กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3560
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorณรงค์ฤทธิ์ ทองอุ่น
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสหเวชศาสตร์
dc.date.accessioned2019-05-15T06:50:32Z
dc.date.available2019-05-15T06:50:32Z
dc.date.issued2560
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3560
dc.description.abstractAcid peptic disorders คือความผิดปกติของระบบทางเดินอาหารอันเนื่องมาจากการหลั่งกรดใน กระเพาะอาหารที่มากเกินไป รายงานทางการแพทย์บ่งชี้ว่าประชาการหลายล้านคนทั่วโลก การรักษา ที่มีประสิทธิภาพดีที่สุดคือยากลุ่มโปรตอนปั๊มอินฮิบิเตอร์ (proton pump inhibitors; PPIs) จึงทำให้ยากลุ่ม PPIs นี้เป็นหนึ่งในยาที่ขายดีที่สุดทั่วโลก และมีผู้ใช้ยาต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานหลายล้านคนทั่วโลกเช่นกันนับตั้งแต่ปี ค.ศ. 2006 จนปัจจุบันมีรายงานทางการแพทย์หลายฉบับบ่งชี้ผลข้างเคียงของการใช้ omeprazole ซึ่งเป็นยาในกลุ่ม PPIs ติดต่อกันมากกว่า 1 ปี ทำให้ระดับ Mg2+ ในกระแสเลือดต่ำอย่างรุนแรง โดยสันนิฐานว่าน่าจะเกิดจากการดูดซึม Mg2+ ผิดปกติ แต่ยังไม่มีการศึกษาวิจัย การศึกษาครั้งนี้จึงศึกษาผลของการให้ omeprazole ซึ่งเป็นยาในกลุ่ม PPIs ในหนูขาว ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าการให้ยา omeprazole ติดต่อกันเป็นระยะเวลานานมีผลทำให้ปริมาณ Mg2+ ในกระแสเลือดของหนูลดต่ำลงกว่าปกติจริง คล้ายคลึงกับที่พบเจอในมนุษย์ เมื่อศึกษาระดับ Mg2+ ในปัสสาวะก็พบว่ามีระดับต่ำเช่นเดียวกัน บ่งชี้ว่าไม่มีการสูญเสีย Mg2+ ในปัสสาวะจึงน่าจะมาจากการลดการดูดซึม Mg2+ ในลำไส้ และเมื่อทำการศึกษาการดูดซึม Mg2+ ในลำไส้ ก็พบว่า omeprazole มีฤทธิ์กดการดูดซึม Mg2+ ในลำไส้จริง เป็นการยืนยันสมมุติฐานคือ omeprazole มีฤทธิ์กดการดูดซึม Mg2+ ในลำไส้ เมื่อได้รับ omeprazole ติดต่อกันจึงมีผลทำให้ระดับ Mg 2+ ในกระแสเลือดต่ำลง อย่างรุนแรง อย่างไรก็ตาม ASIC1a, OGR1, และ P2Y purinoceptors ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับ การควบคุมการทำงานของลำไส้ในการ ดูดซึม Mg2+ การศึกษาคุณสมบัติทางไฟฟ้าพบว่า omeprazole มีฤทธิ์ลด Isc และเพิ่ม TER อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ บ่งชี้ว่า omeprazole ลดการขนส่งอิออนและลด paracellular permeability การศึกษาทางชีวฟิสิกส์พบว่า omeprazole มีฤทธิ์ลด PNa/PCl และ PNa อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ บ่งชี้ว่า omeprazole ลด paracellular cation selectivity สรุปได้ว่า omeprazole ลดการเลือกประจุบวกขนส่งผ่านช่องว่างระหว่างเซลล์ และเพิ่มความต้านทานของการขนส่งสารผ่านช่องว่างระหว่างเซลล์จึงมีผลกดการขนส่งผ่านช่องว่างระหว่างเซลล์ การศึกษาทางด้าน histology ทั้ง H&E technique และ TEM technique ก็พบว่า omeprazole มีฤทธิ์ลด absorptive area surface และลดความกว้างของ tight junction เป็นการยืนยันได้ว่า omeprazole มีฤทธิ์กดการทำงานในลำไส้จริง อย่างไรก็ตามกลไกที่ omeprazole กดการทำงาน ของลำไส้ทั้งในระดับโครงสร้างและระดับเซลล์ยังไม่มีการศึกษาวิจัย อย่างไรก็ตามเมื่อร่างกายอยู่ในภาวะพร่อง Mg2+ ก็พยายามชดเชยโดยการเพิ่มการแสดงออกของ TRPM6 และ CNNM4 ซึ่งทำงานในการดูดซึม Mg2+ ในลำไส้ ในลำไส้เกือบทุกส่วน เป็นข้อบ่งชี้ชัดเจนว่าร่างกายสัตว์ทดลองกำลังปรับตัวเพื่อรับมือกับผลข้างเคียงของ omeprazole แต่กลไกที่ควบคุมการปรับตัวนี้ก็ยังไม่ทราบแน่ชัดth_TH
dc.description.sponsorshipโครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectยาลดกรดth_TH
dc.subjectหนูขาว -- ปริมาณแมกนีเซียมth_TH
dc.subjectสาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์th_TH
dc.titleอิทธิพลของโอมิพราโซลต่อการดูดซึมแมกนีเซียมในหนูขาวเพศผู้สายพันธุ์ Sprague-Dawleyth_TH
dc.title.alternativeThe effect of omeprazole on intestinal magnesium absorption in male Sprague-Dawley ratsen
dc.typeResearchth_TH
dc.author.emailnarongritt@buu.ac.th
dc.year2560th_TH
dc.description.abstractalternativeAcid peptic disorders are the result from either excessive gastric acid secretion or diminished mucosal defense that affects millions people worldwide. The most effective therapeutic agents for these disorders is proton pump inhibitors (PPIs), which are the fifth bestselling drug that has been taken by millions of chronic users worldwide. However, since 2006, there is a growing body of evidence indicating that omeprazole, a PPIs, induced hypomagnesemia is a serious side effect of PPIs in chronic users. The mechanism of PPIs induced systemic Mg2+ deficit is currently unclear. The present study aimed to elucidate the direct effect long-term omeprazole administrations in rats. Our result showed omeprazole significantly suppressed plasma Mg2+ level and urinary Mg2+ excretion. Thus, omeprazole induced hypomagnesemia in rats. By using Ussing chamber techniques, it was shown that omeprazole markedly suppressed paracellular and transcellular Mg2+ absorptions. However, ASIC1a, OGR1, and P2Y purinoceptors had no contribution on the regulation of intestinal Mg2+ absorptions in rats. Omeprazole decreased Isc and paracellular cation selectivity and increased TER, thus, its suppressed intestinal paracellular permeability. Histological study revealed that omeprazole suppressed intestinal absorptive surface area and tight junction width. Therefore, omeprazole suppressed intestinal absorption, the mechanism of which still elusive. However, our results showed the compensatory mechanism in rat intestine by upregulation of TRPM6 and CNNM4 expression throughout intestinal tract. The underlying mechanism of this compensatory mechanism is unknownen
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2563_005.pdf1.48 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น