กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/372
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาเทคนิคแบบไม่ทำลายตัวอย่างสำหรับตรวจสอบและจำแนกไข่มุกและอัญมณีเลียนแบบไข่มุกโดยใช้แสงในช่วงอินฟราเรด วิสิเบิล และอัลตราไวโอเล็ต
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Development of nondestructive characterization techniques for differentiation between pearl and imitation pearl using infrared, visible and ultraviolet radiations
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พิมพ์ทอง ทองนพคุณ
สนอง เอกสิทธิ์
อรุณี เทอดเทพพิทักษ์
ทวีศักดิ์ จันทร์ดวง
มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี. คณะอัญมณี
คำสำคัญ: การวิเคราะห์สเป็กตรัม
รามานสเปกโทรสโกปี
สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช
อัญมณี - - การวิเคราะห์
ไข่มุก - - การจำแนก
วันที่เผยแพร่: 2552
สำนักพิมพ์: คณะอัญมณี มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี
บทคัดย่อ: การตรวจวิเคราะห์อัญมณีหรือจำแนกชนิดอัญมณีเป็นปัญหาต่อเนื่องที่พบในอุตสาหกรรมอัญมณีจนถึงปัจจุบัน ไข่มุกเป็นหนึ่งในอัญมณีอินทรีย์ที่ได้รับความนิยมซึ่งมีการปลอมแปลง และปรับปรุงคุณภาพออกมาจำหน่สยในตลาดอัญมณีจำนวนมาก ดังนั้นการตรวจสอบและจำแนกไข่มุกจึงต้องใช้ผู้เชี่ยวชสาญเฉพาะทาง การวิเคราะห์ไข่มุกด้วยเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ที่มีความถูกต้องแม่นยำจึงเป็นสิ่งจำเป็น โครงงงานวิจัยนำเสนอการตรวจสอบไข่มุกด้วยเทคนิคสเปกโทรโกปีเชิงโมเลกุล ได้แก่ เทคนิคอินฟราเรดสเปกโทรโกปี รามานสเปกโทรสโกปี และยูวีวิสซิเบิลสเปกโทรสโกปี ข้อมูลที่ได้เป็นสเปกตรัมซึ่งแสดงความสัมพันธ์โดยตรงกับโครงสร้าง และองค์ประกอบทางเคมีของไข่มุกแต่ละชนิด จึงสามารถนำไปใช้ในการจำแนกไข่มุกธรรมชาติ ไข่มุกปลอม และไข่มุกที่ผ่านการปรับปรุงคุณภาพได้ และไข่มุกที่ผ่านการปรับปรุงคุณภาพ นอกจากการตรวจวิเคราะห์ดังกล่าว คณะผู้วิจัยได้ทำการวิจัยเพิ่มเติม โดยทำการปรับปรุงคุณภาพไข่มุกด้วยวิธีการย้มด้วยสารละลายเงินและคอปเปอร์เพื่อให้ได้สีไข่มุกที่หลากหลาย ได้แก่ ไข่มุกสีน้ำตาล สีเทาเงิน สีเหลืองทองและสีฟ้า โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างนวัตกรรมการย้อมไข่มุก และเก็บข้อมูลสเปกตรัม ของไข่มุกชนิดนี้เป็นฐานข้อมูลเปรียบเทียบสเปกตรัมของไข่มุกที่มีจำหน่ายเชิงพาณิชย์ จากผลการทดลองย้อมไข่มุกพบว่าไข่มุกสีน้ำตาล สีเทาเงิน และสีเหลืองทองให้สีสวยงาม ยังคงความวาวของไข่มุกอยู่ และคณะผู้วิจัยได้ทำการยื่นจดอนุสิทธิบัตร แต่ไข่มุกสีฟ้าให้สีที่ไม่คงทน หลุดร่อนง่าย ผิวไข่มุกไม่เหลือความวาว จึงไม่เหมาะสมในการนำมาผลิตไข่มุกย้อม สีของไข่มุกทุกกรรมวิธีการย้อมขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของสารละลายที่ใช้ย้อม ระยะเวลาในการย้มและลักษณะพื้นผิวไข่มุกที่นำมาย้อม จากผลงานวิจัยดังกล่าว คณะผู้วิจัยได้จัดทำฐานข้อมูลสเปกตรัมไข่มุกที่วิเคราะห์ด้วยเทคนิคสเปกโทรสโกปีเชิงโมเลกุลทั้ง 3 เทคนิค รวมทั้งได้สร้างฐานข้อมูลของอัญมณีชนิดอื่น ๆ เพิ่มเติม เพื่อใช้ในการเรียนการสอน การวิจัย รวมไปถึงการประยุกต์ใช้เชิงพาณิชย์เพื่อเป็นประโยชน์ในด้านอุตสาหกรรมอัญมณีต่อไป
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/372
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น