กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2769
ชื่อเรื่อง: ผลการฝึกไอเยนกะโยคะที่มีต่อความวิตกกังวลและสมรรถภาพทางกายของนักกีฬาแบดมินตัน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Effects of lyengar yoga on anxiety and physical fitness of badminton players
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: นฤพนธ์ วงศ์จตุรภัทร
ขนิษฐา พงษ์ชาติ
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา
คำสำคัญ: ความวิตกกังวล
สมรรถภาพทางกาย
สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
โยคะ (กายบริหาร) นักกีฬา - - สุขภาพจิต
วันที่เผยแพร่: 2553
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาผลของการฝึกไอเยนกะโยคะที่มีต่อความวิตกกังวลและสมรรถภาพทางกาย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษานี้เป็นนักกีฬาแบดมินตันระดับเยาวชนอายุระหว่าง 9-18 ปี (ค่าเฉลี่ย = 12.5, SD = 2.56 ปี) ของสมาคมแบดมินตัน จังหวัด 2 สมาคม กลุ่มตัวอย่างถูกสุ่มเพื่อแบ่งออกเป้นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมโดยกลุ่มทดลองเป็นกลุ่มที่ได้รับการฝึกไอเยนกะโยคะ โดยฝึก 3 วันต่อสัปดาห์ เป็นเวลาทั้งสิ้น 8 สัปดาห์ ส่วนกลุ่มควบคุมทำการฝึกการเล่นแบดมินตันตามปกติ ผลการวิเคราะห์หลักของข้อมูลความวิตกกังวลที่ได้จากแบบสอบถามความวิตกกังวลของการแข่งขันทางกีฬา (ความวิตกกังวลทางกาย ความวิตกกังวลทางจิต และความเชื่อมั่นในตนเอง) (Pan-U-thai, 2009) และสมรรถภาพทางกาย (ความจุปอด ความอ่อนตัว ความแข็งแรงขา และความแข็งแรงแขนข้างที่ถนัด) ในช่วงก่อนการฝึก ช่วงหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 4 และช่วงหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 8 ด้วยสถิติการทดสอบความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ (Repeated-measures ANOVA) พบว่า นักกีฬาแบดมินตันมีระดับความวิตกกังวลลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ขณะที่ความเชื่อมั่นในตนเองเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มีสมรรถภาพทางกายที่ดีขึ้น การฝึกไอเยนกะโยคะจึงเป็นอีกทางหนึ่งในการช่วยในการเพิ่มศักยภาพทางด้านจิตใจและร่างกายของนักกีฬาแบดมินตัน
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2769
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
p18-p32.pdf477.15 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น