กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3483
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorวาสินี พงษ์ประยูร
dc.contributor.authorอติกร ปัญญา
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned2019-04-05T14:41:34Z
dc.date.available2019-04-05T14:41:34Z
dc.date.issued2561
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3483
dc.description.abstractการศึกษาลักษณะสัณฐานวิทยาของเมล็ดข้าวเชิงคุณภาพ ด้วยการส่องภายใต้กล้องสเตอริโอ โดยบันทึกตามเกณฑ์ Standard Evaluation System (SES) พบว่า สีเปลือกเมล็ด (แกลบ) มีสีฟางในข้าวทุกพันธุ์ยกเว้นข้าวขาวบ้านนา 432 มีสีฟางจุดน้ําตาล มีขนบนเปลือกข้าวและหางข้าวสั้นมีสีฟางและสีของข้าวกล้องมีสีขาว การศึกษาลักษณะสัณฐานวิทยาในเชิงปริมาณของข้าวเปลือกและข้าวกล้องของข้าว 6 พันธุ์ ได้แก่ ความยาว ความกว้างและความหนา สัดส่วนของความยาวต่อความกว้าง น้ำหนักสดและน้ำหนักแห้งของข้าวจํานวน 100 เมล็ด พบว่า ข้าวเปลือกทั้ง 6 พันธุ์ มีความยาวที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (P<0.05) ความยาวของข้าวเปลือกมีค่าระหว่าง 10.14 - 11.69 มิลลิเมตร ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 10.79 มิลลิเมตร โดยที่ข้าวพันธุ์อยุธยา 1 มีความยาวมากที่สุดเท่ากับ 11.69 มิลลิเมตร ความกว้างของข้าวเปลือกมีค่าอยู่ระหว่าง 2.52 - 2.77 มิลลิเมตร และความหนาของข้าวเปลือกมีค่าอยู่ระหว่าง 1.98-2.08 มิลลิเมตร โดยที่ข้าวพันธุ์พลายงามปราจีนบุรี มีความหนาของข้าวเปลือกน้อยที่สุด และเมื่อพิจารณาสัดส่วนความยาวต่อความกว้าง พบว่า ข้าวพันธุ์อยุธยา1 และขาวบ้านนา 432 มีสัดส่วนความยาวต่อความกว้างมากที่สุด ข้าวทั้ง 6 พันธุ์ที่ศึกษามีน้ำหนักสดจํานวน 100 เมล็ดอยู่ระหว่าง 2.51 - 3.12 กรัม มีเฉลี่ยเท่ากับ 2.81 กรัม และน้ำหนักแห้งจํานวน 100 เมล็ดมีค่าระหว่าง 2.41 - 3.07 กรัม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.73 กรัม โดยที่ข้าวพันธุ์อยุธยา1 มีแนวโน้มของน้ําหนักสดและน้ำหนักแห้งมากที่สุด จากการประเมินสีข้าวกล้อง ด้วยการวัดค่าความสว่าง (L*) ค่าสีแดง (a*) และค่าสีเหลือง (b*) ด้วยเครื่องวัดสีคัลเลอร์มิเตอร์ พบว่า ข้าวพันธุ์พลายงามปราจีนบุรี มีค่าความสว่าง (L*) มากที่สุดที่ 67.95 ค่าสีแดง (a*) ที่ได้จากข้าวพันธุ์ปราจีนบุรี 2 มีค่ามากที่สุดเท่ากับ 1.89 ส่วนค่าสีเหลือง (b*) ที่พบในข้าวพันธุ์ขาวบ้านนา 432 มีแนวโน้มสูงที่สุดที่ 17.02 จากการวิเคราะห์ปริมาณโปรตีน แบ่งข้าวได้เป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่มีโปรตีนสูง 3 พันธุ์ ได้แก่ ข้าวพันธุ์พลายงามปราจีนบุรี กข45 และปราจีนบุรี 2 และกลุ่มที่มีโปรตีนต่ํา ได้แก่ อยุธยา 1 ขาวบ้านนา 432 และปราจีนบุรี 1 โดยข้าวพลายงามปราจีนบุรี มีแนวโน้มที่มีปริมาณโปรตีนและ น้ำตาลรีดิวซ์สูงที่สุดแต่กลับพบปริมาณแป้งต่ำที่สุด ข้าวพันธุ์อยุธยา 1 มีแนวโน้มของปริมาณแป้งและน้ำตาลรีดิวส์สูงแต่มีปริมาณโปรตีนต่ำที่สุดแต่ข้าวพันธุ์ กข 45 มีทั้งปริมาณแป้ง น้ำตาลรีดิวซ์ และโปรตีนสูง การวิเคราะห์หาชนิดและปริมาณกรดอะมิโนทั้งที่อยู่ในรูปกรดอะมิโนอิสระและกรดอะมิโนรวมหรือที่อยู่ในรูป bound protein ด้วยเครื่อง Gas chromatography mass spectrometry (GC-MS) โดยวิธี Ez:Faast และคํานวนค่า amino acid score จากกรดอะมิโนที่จําเป็นต่อร่างกาย พบกรดอะมิโนอิสระ 16 ชนิด ซึ่งพบกรดอะมิโน asparagine, aspartic acid และ glutamic acid ปริมาณสูงที่สุดตั้งแต่ 5 ถึง 20 มิลลิกรัม/100 กรัมของน้ำหนักเมล็ด โดยที่ข้าวพันธุ์ขาว บ้านนา 432 พบกรดอะมิโน glycine threonine, proline, asparagine และ aspartic acid ปริมาณมากที่สุด ข้าวพันธุ์อยุธยา 1 และปราจีนบุรี 2 พบกรดอะมิโน glutamic acid ปริมาณสูงที่สุด ในขณะที่ข้าวพันธุ์ปราจีนบุรี 1 มีกรดอะมิโน alanine ปริมาณสูงสุด พบกรดอะมิโนรวม 14 ชนิด ที่พบปริมาณสูงที่สุด ได้แก่ glutamic acid, proline, leucine และ aspartic acid จัดจําแนกข้าวได้เป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มข้าวที่มีปริมาณกรดอะมิโนสูง ได้แก่ ข้าวพันธุ์ขาวบ้านนา 432 พลายงาม ปราจีนบุรี RD45 และปราจีนบุรี 2 และกลุ่มข้าวที่มีปริมาณกรดอะมิโนต่ำ ได้แก่ ข้าวพันธุ์อยุธยา 1 และปราจีนบุรี 1 นอกจากนี้ ข้าวพันธุ์อยุธยา 1 ขาวบ้านนา 432 พลายงามปราจีนบุรี กข45 ปราจีนบุรี 1 และปราจีนบุรี 2 มีค่า amino acid score เท่ากับ 7.0, 8.9, 8.7, 7.7, 9.05 และ 7.8 ตามลําดับth_TH
dc.description.sponsorshipโครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณเงินแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559th_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectข้าว - - เมล็ดพันธุ์th_TH
dc.subjectข้าว - - แง่โภชนาการth_TH
dc.subjectสัณฐานวิทยาth_TH
dc.subjectสาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยาth_TH
dc.titleลักษณะทางสัณฐานวิทยา กายวิภาคศาสตร์และคุณค่าทางโภชนาการของเมล็ดข้าวขึ้นน้ำและข้าวน้ำลึกในภาคตะวันออกของประเทศไทยth_TH
dc.typeResearch
dc.author.emailwasinee@buu.ac.th
dc.author.emailatikorn.pan@biotec.or.th
dc.year2561th_TH
dc.description.abstractalternativeMorphological characteristics of qualitative rice grains were evaluated under the stereo camera. According to the Standard Evaluation System (SES), it was found that the color of the husk (rice husk) was straw in all rice varieties except Khao Ban Na 432 which showed the brown spots on straw of the husk. All rice had pubescence on husk and represented the straw with a short awn. All 6 brown rice varieties were white colour. Morphological study on the quantitative properties of paddy and brown rice of six rice varieties, such as the length, width, thickness, ratio of length to width and fresh weight and dry weight of 100 grains showed that the 6 varieties of paddy had a significantly different in length (P <0.05). The length of paddy rice varieties were between 10.14-11.69 mm. The average of length was 10.79 mm. The highest length of Ayutthaya 1 rice was 11.69 mm. The width of paddy rice varieties were 2.52 - 2.77 mm and the thickness of paddy rice lines ranged 1.98 -2.30 mm, where Plai Ngahm Prachin Buri rice showed the thickness of seed. Considering the ratio of length and width, it was found that Ayutthaya 1 and Khao Ban Na 432 had the highest proportion of length to width. The 100-grain fresh weight in all rice varieties were 2.51 - 3.12 g, the average of fresh seed was 2.81 g. While the 100-grain dry weight ranged between 2.41 - 3.07 g, the average of dry seed was 2.73 g. The Ayutthaya 1 had a trend to the highest of fresh weight and dry weight. The color of brown rice were measured by the colorimeter as the brightness (L *), the red value (a *) and the yellow value (b *). The highest L * value was 67.95 in Plai Ngahm Prachin Buri rice, the highest red color (a *) at 1.89 was obtained from Prachin Buri 2 and Khao Ban Na 432 rice trended to the highest b * value at 17.02. Analyzing the protein content in 6 rice varieties were divided into 2 groups. First group showed the higher protein content in 3 rice varieties, namely Plai Ngahm Prachin Buri, RD45 and Prachin Buri 2. Another group, the lower protein concentration were Ayutthaya 1, Khao Ban Na 432 and Prachin Buri 1. Plai Ngahm Prachin Buri rice trended to the highest protein and reducing sugar contents but the lower content of starch. Ayutthaya 1 rice tended to the highest contents of starch and reducing sugar, but had the lowest protein content. Howerver, RD45 showed the high contents of starch, reducing sugar and protein. Moreover, analysis of the types and amounts of amino acids in both free amino acids and total amino acids or bound proteins by gas chromatography mass spectrometry (GC-MS) with Ez: Faast method and calculates the amino acid score of essential amino acids. From the result, 16 amino acids were found and the highest levels of asparagine, aspartic acid and glutamic acid, ranged from 5 to 20 mg / 100 g of rice seed. Khao Ban Na 432 found the highest amounts of glycine, threonine, proline, asparagine and aspartic acid. Ayutthaya 1 and Prachin Buri 2 showed the highest levels of glutamic acid content, while Prachin Buri 1 rice had the highest of alanine content. Fourteen total amino acids, the highest amount of amino acids were glutamic acid, proline, leucine and aspartic acid. Six rice cultivars were classified into 2 groups, higher amino acid content were Khao Ban Na 432, Plai Ngahm Prachin Buri, RD45 and Prachin Buri 2. Lower amino acid content were Ayutthaya 1 and Prachin Buri 1. Furthermore, Ayutthaya 1, Khao Ban Na 432, Plai Ngahm Prachin Buri, RD45, Prachin Buri 1 and Prachin Buri 2 had the amino acid score at 7.0, 8.9, 8.7, 7.7, 9.05 and 7.8, respectivelyen
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น