กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2306
ชื่อเรื่อง: วิวัฒนาการของ Judicial Review
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วิเชียร ตันศิริมงคล
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์
คำสำคัญ: ตุลาการ
ศาลรัฐธรรมนูญ
สิทธิมนุษยชน
สาขารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์
วันที่เผยแพร่: 2554
บทคัดย่อ: บทความนี้มุ่งสำรวจองค์ความรู้ของกระบวนการ Judicial Review ในเชิงเปรียบเทียบ เริ่มจากการศึกษาพัฒนาการของกระบวนการดังกล่าวที่เกิดขึ้นจากเหตุผลของผู้ร่างรัฐธรรมนูญสหรัฐอเมริกาเพื่อยุติปัญหาที่อาจเกิดจากความแตกต่างด้านการปกครองในแนวราบและแนวดิ่งของสหรัฐอเมริกาภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 แนวคิดการสร้างรัฐธรรมนูญเพื่อปกป้องสิทธิมนุษยชนภายใต้การมีกระบวนการ Constitutional Review ได้เป็นต้นแบบในการตั้งศาลรัฐธรรมนูญของเยอรมัน และภายหลังทศวรรษที่ 1980 การปฏิบัติด้านสิทธิของประชาชน ประเทศต่างๆ ได้หันมาให้ความสำคัญกับการคุ้มครงสิทธิของประชาชน มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อให้มีกลไกและสถาบันในการคุ้มครองสิทธิดังกล่าวซึ่งนำไปสู่การจัดตั้งศาลรัฐธรรมนูญหรือการให้อำนาจศาลสูงของประเทศในการดำเนินกระบวนการ Constitutional Review ต่อมาเมื่อสถาบันตุลาการในประเทศต่างๆ ได้เริ่มเข้ามามีบทบาทในการพิจารณาคดีที่เกี่ยวข้องกับการเมืองในระดับโครงสร้างและสถาบันหลัก บทบาทดังกล่าวของศาลย่อมเกิดความขัดแย้งกับสถาบันหลักทางการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง เช่น รัฐสภา และรับบาล ดังนั้นสถาบันตุลาการต้องปรับตัวป้องกันการเข้ามาแรกแซงความเป็นอิสระในการทำงานของศาล อย่างไรก็ตามจากการศึกษาพบว่า ความเป็นอิสระของศาลเกิดจากกลยุทธ์ที่ศาลต้องปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมทางการเมือง ยิ่งไปกว่านั้นการศึกษาพบว่ากระบวนการ Constitutional Review หรือการจัดตั้งศาลรัฐธรรมนูญในหลายประเทศเกิดจากเหตุผลทางการเมืองมากกว่าเหตุผลด้านการคุ้มครองสิทธิ แนวคิดเรื่อง Minimalism ประกอบกับความประสงค์ของศาลในการที่จะป้องกันเผด็จการของเสียงข้างมาก เป็นเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดปรากฏการณ์ Judicial Activism ซึ่งนักวิชาการจำนวนมากได้ให้ความเห้นว่าแนงทาง Minimalism นั้นขัดแย้งกับหลักการสำคัญของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อย่างไรก็ตามทั้งแนวทาง Minimalism และแนวทาง democratic majority ต่างก็ไม่ได้ปฏิเสธการดำรงอยู่ของสถาบันหลักทั้งสาม คือ สถาบันนิติบัญญัติ สถาบันบริหาร และสถาบันตุลาการ รวมถึงกระบวนการเลือกตั้ง คำสำคัญ : ตุลาการภิวัฒน์, ศาลรัฐธรรมนูย, กระบวนการตรวจสอบทางการเมือง, สิทธิมนุยชน This paper aims to survey the body of knowledge about the judicial review in comparative perspective. Start from the evolution of the judicial review then evaluate the judicailization of politics, witness the politicization of judiciary, and reach the juirstocrcy. The American constitutional drafters created the judicial review process and incorporated it in Supreme Court with hoping that the court would settle the fragment problems, laterally and vertically, in the new federal nation. In order to protect the Human rights, after the second World War the German constitutional court and the process of constitutional review have been included in German constitution these development became the role model of the constitutional court in so many states in the later years. The spreading of constitutional court and its constitutional review was clearly came after the outburst of the rights revolution during the 1990's notably in the former eastern bloc states, the period of political transition from totalitarian state to democratic state. The more cases of constitutional review has brought about more conflict with both the executive and the legislative branches, especially when courts have involved in the Mega-politics, so call the judicialization of politics. We came across that the Judiciary trying to immune themselves from the political intervention and thrive for the judicial independence, however several studies have paradoxically shown that many constitutional courts had been found by the political reasons rather than pursuing the rights ideology. For preventing the democratic irrationalists, the Schumpeterian minimalists have believed and admired in the veto power of the judicial review process regulated and run by constitutional court though theirs countermajotirarian nature defying the foundation of the normative democratic principle, rule by majority and the equal respect. Keywords : Judicial activism, Judicialization of politics, Politicization of judiciary, Constitutional court.
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2306
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
p51-85.pdf333.81 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น