กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2604
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorเพ็ญนภา กุลนภาดล
dc.contributor.authorประชา อินัง
dc.contributor.authorจันทร์สมร พรทวงศ์
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned2019-03-25T09:16:07Z
dc.date.available2019-03-25T09:16:07Z
dc.date.issued2555
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2604
dc.description.abstractการศึกษาวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาการสร้างรูปแบบการสอน หาประสิทธิภาพรูปแบบการสอนตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 และเปรียบเทียบผลต่างของคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักศึกษาชั้นปีที่1 วิทยาลัยครูบ้านเกินสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักศึกษาปีที่ 1 วิทยาลัยครูบ้านเกิน ที่ลงทะเบียนเรียนสาขาภาษา ลาว ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 โดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 41 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ รูปแบบการสอนเพื่อพัฒนาทักษะการเขียน และแบบ วัดทักษะการเขียน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการหาประสิทธิภาพรูปแบบการสอนตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการสอนเพื่อพัฒนาทักษะการเขียนสูงกว่าเกณฑ์80/80 ที่กำหนดไว้ ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 ขั้นนำ เป็นขั้นเตรียมความพร้อมสร้างความสนใจและทบทวนความรู้เดิม ขั้นที่ 2 ขั้นสอน เป็นการเสนอเนื้อหาใหม่ แยกกลุ่มย่อยปฏิบัติการ ขั้นที่ 3 ขั้นฝึกแบ่งผู้เรียนออกเป็นกลุ่มๆละ 5-6 คน ให้อ่านเนื้อหาตลอดทั้งเรื่อง และเสนอประเด็นความคิดหลัก สัมมนาร่วมกับเพื่อน และปฏิบัติ การเขียนรายบุคคล ขั้นที่ 4 ขั้นประเมิน เป็นการทดสอบย่อยรายบุคคล ตรวจผลงาน ครูให้ข้อมูลย้อนกลับ และขั้นที่ 5 ขั้นถ่ายโอน ใบงานหรือแบบฝึกหัดการเขียน การบ้าน และการอ่านเพิ่มเติม และแผนการจัดการเรียนรู้ 6 แผน แต่ละแผนการจัดการเรียนรู้ประกอบด้วย แบบฝึกทักษะการเขียน และประเมินตามสภาพจริง การนำรูปแบบไปใช้ พบว่า เมื่อเปรียบเทียบผลต่างระหว่างกระบวนการเรียนรู้และหลังเรียน พบว่า ประสิทธิภาพ ความสามารถในการทำกิจกรรมตามแบบฝึกหัดระหว่างเรียน ครบ 6 ครั้งได้คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 97.07 และคะแนนเฉลี่ยจากการทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์หลังเรียนของนักเรียนทั้งหมดได้คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 97.72 ซึ่งแสดงว่ารูปแบบการสอนนี้ มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้ จากการเปรียบเทียบคะแนนค่าเฉลี่ยก่อนเรียน และหลังเรียน พบว่า ทักษะการเขียนของผู้เรียนที่เรียนจากรูปแบบการสอนหลังเรียนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 แสดงให้เห็นว่ารูปแบบการสอนเพื่อพัฒนาทักษะการเขียนที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นสามารถนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.subjectการสอนth_TH
dc.subjectทักษะการเขียนth_TH
dc.subjectภาษาลาว - - การศึกษาและการสอน (อุดมศึกษา)th_TH
dc.subjectภาษาลาว - - การเขียนth_TH
dc.subjectวิทยาลัยครูบ้านเกินth_TH
dc.subjectสาขาการศึกษา
dc.titleการพัฒนารูปแบบการสอนเพื่อพัฒนาทักษะการเขียน สำหรับนักศึกษาปีที่ 1 วิทยาลัยครูบ้านเกิน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวth_TH
dc.title.alternativeA development of instructional model for writing skill of freshmen Bankeun Lao PDR Teacher Collegeen
dc.typeบทความวารสารth_TH
dc.issue3
dc.volume23
dc.year2555
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were to develop an instructional model for writing skill development of the first - year students at Bankeun Teacher College, Lao P.D.R. and to find the efficiency of this instructional model. The sample, derived by means of simple random sampling, consisted of 41 first – year students enrolling in the course of Lao Language in the second semester of the academic year 2009 – 2010. The statistical devices used for data analysis were means, standard deviation, independent group t-test and the 80/ 80 efficiency standard criterion. The result were to obtain the instructional model for writing skill development comprising 5 steps as follows: Step 1: Introduction: readiness preparation to arouse the interest and review of prior knowledge; Step 2: Presentation: presenting new content and dividing learners into small groups for implementing; Step 3: Practice: dividing learners into a group of 5 – 6 people, reading the whole content, presenting main idea issue, peer seminar, and individual writing implementation; Step 4: evaluation: individual quiz, checking learners’work. and giving teacher’s feedback; and Step 5: Transferring: content sheets or writing worksheets, homework and supplementary reading assignments. The learning management plan comprised 6 lesson plans. Each lesson plan included writing skill practice and authentic assessment. For the implementation of the instruction model, on the comparison of the differences between the outcomes of while – learning process and of after learning, it was found out that the average score of 6 while – leaning activities was at 97.07 percent; while the average score of the academic achievement posttest after learning was at 97.72. This signified that the efficiency of the instructional model was higher than the 80/80 standard criterion. On the comparison of the average score between before learning and after leraning, it also revealed a significant increase of writing skill improvement after learning at the level of .05. It is thus indicated that the instructional model for writing skill development can be used effectively.en
dc.journalวารสารศึกษาศาสาตร์ = Journal of education
dc.page274-284.
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
274-284.pdf161.29 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น