กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/253
ชื่อเรื่อง: การวิเคราะห์ต้นทุนและผลประโยชน์ในการจัดการอุบัติภัยจราจรบนท้องถนนจากโครงการพัฒนารูปแบบการจัดการจราจรแบบผสมผสาน จังหวัดระยอง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: A cost-benefit analysis in the management of traffic accidents on from the development of integrated traffic management Rayong province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พิศมัย เสรีขจรกิจเจริญ
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์
คำสำคัญ: ความปลอดภัยในท้องถนน -- ไทย -- ระยอง
สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
อุบัติเหตุทางถนน -- การป้องกันและควบคุม
อุบัติเหตุทางถนน -- ไทย -- ระยอง
สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
วันที่เผยแพร่: 2548
สำนักพิมพ์: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิเคราะห์ต้นทุนและผลประโยชน์ในการจัดการอุบัติเหตุจราจรบนท้องถนนจากโครงการพัฒนารูปแบบการจัดการจราจรแบบผสมผสาน จังหวัดระยอง มีวัตถุประสงค์เพื่อ วิเคราะห์ต้นทุนและประสิทธิผลด้านการจัดการจราจรบนท้องถนนของหน่วยงานที่เข้าร่วมการศึกษาและผู้ประสบอุบัติภัยในโครงการ ในเขตพื้นที่ที่เสี่ยงภัยจราจรบนถนนสายหลัก 3 สาย คือ สาย 3 สาย 36 และสาย 344 ทำศึกษาและการรวบรวมข้อมูลตั้งแต่ พ.ศ. 2547 ถึง พ.ศ. 2550 ในด้านการวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณา ซึ่งได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุด และค่าสูงสุด รวมทั้งมูลค่าปัจจุบันสุทธิเพื่อตอบวัตถุประสงค์ของโครงการอย่างครอบคลุม โดยใช้ตัวชี้วัดผลที่เกิดขึ้นเป็นจำนวนผู้อุบัติภัย, จำนวนผู้บาดเจ็บ, จำนวนผู้เสียชีวิต ณ จุดเกิดเหตุ, จำนวนผู้เสียชีวิตขณะส่งเข้ารับการรักษาพยาบาล รวมทั้งการสูญเสียทรัพย์สินของทางราชการประกอบในการพิจารณา ผลการศึกษา พบว่า ต้นทุนรวมของโครงการในปี พ.ศ. 2549 มีมูลค่าต้นทุนสูงสุด คิดเป็นร้อยละ 51.58 รองลงมาคือ ปี พ.ศ. 2548 และปี 2547 คิดเป็นร้อยละ 24.34 และ 24.09 ตามลำดับ เมื่อจำแนกตามลักษณะของต้นทุนที่เกิดขึ้นในโครงการพบว่า ต้นทุนด้านวัสดุอุปกรณ์นั้นมีสัดส่วนของการลงทุนที่สูงที่สุด คิดเป็นร้อยละ 91.35 รองลงมาคือ ต้นทุนด้านบุคลากร และต้นทุนด้านค่าลงทุน ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 6.85 และ 1.80 ตามลำดับ ผลการวิเคราะห์หน่วยงานด้านการลงทุนซึ่งสามารถเรียงลำดับมูลค่าการลงทุนจากมากไปน้อย ได้ผลดังนี้ คือ หน่วยงานตำรวจ, หน่วยงานองค์การบริหารส่วนตำบล, หน่วยงานด้านสาธารณสุข, หน่วยงานด้านการขนส่งจังหวัด และหนาวยงานของมูลนิธิที่เข้าร่วมโครงการนั้นมีมูลค่าการลงทุนที่ต่ำที่สุด เมื่อพิจารณาประสิทธิผลของการลงทุนในโครงการพัฒนารูปแบบการจัดการจราจรแบบผสมผสาน จ.ระยอง โดยใช้จำนวนอุบัติเหตุ, จำนวนผู้บาดเจ็บ, จำนวนผู้เสียชีวิต ณ จุดเกิดเหตุ, จำนวนผู้เสียชีวิตขณะส่งรับการรักษาและความเสียหายต่อทรัพย์สินของผิวทางจราจรเป็นตัวชี้วัด พบว่า หลังจากดำเนินโครงการเสร็จสิ้นแล้ว พบว่า จำนวนผู้เสียชีวิต ณ จุดเกิดเหตุลดลง 100 เปอร์เซ็นต์ (ก่อน=10 หลัง =0) และจำนวนผู้เสียชีวิตระหว่างส่งเข้ารับการรักษา ลดลง 100 เปอร์เซ็นต์ (ก่อน=6 หลัง=0) ขณะที่จำนวนครั้งของอุบัติภัยไม่ได้ลดจำนวนลงมากเท่าที่ควร แต่ความรุนแรงของการสูญเสียในชีวิตและทรัพย์สินลดลงอย่างเห็นได้ชัด อย่างไรก็ดีความสำเร็จของโครงการนั้นเกิดจากความร่วมมืออย่างจริงจังของทุกภาคส่วนทั้งหน่วยงานของรัฐและเอกชนที่ได้ให้ความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชนทั้งด้านการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการลดอุบัติเหตุ, การบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด, การปรับปรุงพื้นผิวจราจร เมื่อได้รับแจ้ง อีกทั้งการประชาสัมพันธ์ถึงช่องทางต่าง ๆ ในการติดต่อเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินทำให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการของรัฐอย่างทันท่วงทีส่งผลให้สามารถรักษาทรัพยากรบุคคลและทรัพยากรของประเทศชาติอย่างมหาศาล
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/253
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น