กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2561
ชื่อเรื่อง: ผลของการฝึกแบบอินเทอร์วาลในระดับความหนักและระยะเวลาต่างกันที่มีต่อความสามารถสูงสุดในการนำออกซิเจนไปใช้ ปริมาณฮีโมโกลบิน สมรรถภาพเชิงแอนแอโรบิก และแอนแอโรบิกเทรชโฮล
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Effects of variations in intensity and duration of interval training programs on maximum oxygen uptake, hemoglobin, anaerobic performance and anaerobic threshold
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ประทุม ม่วงมี
วิรัตน์ สนธิ์จันทร์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา
คำสำคัญ: การออกกำลังกาย
สมรรถภาพทางกาย
สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
ฮีโมโกลบิน
เลือด - - การไหลเวียน
วันที่เผยแพร่: 2556
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการฝึกแบบอินเทอร์วาลที่ระดับความหนักและระยะเวลาต่างกัน ที่มีต่อความสามารถสูงสุดในการนำออกซิเจนไปใช้ ปริมาณฮีโมโกลบิน สมรรถภาพเชิงแอนแอโรบิก และ แอนแอโรบิกเทรชโฮล กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตชาย คณะวิทยาศาสตร์การกีฬามหาวิทยาลัยบูรพา จำนวน 32 คนได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจงและถูกแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มกลุ่มที่ 1 ฝึกวิ่งที่ระดับความหนัก 90-95% กลุ่มที่ 2 ความหนัก 80-85% กลุ่มที่ 3 ความหนัก 70-75% ของอัตราการเต้นของหัวใจสูงสุด และกลุ่มที่4 กลุ่มควบคุมตัวแปรที่ศึกษาคือ ความสามารถสูงสุดในการนำออกซิเจนไปใช้ ปริมาณฮีโมโกลบิน สมรรถภาพเชิงแอนแอโรบิก และแอนแอโรบิกเทรชโฮล ข้อมูลที่ได้ก่อนและหลังการฝึกถูกนำมาวิเคราะห์หาค่าความแตกต่างที่ไม่เป็นอิสระต่อกัน (Dependent t-test) และวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-way ANOVA) นัยสำคัญทางสถิติกำหนดไว้ที่ .05 ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการฝึกแบบอินเทอร์วาลเป็นเวลา 8 สัปดาห์ กลุ่มที่ 2 มีค่าความสามารถสูงสุดในการนำออกซิเจนไปใช้ (ทดสอบด้วยการวิเคราะห์ลมหายใจ) และค่าแอนแอโรบิกเทรชโฮล (ทดสอบด้วยวิธีการวิเคราะห์ลมหายใจ) เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเพียงกลุ่มเดียว โดยเพิ่มจาก 46.20 ± 4.26 เป็น 49.99 ± 3.62ml/kg^-1/min^-1และ 26.88 ± 4.7 เป็น 31.35 ± 6.57 ml/kg^-1/min^-1 ตามลำดับ และกลุ่มที่ 1 ค่าความสามารถสูงสุดในการนำออกซิเจนไปใช้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติจาก 46.57 ± 5.13 เป็น 50.10 ± 5.94ml/kg^-1/min^-1 สำหรับปริมาณฮีโมโกลบิน และสมรรถภาพเชิงแอนแอโรบิก (ทดสอบด้วยวิธีการของวินเกต)ของทุกกลุ่มไม่เปลี่ยนแปลง จากข้อมูลที่ปรากฏทำให้สรุปได้ว่า การฝึกแบบอินเทอร์วาลที่ระดับความหนัก 80-85% ของอัตราการเต้นของหัวใจสูงสุดสามารถพัฒนาค่าความสามารถสูงสุดในการนำออกซิเจนไปใช้และค่าแอนแอโรบิกเทรชโฮลให้เพิ่มขึ้นได้และการฝึกแบบอินเทอร์วาลทั้ง 3 ระดับไม่ทำให้ค่าปริมาณฮีโมโกลบิน และสมรรถภาพเชิงแอนแอโรบิกเปลี่ยนแปลง
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2561
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
pubh8n1p68-79.pdf170.07 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น