กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2699
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorอมรกานต์ สำเภาเงิน
dc.contributor.authorวุฒิชาติ สุนทรสมัย
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะการจัดการและการท่องเที่ยว
dc.date.accessioned2019-03-25T09:18:46Z
dc.date.available2019-03-25T09:18:46Z
dc.date.issued2557
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2699
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบปัจจัยความสำเร็จด้านการจัดการภายใต้ความรับผิดชอบต่อสังคมของสถานประกอบการสนามกอล์ฟในภาคตะวันออกของประเทศไทย จำแนกตามปัจจัยสถานประกอบการและศักยภาพ การจัดการของผู้ประกอบการ เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาด้วยการสำมะโนประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นผู้ประกอบการหรือเจ้าของ หุ้นส่วน เครือญาติหรือผู้จัดการของธุรกิจ ผู้ที่มีอำนาจตัดสินใจในการดำเนินการสนามกอล์ฟในภาคตะวันออก และมีขนาดกิจการของสนามกอล์ฟตั้งแต่ 18 หลุมขึ้นไป จำนวนทั้งสิ้น 30 แห่ง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ผ่านการประเมินคุณภาพด้านความตรง และค่าความเชื่อมั่น คอนบาท อัลฟา เท่ากับ .99 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา และการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของประชากร ผลการวิจัยพบว่า 1. ผู้ประกอบการสนามกอล์ฟในภาคตะวันออกมีความคิดเห็นต่อศักยภาพการจัดการสนามกอล์ฟในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ด้านการบริการ รองลงมาด้านการบริหารจัดการทั่วไป ด้านการบัญชีและการเงิน ด้านการจัดการทรัพยากรมนุษย์ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ ด้านการจัดการการตลาด 2. ผู้ประกอบการสนามกอล์ฟในภาคตะวันออกมีความคิดเห็นต่อปัจจัยความสำเร็จด้านการจัดการภายใต้ความรับผิดชอบต่อสังคมในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ด้านนวัตกรรมการเรียนรู้และการพัฒนาภายใต้ความรับผิดชอบต่อสังคม รองลงมาด้านกระบวนการจัดการภายใน ส่วนด้านการจัดการทางการเงินมีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด 3. ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของประชากร พบว่า 3.1 ผู้ประกอบการสนามกอล์ฟที่มีระยะเวลาในการดำเนินงาน มีขนาดกิจการ (จำนวนหลุม) มีลูกค้าเฉลี่ยต่อเดือน มีจำนวนพนักงานประจำ มีการบริการที่เกี่ยวเนื่อง มียอดขายเฉลี่ยต่อเดือนแตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อปัจจัยความสำเร็จด้านการจัดการภายใต้ความรับผิดชอบต่อสังคมแตกต่างกัน 3.2 ผู้ประกอบการสนามกอล์ฟที่มีการประเมินศักยภาพการจัดการอยู่ในระดับต่ำ ปานกลางและสูง มีความคิดเห็นต่อปัจจัยความสำเร็จด้านการจัดการภายใต้ความรับผิดชอบต่อสังคมในภาพรวมแตกต่างกัน คือผู้ประกอบการสนามกอล์ฟที่มีการประเมินศักยภาพการจัดการอยู่ในระดับต่ำ และปานกลางให้ความสำคัญในด้านนวัตกรรมการเรียนรู้และการพัฒนา ส่วนผู้ประกอบการสนามกอล์ฟที่มีการประเมินศักยภาพการจัดการอยู่ในระดับสูง ให้ความสำคัญในด้านการจัดการทางการเงินth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.subjectการจัดการth_TH
dc.subjectการจัดการธุรกิจth_TH
dc.subjectความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์การธุรกิจth_TH
dc.subjectสนามกอล์ฟth_TH
dc.subjectสาขาเศรษฐศาสตร์th_TH
dc.titleปัจจัยความสำเร็จด้านการจัดการภายใต้ความรับผิดชอบต่อสังคมของการประกอบการสนามกอล์ฟในภาคตะวันออกของประเทศไทยth_TH
dc.typeบทความวารสารth_TH
dc.issue1
dc.volume3
dc.year2557
dc.description.abstractalternativeThis research aimed to study and compare the key success factors in terms of potential management under Corporate Social Responsibility (CSR) of golf course in the Eastern Part of Thailand through the factors related to potential management and entrepreneurial potentiallty. Data were collected from population who was the operator or the owner or manager of a business partner relationship who authorities decided to implement a golf course in the Eastern. And the size of the business is from 18 holes up total of 30 golf courses. Research instrument was the questionnaire which was qualified through the Index of Consitency and Cronbach Alpha 0.99. Data were analyzed by descriptive statistics and population means comparative tests. The results showed that. 1. Entrepreneurs golf course in the Eastern review for potential management rated themselves overall high level. Additionally, the service part was rated the highest score, followed by the general management, accounting and finance, human resource management, and marketing management, respectively. 2. Key success factors in management under the Corporate Social Responsible were rated overall high level. In addition to innovative learning and development under Corporate Social Responsibility was rated the highest score and followed by an internal process management, and financial management, respectively. 3. Population means comparative test results as follows. 3.1 Entrepreneurs golf course who possed the following characteristics: longer duration of operation, larger business size (number of holes), the more average number of customers per month, more full-time staff, more services relating to the average sales monthly had different opinions on key success factors in management under Corporate Social Responsibility. 3.2 Entrepreneurs golf course clearly evaluated their own potential management was in different levels. Indeed the operators who evaluated their potential management as ranging from low to moderate level generally focused on I-nnovative Learning and Development. However, the operators who assessed their potential management as high level basically focused on the areas of financial management.en
dc.journalวารสารการจัดการธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.page74-88.
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
bbs3n1p74-88.pdf1.39 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น