กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2615
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorเสรี ชัดแช้ม
dc.contributor.authorธีระวัฒน์ จันทึก
dc.contributor.otherวิทยาลัยการวิจัยและปัญญา
dc.date.accessioned2019-03-25T09:16:08Z
dc.date.available2019-03-25T09:16:08Z
dc.date.issued2557
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2615
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเกณฑ์การประเมินการจัดการคุณภาพของวิสาหกิจชุมชน โดยใช้เทคนิคการวิจัยอนาคตแบบ EDFR (Ethnographic Delphi Futures Research) และเปรียบเทียบผลการใช้เกณฑ์การประเมินการจัดการคุณภาพของวิสาหกิจชุมชน ระหว่างวิสาหกิจชุมชนที่ผลิตสินค้าโอทอประดับพื้นฐานกับระดับก้าวหน้า การศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ตอนได้แก่ ตอนที่ 1 การพัฒนาเกณฑ์การประเมินการจัดการคุณภาพของวิสาหกิจชุมชน โดยใช้เทคนิคการวิจัยอนาคต (Ethnographic Delphi Futures Research: EDFR) โดยการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 17 คน เรื่องแนวโน้มที่จะนำประเด็นต่าง ๆ มาใช้ในการพัฒนาเกณฑ์ ตอนที่ 2 การเปรียบเทียบผลการใช้เกณฑ์การประเมินการจัดการคุณภาพของวิสาหกิจชุมชนในระดับก้าวหน้า จำแนกตามประเภทของวิสาหกิจชุมชนที่ผลิตสินค้าโอทอป 5 ประเภท ได้แก่ ประเภทอาหาร ประเภทเครื่องดื่ม ประเภทผ้าและเครื่องแต่งกาย ประเภทของใช้ ของตกแต่งและของที่ระลึก และประเภทสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร โดยเปรียบเทียบคะแนนการประเมินการจัดการคุณภาพของวิสาหกิจชุมชนที่ผลิตสินค้าโอทอป ระดับพื้นฐานกับระดับก้าวหน้า จำนวน 10 แห่ง ด้วยการวิเคราะห์สถิติทดสอบแมน-วิทนีย์ ยู (the Mann-Whitney U test) ผลการวิจัยปรากฎว่า 1. เกณฑ์การประเมินการจัดการคุณภาพวิสาหกิจชุมชน มี 6 มาตรฐาน 20 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ บริบทพื้นฐาน จำนวน 4 ตัวบ่งชี้ ปัจจัยนำเข้า จำนวน 4 ตัวบ่งชี้ กระบวนการผลิต จำนวน 4 ตัวบ่งชี้ การรักษาและยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์ จำนวน 3 ตัวบ่งชี้ การส่งมอบผลิตภัณฑ์ จำนวน 2 ตัวบ่งชี้ และความยั่งยืนของวิสาหกิจชุมชน จำนวน 3 ตัวบ่งชี้ 2. ผลการประเมินการจัดการคุณภาพวิสาหกิจชุมชนที่ผลิตสินค้าโอทอบ ระดับก้าวหน้ามีคะแนนสูงกว่าระดับพื้นฐานโดยรวมทุกมาตรฐานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สามารถจำแนกระดับการจัดการคุณภาพของวิสาหกิจชุมชน ในระดับพื้นฐานและระดับก้าวหน้าสอดคล้องกับเกณฑ์มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน ที่ใช้จำแนกการคัดสรรผลิตภัณฑ์สินค้าโอทอปเข้าสู่ระดับ 1-5 ดาว จึงสรุปได้ว่าเกณฑ์การประเมินการจัดการคุณภาพของวิสาหกิจชุมชน มีประสิทธิภาพอยู่ในเกณฑ์ดีth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.subjectประกันคุณภาพth_TH
dc.subjectวิสาหกิจชุมชน - - การจัดการth_TH
dc.subjectวิสาหกิจชุมชนth_TH
dc.subjectสาขาเศรษฐศาสตร์th_TH
dc.titleการพัฒนาเกณฑ์การประเมินการจัดการคุณภาพของวิสาหกิจชุมชนth_TH
dc.title.alternativeA development on evaluation criteria of quality management in community enterprises
dc.typeบทความวารสารth_TH
dc.issue1
dc.volume6
dc.year2557
dc.description.abstractalternativeThis research aimed to develop the evaluation criteria of quality management of community enterprises by using the EDER technique (Ethnographic Delphi Futures Research), and to compare an output of evaluation criteria of quality management between community enterprises who manufactured OTOP products in basic and advanced level. The study was divided into 2 parts: The first part was a development of evaluation criteria for quality management of community enterprise using the EDFR technique (Ethnographic Delphi Futures Research). The researcher had interviewed 17 experts about a possibility of applying issues in the evaluation criteria development. The second part was a comparison an output of evaluation criteria of quality management of community enterprises in basic and advanced level. Categorizing by type of community enterprises who manufactured OTOP products, there were 5 fields of them: food, beverage, cloth and apparel, appliance and souvenir, and non-food herb. The researcher compared evaluation scores of 10 community enterprises in basic and advanced level with the Mann-Whitney U test. The major results showed that: 1. Criteria of the quality management of community enterprise evaluation had 6 standards and 20 indicators including context (4 criteria), input (4 criteria), process (4 criteria), output (3 criteria), delivery (2 criteria), and outcome (3 criteria). 2. As results of evaluation, the community enterprises who manufactured OTOP products in advanced level had totally higher score than those in basic level in every standard with statistical significance of 0.05 By categorizing quality management level of community enterprises in basic and advanced level, it was consistent with criteria of local product standard which was used to categorize OTOP product selection toward 1 to 5 star levels. If can be concluded that the evaluation criteria of community enterprise quality management were efficient.en
dc.journalวารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย = Journal of politics, administration and law
dc.page99-129.
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
99-129.pdf2.04 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น