กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3542
ชื่อเรื่อง: ผลของการใช้โภชนบำบัดทางการแพทย์เพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูกในผู้ติดเชื้อเอชไอวี
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อลงกต สิงห์โต
อุไรภรณ์ บูรณสุขสกุล
นริศรา เรืองศรี
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสหเวชศาสตร์
คำสำคัญ: ผู้ติดเชื้อเอชไอวี
โรคเอดส์
โภชนบำบัด
สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะสหเวชศาตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: จากการวิจัยในอดีต แสดงให้เห็นถึงการที่ผู้ติดเชื้อเอชไอวีมักมีความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นต่อการสูญเสียมวล อันเนื่องมาจากผลข้างเคียงของยาต้านไวรัส ซึ่งจากการที่ผู้ติดเชื้อเอชไอวีมีความจําเป็นต้องรับประทานยาต้านไวรัสเป็นประจําอย่างสม่ําเสมอเพื่อควบคุมปริมาณไวรัสเอชไอวีในร่างกายไม่ให้สูงจนเกินไป จนในปัจจุบัน ยังมีองค์ความรู้อยู่อย่างจํากัด เกี่ยวกับการใช้โภชนบําบัดทางการแพทย์เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการรับประทานอาหารและการออกกําลังกายในการเสริมสร้างความแข็งแรงของมวลกระดูกของผู้ติดเชื้อเอชไอวี การวิจัยครั้งนี้ จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการให้โภชนบําบัดทางการแพทย์โดยนักกําหนดอาหารวิชาชีพในการเสริมสร้างความแข็งแรงของมวลกระดูกในผู้ติดเชื้อเอชไอวี โดยผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่มารับบริการที่แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชาที่ได้รับการคัดเลือกตามเกณฑ์คัดเข้าและคัดออก จํานวนทั้งสิ้น 130 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองที่ได้รับโภชนบําบัดทางการแพทย์ 65 คน และกลุ่มควบคุมที่ได้รับการดูแลสุขภาพแบบเดิมโดยโรงพยาบาลจํานวน 65 คน ทําการทดลองระยะเวลา 12 สัปดาห์ โดยนัดหมาย อาสาสมัครกลุ่มทดลองมาพบนักกําหนดอาหารเพื่อให้โภชนบําบัดทางการแพทย์ จํานวน 6 ครั้ง ในขณะที่กลุ่มควบคุมทําการเก็บข้อมูลในสัปดาห์แรกและสัปดาห์สุดท้ายของการนัดหมาย ผลการวิจัยพบว่าอาสาสมัครกลุ่มทดลองมีพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อมวลกระดูก ได้แก่ แคลเซียม วิตามินดี แมกนีเซียม และฟอสอรัส สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติเพื่อเสร็จสิ้นสัปดาห์สุดท้ายของการนัดหมาย (p<0.05) รวมถึงพฤติกรรมการออกกําลังกาย พบว่า ในสัปดาห์สุดท้ายของการนัดหมายอาสาสมัครกลุ่มทดลองมีพฤติกรรมการออกกําลังกายมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p<0.05) นอกจาก เมื่อเปรียบเทียบภายในกลุ่มพบว่า อาสาสมัครกลุ่มทดลองมีพฤติกรรมการรับประทานแคลเซียม วิตามินดีแมกนีเซียม ฟอสฟอรัส และการออกกําลังกายในสัปดาห์สุดท้ายของการทดลองมากกว่าสัปดาห์แรกที่เริ่มนัดหมายอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p<0.05) จึงสรุปได้ว่า การให้โภชนบําบัดทางการแพทย์มีประสิทธิผลช่วยปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของมวลกระดูกในผู้ติดเชื้อเอชไอ
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3542
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2562_096.pdf484.69 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น