กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3863
ชื่อเรื่อง: การปรับปรุงกระบวนการผลิตบรรจุภัณฑ์อาหารย่อยสลายได้ทางชีวภาพจากใบและจุกสับปะรด
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Process Improvement of Biodegradable Food Package from Pineapple Turgid Leaf and Crown
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จุฬารัตน์ หงส์วลีรัตน์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
คำสำคัญ: บรรจุภัณฑ์ -- แง่สิ่งแวดล้อม
บรรจุภัณฑ์อาหาร
สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้ได้ศึกษาผลของปัจจัยในกระบวนการผลิตบรรจุภัณฑ์อาหารย่อยสลายได้ทางชีวภาพจากเยื่อใบและจุกสับปะรดสายพันธุ์ศรีราชาโดยการขึ้นรูปด้วยความร้อน ได้แก่ ขนาดของวัตถุดิบในการเตรียมเยื่อทางเคมี สภาวะในการตีป่น (เวลาที่ใช้) และสภาวะในการขึ้นรูป (อุณหภูมิและเวลา) ต่อคุณภาพของบรรจุภัณฑ์อาหารย่อยสลายได้ทางชีวภาพจากเยื่อใบและจุกสับปะรด ผลการศึกษาขนาดของวัตถุดิบพบว่า บรรจุภัณฑ์ที่ขึ้นรูปจากเยื่อใบสับปะรดความยาว 2 ซม. มีการจัดเรียงตัวของเยื่อหนาแน่นกว่าเล็กน้อย ขอบจานและก้นจานมีความหนาน้อยกว่า มีค่าการดูดซึมน้ำและค่าการต้านทานแรงทิ่มทะลุต่ำกว่า แต่มีค่าความสว่าง ค่าความเป็นสีแดง และค่าความเป็นสีเหลืองสูงกว่าบรรจุภัณฑ์ที่ขึ้นรูปจากเยื่อจุกสับปะรดผลการศึกษาเวลาที่ใช้ในการตีป่นพบว่า บรรจุภัณฑ์ที่ขึ้นรูปจากเยื่อจุกสับปะรดที่ใช้เวลาในการตีป่น 25 วินาที มีการจัดเรียงตัวของเยื่อหนาแน่นกว่า ขอบจานและก้นจานมีความหนาน้อยกว่ามีค่าการต้านทานแรงทิ่มทะลุสูงกว่า มีค่าความสว่าง และค่าความเป็นสีเหลืองสูงกว่าบรรจุภัณฑ์ที่ขึ้น รูปจากเยื่อจุกสับปะรดที่ใช้เวลาในการตีป่น 15 วินาที แต่เวลาที่ใช้ในการตีป่นไม่มีผลต่อการดูดซึมน้ำและปริมาณความชื้นของบรรจุภัณฑ์ที่ขึ้นรูปจากเยื่อจุกสับปะรด ส่วนบรรจุภัณฑ์ที่ขึ้นรูปจากเยื่อใบสับปะรดความยาว 2 เซนติเมตร ที่ใช้เวลาในการตีป่น 15 และ 25 วินาที มีการจัดเรียงตัวของเยื่อ หนาแน่นไม่แตกต่างกัน ค่าการดูดซึมน้ำ ค่าการต้านทานแรงทิ่มทะลุ ค่าความสว่าง ค่าความเป็นสี แดง และค่าความเป็นสีเหลืองของบรรจุภัณฑ์ที่ใช้เวลาในการตีป่น 15 และ 25 วินาที แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p≥0.05) แต่ความหนาของขอบจานและก้นจานที่ใช้เวลาในการตีป่น 25 วินาที มีค่าน้อยกว่าบรรจุภัณฑ์ที่ใช้เวลาในการตีป่น 15 วินาที และปริมาณความชื้นของบรรจุภัณฑ์ที่ขึ้นรูปจากเยื่อใบสับปะรดที่ใช้เวลาในการตีป่น 25 วินาที มีค่ามากกว่าบรรจุภัณฑ์ที่ใช้เวลาในการตีป่น 15 วินาที ผลการศึกษาอุณหภูมิและเวลาในการขึ้นรูปพบว่า บรรจุภัณฑ์ที่ขึ้นรูปจากเยื่อจุกสับปะรดที่ ใช้อุณหภูมิในการขึ้นรูป 150°C 20 นาที และ 200°C 1 นาที มีการจัดเรียงตัวของเยื่อหนาแน่นไม่ แตกต่างกัน ความหนาของขอบจานไม่แตกต่างกันแต่ความหนาของก้นจานที่ใช้อุณหภูมิในการขึ้นรูป 200°C 1 นาที มีค่ามากกว่า ค่าการต้านทานแรงทิ่มทะลุและปริมาณความชื้นของบรรจุภัณฑ์ที่ใช้อุณหภูมิในการขึ้นรูป 200°C 1 นาที มีค่าน้อยกว่า แต่อุณหภูมิและเวลาในการขึ้นรูปไม่มีผลต่อการ ดูดซึมน้ำของบรรจุภัณฑ์ที่ขึ้นรูปจากเยื่อจุกสับปะรด ส่วนบรรจุภัณฑ์ที่ขึ้นรูปจากเยื่อใบสับปะรดความ ยาว 2 เซนติเมตร ที่ใช้อุณหภูมิในการขึ้นรูป 150°C 20 นาที และ 200°C 1 นาที มีการจัดเรียงตัวของเยื่อหนาแน่นไม่แตกต่างกัน ความหนาของขอบจานและก้นจาน ค่าการดูดซึมน้ำ และค่าการต้านทานแรงทิ่มทะลุแตกต่างกันอย่าไม่มีนัยส้าคัญทางสถิติ (p≥0.05) แต่ปริมาณความชื้นของบรรจุภัณฑ์ที่ใช้อุณหภูมิในการขึ้นรูป 200°C 1 นาที มีค่าน้อยกว่าบรรจุภัณฑ์ที่ใช้อุณหภูมิในการขึ้นรูป 150°C 20 นาที จากผลการวิจัยทั้งหมดแสดงให้เห็นว่า ขนาดของวัตถุดิบในการเตรียมเยื่อทางเคมีมีผลต่อ คุณภาพของบรรจุภัณฑ์ขึ้นรูปในทุกด้าน สภาวะในการตีป่น (เวลาที่ใช้) มีผลต่อการจัดเรียงตัวของเยื่อความหนา ค่าการต้านทานแรงทิ่มทะลุ และค่าสีของบรรจุภัณฑ์ที่ขึ้นรูปจากเยื่อจุกสับปะรด แต่มีผลเฉพาะความหนาและปริมาณความชื้นของบรรจุภัณฑ์ที่ขึ้นรูปจากเยื่อใบสับปะรด และสภาวะในการขึ้นรูป (อุณหภูมิและเวลา) มีผลต่อค่าการต้านทานแรงทิ่มทะลุและปริมาณความชื้นของบรรจุภัณฑ์ที่ขึ้นรูปจากเยื่อจุกสับปะรด แต่มีผลเฉพาะปริมาณความชื้นของบรรจุภัณฑ์ที่ขึ้นรูปจากเยื่อใบสับปะรด
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3863
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2564_009.pdf5.3 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น