กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3426
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorนวลพรรณ อิศโร
dc.contributor.authorชนัญชิดาดุษฎี ทูลศิริ
dc.contributor.authorรุ่งรัตน์ ศรีสุริยเวศน์
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned2019-03-25T09:23:28Z
dc.date.available2019-03-25T09:23:28Z
dc.date.issued2559
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3426
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมทางเพศที่พึงประสงค์และปัจจัยทำนายพฤติกรรมทางเพศที่พึงประสงค์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นในจังหวัดจันทบุรี กลุ่มตัวอย่างได้แก่นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นในจังหวัดจันทบุรี จำนวน 470 คน ซึ่งได้มาด้วยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามทัศนคติเกี่ยวกับเรื่องเพศแบบสอบถามการรับรู้ความสามารถแห่งตนในการหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ แบบสอบถามการเข้าถึงสถานบันเทิง แบบสอบถามการเข้าถึงสื่อทางเพศ แบบสอบถามการควบคุมกำกับของครอบครัว แบบสอบถามพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของเพื่อนสนิท และแบบสอบถามพฤติกรรมทางเพศที่พึงประสงค์ ซึ่งมีค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาคเท่ากับ .82, .73, .72, .86, .76, .71 และ .75 ตามลำดับ เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2557 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา และสถิติสมการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอนผลการวิจัยพบว่ากลุ่ม ตัวอย่างมีพฤติกรรมทางเพศที่พึงประสงค์อยู่ในระดับปกติ (ร้อยละ 73.62) ปัจจัยด้านการเข้าถึงสื่อทางเพศ (β = -.405) การรับรู้ความสามารถแห่งตนในการหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ (β = .092)พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของเพื่อนสนิท (β = -.155) การ ควบคุมกำกับของครอบครัว (β = .112) และทัศนคติเกี่ยว กับเรื่องเพศ (β = .088) สามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมทางเพศที่พึงประสงค์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยร่วมกัน ทำนายได้ร้อยละ 29.8 (R2 = .298, F(5, 464) = 39.339, p <.001) ซึ่งสร้างเป็นสมการทำนายในรูปคะแนนดิบได้ดังนี้ พฤติกรรมทางเพศที่พึงประสงค์ = 53.450 - .497 (การเข้าถึงสื่อทางเพศ) + .100 (การรับรู้ความสามารถแห่งตนในการหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ) -.297 (พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของเพื่อนสนิท) +.247 (การควบคุมกำกับของครอบครัว) + .117 (ทัศนคติเกี่ยวกับเรื่อง เพศ) จากผลการวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่า พยาบาล ชุมชนและผู้ที่เกี่ยวข้องในสถานศึกษาควรพัฒนากิจกรรมหรือโปรแกรมเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมทางเพศที่พึงประสงค์ ของนักเรียนมัธยม ศึกษาตอนต้น ด้วยการส่งเสริมการรับรู้ความสามารถแห่งตน ทัศนคติเกี่ยวกับเรื่องเพศ และการป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ โดยเน้นการควบคุมกำกับของครอบครัวth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth
dc.subjectผู้สูงอายุ - - สุขภาพจิตth_TH
dc.subjectสุขภาพจิตth_TH
dc.titleปัจจัยทำนายพฤติกรรมทางเพศที่พึงประสงค์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ในจังหวัดจันทบุรีth_TH
dc.title.alternativeFactor predicting appropriated sexual behaviors among the lower secondary school students in Chanthaburi province
dc.typeบทความวารสารth_TH
dc.issue2
dc.volume24
dc.year2559
dc.description.abstractalternativeThis research was a predictive correlation study aimed at determining the predictive factors of resilience among community-dwelling older adults. The participants were 94 community dwellers aged 60 and older residing in Bangkok. They were selected using a stratified random sampling technique. Research instruments included the Personal information, the Perceived health status scale, the Morale scale, the Personal resource questionnaire 2000 and the Resilience scale. The Perceived health status scale, the Morale scale, the Personal resource questionnaire 2000 and the Resilience scale were reliability of Cronbach’s alpha coefficient at .84, .89, .70, and .74 respectively. Percentage, mean, standard deviation, and stepwise multiple regression analysis were employed for data analyses. The results showed that half of these older adults perceived their resilience at a high level and its mean score was at a moderate level (M = 144.29, SD = 14.98). Social support and perceived health status together could predict resilience with 30.9 % (R2 = .309, p < .01). The gender, the adequacy of income and morale could not predict resilience. The regression equation could be written as follows. Ý = 61.059 + 0.750 (social support) + 1.943 (perceived health status) From the study findings, it is suggested that in designing proper nursing intervention to promote resilience among older adults, nurses and health team personnel should enhance their social support and perception towards health.en
dc.journalวารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา = Journal of faculty of nursing Burapha University.
dc.page97-106.
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
nus24n2p72-84.pdf282.81 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น