กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2310
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยส่งเสริมการจัดการศึกษาที่ส่งผลต่อคุณภาพนักเรียนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: มานะ สินธุวงษานนท์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
คำสำคัญ: การศึกษา - - การบริหาร
การศึกษา
นักเรียน
ประกันคุณภาพการศึกษา - - ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
สาขาการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2550
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับคุณภาพนักเรียน ด้านความเก่ง ด้านความดี และด้านการมีความสุข เพื่อศึกษาระดับความสำคัญขององค์ประกอบคุณภาพนักเรียนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และความกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยส่งเสริมการจัดการศึกษาระดับนักเรียน ระดับห้องเรียน และระดับโรงเรียน ที่ส่งผลต่อคุณภาพนักเรียนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยตัวแปรตามองค์ประกอบคุณภาพนักเรียนประกอบด้วย 1) ความเก่ง 2) ความดี และ 3) การมีความสุข ซึ่งความเก่ง วัดจากความสามารถใน 3 ด้าน คือ 1) ความสามารถในการเรียนรู้ 2) ความสามารถในการวางแผนการทำงาน และ 3) ความสามารถในการตัดสินใจและแก้ปัญหา ความดีวัดจากความประพฤติใน 3 ด้าน คือ 1) การควบคุมตนเอง 2) การเห้นใจผู้อื่น และ 3) ความรับผิดชอบ การมีความสุขวัดจากสภาพความพึงพอใจ 3 ด้าน คือ 1) ความภูมิใจในตนเอง 2) ความพอใจในชีวิต และ 3) ความสุขสงบทางใจ ส่วนตัวแปรอิสระปัจจัยส่งเสริมการจัดการศึกษาปัจจัยระดับนักเรียน ประกอบด้วย 1) ความสนใจใฝ่รู้ 2) บรรยากาศในครอบครัว 3) ความพร้อมที่จะเรียน และ 4) กระบวนการพัฒนาตนเอง ปัจจัยระดับห้องเรียนประกอบด้วย 1) ความกระตือรือร้น 2) ความรอบรู้ 3) การให้คำปรึกษา และ 4) การจัดการชั้นเรียน ปัจจัยระดับโรงเรียนประกอบด้วย 1) โครงสร้างการบริหารโรงเรียน 2) พันธกิจที่ชัดเจน 3) ความกลมเกลียว 4) การมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง และ 5) กระบวนการบริหารคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยผู้บริหารโรงเรียนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือจำนวน 40 คน ครูผู้สอนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 218 คน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 4200 คน รวมกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 4458 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ในการวัดตัวแปรตามเป็นแบบประเมินคุณภาพนักเรียน ส่วนตัวแปรอิสระเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ระดับคุณภาพนักเรียนใช้ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ระดับความสำคัญขององค์ประกอบคุณภาพนักเรียน และความกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันขั้นตอนที่ 2 ด้วยโปรแกรม LISREL 8.72 การวิเคราะห์พหุระดับด้วยโปรแกรม HLM 6.02 Student Version
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2310
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
p115-128.pdf1.36 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น