กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/331
ชื่อเรื่อง: การศึกษารูปแบบการพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุนกลุ่มงานวิชาการของมหาวิทยาลัยบูรพา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: A study of development model of academic staff in Burapha University
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สายัณห์ ละออเอี่ยม
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยบูรพา - - การบริหารงานบุคคล
มหาวิทยาลัยบูรพา - - การพัฒนาบุคลากร
มหาวิทยาลัยบูรพา - - ข้าราชการและพนักงาน
สาขาการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2554
สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: บุคลากรสายสนับสนุนกลุ่มงานวิชาการในมหาวิทยาลัยบูรพา เป็นบุคลากรอีกกลุ่มหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการบริหารและการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยบูรพา จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องได้รับการพัฒนาเพื่อให้การดำเนินงานของมหาวิทยาลัยมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลที่สอดคล้องกับงานในหน้าที่หลักส่งผลให้บุคลากรสายสนับสนุนกลุ่มงานวิชาการสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีคุณภาพและมีประสิทธิผล การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุนกลุ่มงานวิชาการในมหาวิทยาลัยบูรพา เพื่อประเมินรูปแบบการพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุนกลุ่มงานวิชาการในมหาวิทยาลัยบูรพา จากแนวคิดของบุคลากรในมหาวิทยาลัยบูรพาทั้ง 3 วิทยาเขต และแนวคิดที่สำคัญในประเทศและต่างประเทศ โดยทำการวิจัย 7 ขั้นคอน คือ 1) วิเคราะห์เอกสาร 2) การวิเคราะห์หารูปแบบการพัฒนาบุคลากร โดยใช้แบบสอบถาม 3) สร้างรูปแบบจำลอง 4) การพัฒนาให้เหมาะสมโดยผ่านผุ้เชี่ยวชาญ 5) การตรวจสอบยืนยันรูปแบบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 6) การสัมมนากลุ่มย่อยและ 7) การประเมินรูปแบบ ผลการวิจัยพบว่ารูปแบบการพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุนกลุ่มงานวิชาการในมหาวิทยาลัยบูรพา มีส่วนประกอบ 3 ส่วน คือ 1) โครงการและกิจกรรมจะต้องประกอบด้วย ปรัชญา ความมุ่งหมาย เนื้อหา และกิจกรรมในการพัฒนาบุคลากร 2) ด้านการพัฒนาหน่วยงานและระบบสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรจะต้องประกอบด้วย นโยบาย หน่วยงาน แหล่งข้อมูล ประสิทธิภาพของการสื่อสาร การบริหาร ระบบเสริมกำลังใจ การพิจารณาความดีความชอบ อาคารสถานที่และการบริการ 3) ด้านการดำเนินงานของหน่วยงานจะต้องประกอบด้วย การบริหาร แนวทางในการดำเนินงาน ภารกิจหลัก และคณะกรรมการบริหาร ผลการพัฒนารูปแบบไปทดลองใช้กับบุคลากรสายสนับสนุนกลุ่มงานวิชาการ และบุคลากรได้ประเมินรูปแบบหลังการทดลองใช้ปรากฏผลดังนี้ 1.โครงการและกิจกรรม บุคลากรสายสนับสนุนกลุ่มงานวิชาการ มีความเห็นโดยรวมอยู่ในระดับมาก 2.การพัฒนาหน่วยงานและระบบสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรกลุ่มงานวิชาการ บุคลากรมีความเห็นโดยรวมอยู่ในระดับมาก 3.การดำเนินงานของหน่วยงานพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุนกลุ่มงานวิชาการ บุคลากรมีความเห็นโดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยสรุปผลการวิจัยรูปแบบการพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุนกลุ่มงานวิชาการในมหาวิทยาลัยบูรพาถือเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง และจำเป็นอย่างยิ่งในด้านการพัฒนานวัตกรรมทางด้านการบริการและพัฒนาบุคลากรในมหาวิทยาลัยบูรพา ยิ่งในสภาวะปัจจุบันทุกที่มหาวิทยาลัยทุกแห่งต่างปรับตัวตามการเปลี่ยนแปลงของกระแสเศรษฐกิจ สังคม และความเจริญทางเทคโนโลยี โดยเฉพาะยิ่งการเตรียมตัวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ. 2558 ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป เพื่อให้การพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุนกลุ่มงานวิชาการสอดคล้องกับความต้องการของบุคลากรสายสนับสนุนกับผู้รับการบริการ ผู้บริหารควรนำความต้องการของบุคลากร โดยพิจารณาร่วมกับเป้าหมายผุ้บริหารได้กำหนดไว้ เพื่อให้การพัฒนาบุคลากรเป็นสิ่งที่สนองความต้องการทั้งสองฝ่าย รูปแบบที่ผู้วิจัยได้ทำการศึกษานี้ เป็นรูปแบบที่เป้นภาพรวมของทั้งมหาวิทยาลัยบูรพาไม่ได้แยกตามวิทยาเขต ดังนั้นการนำผลการวิจัยไปใช้ควรวิเคราะห์นำส่วนที่เกี่ยว้องไปดำเนินการต่อ จะช่วยให้ได้ประโยชน์ที่แท้จริง ควรส่งเสริมให้มีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุนเป้นระยะๆ เนื่องจากสังคมมีความเปลี่ยนแปลง การพัฒนาบุคลากรที่เหมาะสมจะต้องสอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวตลอดเวลา ผลการวิจัยครั้งนี้ เป็นความคิดเห็นที่มีรายละเอียดหลายประการ ผู้นำไปปฏิบัติอาจเลือกดำเนินตามที่เห็นควร และอาจแบ่งดำเนินการไปทีละประเด็นแล้วแต่ความเหมาะสม และเป็นเรื่องเร่งด่วนที่มหาวิทยาลัยบูรพา ควรดำเนินการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการในเรื่องการพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุนกลุ่มงานวิชาการในมหาวิทยาลัยบูรพาพร้อมกันทั้งมหาวิทยาลัย เพื่อก่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันทั้งผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงาน อันจะนำไปสู่ความเข้มแข็งทางวิชาการเพื่อรองรับการเข้าสู่มหาวิทยาลัยวิจัยอันเป็นที่ยอมรับในระดับประเทศ ระดับภูมิภาค และระดับนานาชาติต่อไป
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/331
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น