยทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกัน แต่กลุ่มที่รับประทานน้ำมันรำข้าวไรซ์เบอร์รี่มีแนวโน้มของอัตราการเต้นของหัวใจต่ำกว่ากลุ่มที่รับประทานน้ำมันรำข้าวทั่วไป (p =0.088) การศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าผู้สูงอายุที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคความดันโลหิตสูงที่รับประทานน้ำมันรำข้าวไรซ์เบอร์รี่เป็นประจำในระยะสั้นมีภาวะเครียดออกซิเดชัน การอักเสบ และน้ำหนักตัวลดลง การศึกษาผลของการรับประทานน้ำมันรำข้าวไรซ์เบอร์รี่ในระยะยาวขึ้น อาจช่วยให้เห็นการเปลี่ยนแปลงความดันโลหิต การทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติที่ควบคุมหัวใจ รวมถึงองค์ประกอบของร่างกายได้ชัดเจนขึ้นth_TH
dc.description.sponsorshipงานวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากงบประมาณเงินรายได้ (เงินอุดหนุนจากรัฐบาล) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562th_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectผู้สูงอายุth_TH
dc.subjectความดันโลหิตสูงth_TH
dc.subjectข้าวไรซ์เบอร์รี่th_TH
dc.subjectภาวะเครียดออกซิเดชันth_TH
dc.subjectระบบประสาทth_TH
dc.subjectสาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์th_TH
dc.titleผลของการบริโภครำข้าวและจมูกข้าวไรซ์เบอร์รี่ต่อการควบคุมความดันโลหิต การทำงานของหัวใจ และความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้สูงอายุที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคความดันโลหิตสูงth_TH
dc.title.alternativeEffects of Riceberry Bran and Germ Supplementation on Blood Pressure Control, Cardiac Function, and Cardiovascular Risks in Aging with Pre-hypertensionen
dc.typeResearchth_TH
dc.author.emailpiyapong@buu.ac.thth_TH
dc.year2562th_TH
dc.description.abstractalternativeThe present study investigated and compared blood pressure (BP), cardiac autonomic nervous system (ANS) function, and cardiovascular risk factors before and after rice bran oil (RBO) and riceberry rice bran oil (RRBO) consumptions in Thai elderly with prehypertension (PHTN), and compared BP, cardiac ANS function, and cardiovascular risk factors after the RBO and RRBO consumptions in Thai elderly with PHTN. Subjects were 36 Thai elderly with PHTN consisted of 1 male and 35 females, age 66.50 ± 4.69 years, body mass index 24.11 ± 3.22 kg/m2, systolic BP and diastolic BP were 122.16 ± 11.80 and 73.58 ± 11.64 mmHg. Subjects were randomly divided into two groups: RBO group (n = 19) and RRBO group (n = 17). Subjects in both the RBO and RRBO groups received their own supplement for 1,000 mg daily (500 mg x 2 capsules/day) following breakfast for consecutive 8 weeks. All subjects were evaluated body composition, BP levels, heart rate variability which indicating cardiac ANS function, cardiovascular risk factors, oxidative stress, and inflammation before and after the 8-week consumption. The results showed that RBO group had significantly decreased oxidative stress (p = 0.000) and protein mass (p = 0.028), while RRBO group had significantly decreased oxidative stress (p = 0.001), inflammation (p = 0.007), and body mass (p = 0.024). Body mass index also tended to significantly decreae in the RRBO group (p = 0.052). When compared between the RBO and RRBO groups, BP levels, cardiac ANS function, cardiovascular risk factors, oxidative stress, and inflammation were not significantly different. However, heart rate tended to significantly lower in the RRBO group (p = 0.088). This study suggests that, in short-term, oxidative stress, inflammation, and body mass was decreased in the elderly with PHTN who regularly consumed RRBO. Further investigation in long-term consumption may elicit changes in BP and cardiac ANS function, as well as body composition.en
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2564_011.pdf966.97 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น