กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3639
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorสุทิน กิ่งทอง
dc.contributor.authorจันทรกานต์ ศรีสมทรัพย์
dc.contributor.authorปฐมฤกษ์ อิงสันเทียะ
dc.contributor.authorดารณี โชคชัยชำนาญกิจ
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned2019-07-22T04:34:48Z
dc.date.available2019-07-22T04:34:48Z
dc.date.issued2562
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3639
dc.description.abstractโครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของสารเคมีที่มีการปนเปื้อนในบริเวณชายฝั่งทะเลต่อหอยนางรมปากจีบชนิด Saccostrea cucullata โดยทำการศึกษาพิษวิทยาของสารดีดีที (DDT, Dichlorodiphenyltrichloroethane) ซึ่งเป็นสารในกลุ่มออร์แกโนคลอรีน โดยได้ออกแบบการทดสอบในห้องปฏิบัติการเพื่อประเมินผลกระทบต่อชีววิทยาการเจริญของตัวอ่อน และต่อตัวเต็มวัย และศึกษาโปรตีโอมในเนื้อเยื่อแมนเทิลและโปรตีโอมในเมือกของหอยนางรมปากจีบ เพื่อศึกษากลไกการทำงานของเซลล์และเนื้อเยื่อเมื่อสัมผัสสารดีดีที นอกจากนี้ยังหาตัวชี้วัดทางชีวภาพระดับโปรตีน (protein biomarker) ในการรับสัมผัสสารดีดีที โดยใช้เทคนิคมิญชวิทยา และ โปรทีโอมิกส์ ผลการศึกษาพบว่า สารดีดีทีมีความเป็นพิษที่รุนแรงต่อตัวอ่อนระยะแกสตรูลา ระยะโทรโคฟอร์ และระยะเวลิเจอร์ ทำให้ตัวอ่อนในแต่ละระยะเกิดความผิดปกติขึ้นแม้ว่าจะได้รับความเข้มข้นสารต่ำเพียง 0.25 μg/L ผลการทดสอบในตัวเต็มวัยพบว่าสารดีดีทีมีผลต่ออัตราการตายและมีค่า LC50 ณ เวลา 96 ชั่วโมง เท่ากับ 891.25 μg/L ผลการศึกษาในระดับเนื้อเยื่อพบว่าสารดีดีทีมีผลต่อโครงสร้างของเนื้อเยื่อในหอยนางรมกลุ่มทดสอบที่ได้รับความเข้มข้นของสาร 10 และ 100 μg/L เป็นเวลา 96 ชั่วโมง พบการอักเสบของเนื้อเยื่อ กระตุ้นการแบ่งเซลล์ในเนื้อเยื่อเหงือก กระตุ้นการสร้างเซลล์สร้างเมือกเพิ่มขึ้น และส่งผลกระทบต่อโครงสร้างเซลล์ในต่อมย่อยอาหาร ซึ่งระดับความรุนแรงของสารดีดีทีต่อตัวอ่อนและตัวเต็มวัยขึ้นอยู่กับความเข้มข้นและระยะเวลาการทดสอบ ผลการศึกษาโปรตีโอมพบว่าสารดีดีทีมีผลต่อปริมาณโปรตีนในกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับการสร้างพลังงาน การสร้างโปรตีน โปรตีนโครงสร้างโปรตีนขนส่ง โปรตีนที่เกี่ยวข้องความเครียด และการแลกเปลี่ยนก๊าซ ผลที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้เป็นการรายงานพิษวิทยาของสารดีดีทีในระดับโมเลกุลและกลไกการทำงานของเซลล์ในหอยนางรมปากจีบ และผู้วิจัยได้เสนอตัวชี้วัดทางชีวภาพระดับโปรตีน (potential protein biomarker) ไว้ด้วย นอกจากนี้โครงการวิจัยนี้ยังได้ขยายการศึกษาเพื่อทำการตรวจวัดการปนเปื้อนของสารสารประกอบบิวทิลทิน (butyltin) ซึ่งเป็นสารกลุ่มออร์แกโนทินที่มีการปนเปื้อนบริเวณชายฝั่งภาคตะวันออก โดยทำการวิเคราะห์ในหอยแมลงภู่ชนิด Perna viridis ผลการศึกษาพบว่า พบการปนเปื้อนในเนื้อเยื่อจากหอยที่เก็บตัวอย่างจากบริเวณชายฝั่งภาคจังหวัดชลบุรี ระยอง และตราด พบมีค่าเฉลี่ยค่าเท่ากับ 1.04, 5.98 และ 0.95 ng/g dry weight ตามลำดับ ซึ่งเมื่อคิดเป็นหน่วยในน้ำหนักสดจะเทียบเท่ากับ 0.23, 0.10 และ 0.15 ng/g wet weight ตามลาดับ แม้ว่ายังคงพบการปนเปื้อนสารประกอบบิวทิลทินในสิ่งมีชีวิตมีแนวโน้มการปนเปื้อนลดลง อย่างไรก็ดีควรมีการตรวจวัดเพิ่มเติมอย่างต่อเนื่องในอนาคต เนื่องจากสารกลุ่มนี้เป็นสารที่มีการสะสมยาวนาน persistent organic pollutants (POPs) จึงอาจมีการสะสมในสิ่งแวดล้อมได้ยาวนานth_TH
dc.description.sponsorshipงานวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561th_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectพยาธิวิทยาth_TH
dc.subjectตัวชี้วัดทางชีวภาพth_TH
dc.subjectหอยนางรมth_TH
dc.subjectสาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยาth_TH
dc.titleการสำรวจความหลากหลายและชนิดของโปรตีนในหอยนางรมบริเวณชายฝั่งภาคตะวันออกของอ่าวไทยเพื่อการใช้ประโยชน์สำหรับงานวิจัยด้านสิ่งแวดล้อมทางทะเลth_TH
dc.title.alternativeBiodiversity and identification of proteins in oyster inhabited in the East coast of the Gulf of Thailand and its application in marine environmental researchen
dc.typeResearchth_TH
dc.author.emailsutin@buu.ac.th
dc.author.emailchantragan@cri.or.th
dc.author.emailpatamarerk.e@psu.ac.th
dc.author.emaildaranee@cri.or.th
dc.year2562th_TH
dc.description.abstractalternativeCurrent research project aimed to investigate the effect of environmental pollutant to oyster Saccostrea cucullata. DDT (dichlorodiphenyltrichloroethane), an organotin compound, was used to assess its toxicological effect to oyster. Experimental exposures were carried out to assess DDT effect to larva development, adult oyster and its tissues. Proteome analyses were performed in order to explore molecular basis of proteome response in both mantle tissue and secreted mucus after DDT exposures. Additionally, protein biomarkers of DDT exposure were also investigated. Histological techniques and proteome technology were used in current work. Results showed that DDT highly affected early life stages of oyster larva including gastrula, trochophore and D-shape veliger even in the lowest treated group as 0.25 μg/L. In adults, DDT caused mortality effect with LC50 at 96 hours of 891.25 μg/L. Histological results revealed that DDT impacted on tissue structure of DDT treated groups including 10 and 100 μg/L at 96 hours of exposure. Tissue inflammations were generally found. DDT also particularly induced hyperplasia in gills, induced mucous cell production in mantle and affected epithelium structure of digestive glands. Severity of particular symptoms were according to dose and time of exposures. Proteome results showed that DDT affected proteins in various groups including energy metabolism, protein production, cytoskeletons, ion transport, stress response and gas-exchange. Results obtained from current work revealed molecular basis of cellular response against DDT exposure in the oyster. Additionally, potential protein biomarkers of DDT exposure were also proposed in this study. This research project also extended the study to the measurement of butyltin compounds, organotin compounds, which have been reported as pollutants in the east coast. Tissues of the Green mussel Perna viridis was used for butyltin analyses. Results showed that butyltin compounds were measured in mussels with mean accumulation level of 2.66 ng/g dry weights which was equivalent to 0.49 ng/g wet weights. The mean bioaccumulation levels of mussel collected from Chonburi, Rayong and Trat Provinces were 1.04, 5.98 and 0.95 ng/g dry weight in which equivalent to 0.23, 1.10 and 0.15 ng/g wet weight basis. Our results indicated that bioaccumulations of butyltin compounds in mussels were extremely decreased comparing to previous reports. However, the monitoring should be further investigated because these compounds are persistent organic pollutants (POPs) and could be persist in environment for long period of timeen
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2563_129.pdf4.37 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น