กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2322
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorไพฑูรย์ โพธิสว่าง
dc.contributor.authorพระมหาสนธยา พุทธวิริโย
dc.contributor.authorบุญทัน ดอกไธสง
dc.contributor.authorสะอาด บรรเจิดฤทธิ์
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์
dc.date.accessioned2019-03-25T09:14:43Z
dc.date.available2019-03-25T09:14:43Z
dc.date.issued2553
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2322
dc.description.abstractจุดประสงค์ในการทำวิจัยในครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ศึกษา ยุทธศาสตร์การเผยแผ่ศาสนธรรมในยุคโลกาภิวัตน์ กรณีวัดพระธรรมกาย และวัดหนองป่าพง จึงได้เสนอตัวแปรศึกษา ห้าตัวแปรดังต่อไปนี้ 1. หลักไตรสิกขา และหลักธรรมะที่นำไปเผยแผ่ 2. การบริหารจัดการวัด 3. ยุทธศาสตร์การประกาศธรรมะ 4. ยุทธศาสตร์ยุคใหม่ในการเผยแผ่ธรรมะ 5. ประสิทธิภาพการสอนและการปฎิบัติของพุทธบริษัท การสอบถามเชิงลึก ผู้สอบถามได้ถามบุคลากรที่ให้ข้อมูลหลัก 24 ท่าน และการวิจัยครั้งนี้เป็นเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ การนำเสนอข้อมูล 1) ทั้งสองวัดนี้ ได้ใช้หลักการไตรสิกขาเช่นเดียวกัน ที่เป็นพื้นฐานหลักในการประกาศธรรมะและศีล 5 คือ พื้นฐานของมนุษย์ที่จะต้องนำไปสู่การปฏิบัติ ถึงอย่างไรก็ตามวัดพระธรรมกาย ได้ประกาศและมีจุดเน้นในฐานที่ 7 ของร่างกายนั้นคือ จุดเหนือสะดือ 2 นิ้ว ซึ้งผู้ปฏิบัติจะต้องหลับตาเบาๆ พอประมาณเพื่อทราบทุกการเคลื่อนไหวของลมหายใจเข้าขณะที่วัดหนอนป่าพง ได้ปรับนำการรับรู้ความคิดในแต่ละอิริยาบถของการเคลื่อนไหวที่เรียกว่า การทำจิตใจให้สงบโดยมีจิตมุ่งที่ลมหายใจเข้าและลมหายใจออก ภาวนาว่า พุท เข้า โธ ออก 2) เกี่ยวกับบริเวณวัด ซึ่งผู้วิจัยเรียกว่าแคมปัส (วัด) ทั้งสองวัดมีสิ่งแวดล้อมที่ดีมาก วัดพระธรรมกายมีบริเวณกว้างขวาง เป็นวัดในเมือง ส่วนวัดหนองป่าพง ถูกห้อมล้อมด้วยธรรมชาติที่ยิ่งใหญ่ มีบริเวณที่เป็นป่าสีเขียวร่มเย็น เมื่อเราเข้าไปเยี่ยมเยียน เป็นวัดในท้องถิ่นที่เต็มไปด้วยความหมายของความสงบทางใจ ทั้งสองวัดมีศูนย์กลางมากมายทั้งภายในและต่างประเทศ ผู้นำทั้งสองวัดนี้ บริหารโดยคณะสงค์และเจ้าอาวาสเป็นประธาน ได้รับการเคารพเป็นอย่างสูงจากหมู่ขณะ การปฏิบัติสมถะ และวิปัสสนานั้น ได้รับการฝึกอบรม เป็นกลุ่มส่วนบุคคลและการปฏิบัติด้วยตนเอง ผลของการวิจัย ตามตัวแปรตามในข้อที่ 5 ได้แสดงถึงแระสิทธิภาพของการประกาศการสอนธรรมะที่ได้บ่งบอกว่า ทั้งสองวัดนี้มีชื่อเสียงและเป็นที่ยอมรับอย่างสูงต่อสาธารณะและมีความเป็นจริงในการติดต่อสัมพันธ์กับสมาชิก ซึ่งได้รับความสำเร็จเป้นอย่างสูงทั่วโลก วัดทั้งสองได้เป็นตัวอย่างเกี่ยวกับการบริหารวัดเป็นศูนย์การสอนสมถะและวิปัสสนา เป็นศูนย์กลางทำบุญสุนทาน เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับการบริหารวัดเป็นศูนย์การสอนสมถะและวิปัสสนา เป็นศูนย์กลางการทำบุญสุนทาน เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับชีวิตที่ยิ่งใหญ่ โดยการใช้สื่อเชิงพหุ เพื่อเชื่อมเครือข่ายกับสมาชิกทั่วโลกโดยผ่านดาวเทียม และที่มีประสิทธิภาพสูงสุด คือการใช้เทคนิคที่ก้าวหน้าในการสอนและการฝึกอบรมมุ่งมั่นเพื่อสร้างศักยภาพมนุษย์ความรักและความเมตตา เพื่อแบ่งปันคุณค่าในการสร้างสันติภาพภายในจิตใจมนุษย์ชาติ ดังนั้นวัดทั้งสองได้กลายเป็นวัดที่มีประสิทธิภาพที่ดีที่สุดในโลกth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.subjectการเผยแผ่พุทธศาสนาth_TH
dc.subjectพุทธศาสนาth_TH
dc.titleยุทธศาสตร์การเผยแผ่ศาสนธรรมในยุคโลภาภิวัตน์ กรณี วัดพระธรรมกายและวัดหนองป่าพงth_TH
dc.typeบทความวารสารth_TH
dc.issue1
dc.volume5
dc.year2553
dc.journalวารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ = VRU Research and Development Journal.
dc.page96-110.
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น