กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3791
ชื่อเรื่อง: สถิติทดสอบภาวะสารูปดีแบบแอนเดอร์สัน-ดาร์ลิ่งที่ปรับปรุงตามอัตราส่วนความควรจะเป็นและฟังก์ชันถ่วงน้ำหนักการกระจายที่ปลายหาง
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จุฑาพร เนียมวงษ์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
คำสำคัญ: สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์
สถิติ
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพสถิติทดสอบแอนเดอร์สัน-ดาร์ลิงแบบดั้งเดิม กับสถิติทดสอบแอนเดอร์สัน-ดาร์ลิงแบบที่ปรับปรุงแล้ว ได้แก่ สถิติทดสอบแอนเดอร์สัน-ดาร์ลิงที่ปรังปรุงตามวิธีของ Ahmad สถิติทดสอบแอนเดอร์สัน-ดาร์ลิงที่ปรังปรุงตามวิธีของ Zhang และสถิติทดสอบแอนเดอร์สัน-ดาร์ลิงที่ปรังปรุงตามวิธีของ Saethow และ Neamvonk สำหรับทดสอบการแจกแจงแบบเบ้ขวา โดยทำการทดสอบกับการแจกแจงล็อกนอร์มัล และการแจกแจงไวบูล การศึกษานี้ได้ได้สร้างค่าวิกฤตสำหรับสถิติทดสอบแอนเดอร์สัน-ดาร์ลิงทั้ง 4 แบบจากการจำลอง แล้วนำค่าวิกฤตที่ได้ไปศึกษาความสามารถในการควบคุมความผิดพลาดแบบที่ 1 และเปรียบเทียบกำลังการทดสอบของสถิติทดสอบแอนเดอร์สัน-ดาร์ลิงทั้ง 4 แบบ โดยกำหนดขนาดตัวอย่างเท่ากับ 10, 20, 30, 50 และ 100 ที่ระดับนัยสำคัญ 0.01, 0.05 และ 0.10 พบว่าสถิติทดสอบแอนเดอร์สัน-ดาร์ลิงทั้ง 4 แบบ มีความสามารถในการควบคุมความผิดพลาดแบบที่ 1 สำหรับการศึกษากำลังการทดสอบ ในการทดสอบการแจกแจงล็อกนอร์มัล พบว่าค่าประมาณกำลังการทดสอบของสถิติทดสอบแอนเดอร์สัน-ดาร์ลิงที่ปรับปรุงตามวิธีของ Zhang มีค่าสูงที่สุดในทุกชุดพารามิเตอร์ ในการทดสอบการแจกแจงแกมมาพบว่า ค่าประมาณกำลังการทดสอบของสถิติทดสอบแอนเดอร์สัน-ดาร์ลิงที่ปรับปรุงตามวิธีของ Zhang (2002) มีค่าสูงที่สุดในชุดพารามิเตอร์โดยส่วนใหญ่ ทุกระดับนัยสำคัญ ทุกขนาดตัวอย่าง และค่าประมาณกำลังการทดสอบของสถิติทดสอบแอนเดอร์สัน-ดาร์ลิงที่ปรังปรุงตามวิธีของ Saethow และ Neamvonk มีค่าสูงสูดในบางชุดพารามิเตอร์ และทุกระดับนัยสำคัญ ที่ขนาดตัวอย่างเป็น 50 100 และ 200 ในการทดสอบการแจกแจงไวบูล พบว่า ค่ากำลังการทดสอบของสถิติทดสอบแอนเดอร์สัน-ดาร์ลิงที่ปรังปรุงตามวิธีของ Saethow และ Neamvonk มีค่าสูงสูดในทุกชุดพารามิเตอร์ และทุกระดับนัยสำคัญ ที่ขนาดตัวอย่างเป็น 10 และค่ากำลังการทดสอบของสถิติทดสอบแอนเดอร์สัน-ดาร์ลิงที่ปรับปรุงตามวิธีของ Zhang (2002) มีค่าสูงที่สุดในทุกชุดพารามิเตอร์ ทุกระดับนัยสำคัญ ที่ตัวอย่างเป็น 20 50 100 และ 200
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3791
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2563_289.pdf1.65 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น