กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3708
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorอนุตตรา อุดมประเสริฐ
dc.contributor.authorธเนศ กังสมัครศิลป์
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned2019-10-15T04:06:24Z
dc.date.available2019-10-15T04:06:24Z
dc.date.issued2562
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3708
dc.description.abstractโรคมะเร็งนับเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ อย่างไรก็ตามโรคมะเร็งสามารถรักษาให้หายขาดได้ หากสามารถตรวจพบในระยะเริ่มแรก แต่ทั้งนี้ผู้ป่วยมะเร็งส่วนใหญ่มักจะตรวจพบเมื่ออยู่ในระยะรุนแรงหรือระยะลุกลามแล้ว ทำให้การรักษาทำได้ค่อนข้างยาก รวมถึงยาที่ใช้ในการรักษามีผลข้างเคียงต่อผู้ป่วยสูง ซึ่งส่งผลต่อโอกาสการรอดชีวิตของผู้ป่วย โรคมะเร็งโพรงจมูกร่วมคอหอย (Nasopharyngeal carcinoma; NPC) จัดเป็นโรคมะเร็งชนิดหนึ่งที่พบมากในประเทศแถบเอเชีย อีกทั้งโรคมะเร็งดังกล่าวนี้ยังสามารถตรวจพบได้ยากในระยะเริ่มแรก เนื่องด้วยผู้ป่วยอาจไม่มีอาการใด ๆ บ่งชี้หรือมีอาการที่ไม่ชัดเจนและเนื้องอกที่เกิดขึ้นมักอยู่ในบริเวณด้านหลังโพรงจมูก ซึ่งเป็นบริเวณซ่อนเร้นที่ตรวจพบได้ยาก มีรายงานวิจัยจำนวนมากเกี่ยวกับการนาเอานำโนเทคโนโลยีเข้ามาประยุกต์ใช้กับงานทางด้านการแพทย์เพื่อพัฒนาเทคนิคต่าง ๆ ที่จะสามารถนำมาใช้ในการตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคเพื่อให้การรักษาเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ โครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะนำเอาคุณสมบัติของ DNA nanostructure และควอนตัมดอท (Quantum dot; QD) มาประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาเทคนิคสาหรับการตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งโพรงจมูกร่วมคอหอย โดยอนุภาคนาโน DNA nanobiosensor ที่พัฒนาขึ้นนี้เกิดขึ้นจากการนำเอาโครงสร้าง DNA nanosphere ที่ถูกออกแบบและสังเคราะห์ขึ้นด้วยเทคนิค scaffolded DNA origami ที่มีการดัดแปลงพื้นผิวด้านนอกของโครงสร้างด้วย DNA aptamer ที่สามารถจับจำเพาะกับโปรตีน HER2 ทำการวิเคราะห์โครงสร้างที่เกิดขึ้นด้วยเทคนิค agarose gel electrophoresis กล้องจุลทรรศน์ Atomic Force Microscope (AFM) และกล้องจุลทรรศน์ Transmission Electron Microscope (TEM) แล้วนำโครงสร้างดังกล่าวไปใช้ในการห่อหุ้มควอนตัมดอท (QD) ไว้ภายในโครงสร้าง ซึ่งจะทำหน้าที่เป็น signaling molecule ที่ส่งสัญญาณเพื่อให้เราสามารถติดตามสัญญาณและสามารถตรวจวัดได้ จากการทดสอบการแสดงออกของโปรตีน HER2 ด้วยเทคนิค Western blot และ Immunocytochemistry เปรียบเทียบในเซลล์มะเร็ง NPC สองชนิด ได้แก่ HK-1 และ TW-01 พบว่า เซลล์ HK-1 มีการแสดงออกของโปรตีน HER2 น้อยกว่าเซลล์ TW-01 นอกจากนั้น ทำการทดสอบความเป็นพิษของโครงสร้าง aptamer-modified DNA nanosphere, QD และ DNA nanobiosensor ที่มีต่อเซลล์มะเร็ง NPC ทั้งสองชนิด พบว่าเมื่อความเข้มข้นเพิ่มสูงขึ้น (12.5 nM) aptamer-modified DNA nanosphere และ DNA nanobiosensor นั้นไม่มีความเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งทั้งสองชนิด แต่ตรงกันข้ามกับ QD ที่เมื่อความเข้มข้นเพิ่มสูงขึ้น (3.13 nM) ส่งผลต่อความมีชีวิตรอดของเซลล์อย่างเห็นได้ชัด หลังจากนั้นทำการศึกษาความจำเพาะของอนุภาคนาโน DNA nanobiosensor ที่มีต่อเซลล์มะเร็งทั้งสองชนิด พบว่าอนุภาคนาโน DNA nanobiosensor นี้มีความจาเพาะต่อเซลล์มะเร็ง TW-01 มากกว่า จากผลการทดลองทั้งหมดทำให้คณะผู้วิจัยสรุปว่า อนุภาคนาโน DNA nanobiosensor ที่พัฒนาขึ้นนี้สามารถจับจำเพาะกับเซลล์มะเร็งเป้าหมายได้ตามที่ได้ออกแบบไว้ ทั้งนี้ อนุภาคนาโนดังกล่าวยังสามารถนำไปประยุกต์เพื่อการพัฒนาวิธีการตรวจวินิจฉัย รักษา ป้องกัน และลดการเกิดของโรคมะเร็งโพรงจมูกร่วมคอหอยให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นth_TH
dc.description.sponsorshipสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectโพรงจมูก - - มะเร็งth_TH
dc.subjectการวินิจฉัยโรคth_TH
dc.titleอนุภาคนาโนบรรจุควอนตัมดอทสาหรับการตรวจวินิจฉัยมะเร็งโพรงจมูกร่วมคอหอยth_TH
dc.title.alternativeQuantum dot-containing DNA nanosphere as a diagnostic tool for NPC detectionen
dc.typeResearch
dc.author.emailthaned.kan@mahidol.ac.thth_TH
dc.author.emailanuttara@buu.ac.thth_TH
dc.year2562
dc.description.abstractalternativeCancer is a leading cause of death worldwide. The early diagnosis of cancer could lead to better treatment. However, most patients are diagnosed at late stages with serious symptoms or the cancer has spread to other areas already resulting in inefficiency of the treatment. Also, chemotherapeutic drugs have lots of side effects on patients. Nasopharyngeal carcinoma (NPC) is one of cancer which often found in Asian countries. This kind of cancer is difficult to detect at the early stage as the patients might have no symptom. Moreover, the tumors occurred in nasopharynx are hard to find since the area is located behind the nose and above the back of the throat. Nowadays nanotechnology has been applied for many medical applications to improve the capability of diagnosis and treatment. The aim of this research is to develop a DNA nanobiosensor for NPC diagnosis. The DNA nanobiosensor is composed of (1) DNA nanosphere constructed via scaffolded DNA origami technique, (2) DNA aptamer specific for specific protein overexpressed in certain types of cells, and quantum dot (QD). Here, DNA aptamer specific for HER2 proteins is utilized to modify onto DNA nanosphere as a targeting ligand and QD is used as a signaling molecule. Agarose gel electrophoresis, atomic force microscopy (AFM) and transmission electron microscopy (TEM) were used for structural verification. The expression of HER2 proteins of two specific NPC cell lines, HK-1 and TW-01, was verified using Western blot and immunocytochemistry. The results indicated that HK-1 has a lower level of HER2 protein expression than TW-01. Next, the cytotoxicity of aptamer-modified DNA nanosphere, QD, and DNA nanobiosensor was investigated by MTT assay. Interestingly, these results showed that aptamer-modified DNA nanosphere and DNA nanobiosensor are not toxic to cells even the highest concentrations tested (12.5 nM). In contrast, QD at high concentrations (3.13 nM and higher) are obviously toxic to the cells. Finally, the specificity of the DNA nanobiosensor was examined and the results demonstrated that the DNA nanobiosensor specifically binds to TW-01 cells more than HK-1 cells. In conclusion, this DNA nanobiosensor could be used to distinguish between these two cell lines as designed. Furthermore, this nanobiosensor could also be applied for the development of theranostic tools for effective NPC cancer treatment.en
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2563_200.pdf3.33 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น