กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2298
ชื่อเรื่อง: วิวัฒนาการของกฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยการต่อต้านการใช้กำลัง
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: 
ณัฐวัฒน์ กฤตยานวัช
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์
คำสำคัญ: กฎหมายระหว่างประเทศ - - วิวัฒนาการ
กฎหมายระหว่างประเทศ
สาขารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์
วันที่เผยแพร่: 2555
บทคัดย่อ: แนวความคิดของกฎหมายระหว่างประเทศเกี่ยวกับการใช้กำลังนั้นมีวิวัฒนาการมามากกว่าสหัสวรรษ โดยเริ่มจากในยุคกลาง เซนต์ออกัสตินได้เสนอแนวความคิดว่าด้วยสงครามที่เป็นธรรม ซึ่งเป็นหลักเกณฑ์เกี่ยวกับสงครามนั้นจะต้องทำเพื่อป้องกันตนเอง ปกป้องทรัพย์สิน และเยียวยาความเสียหาย ต่อมาเซนต์โธมัส อไควนัสได้เสริมแนวคิดดังกล่าวว่าการทำสงคราวจะต้องมีการประกาศ และกระทำโดยองค์อธิปัตย์เพื่อลงโทษผู้กระทำผิด ต่อมาในยุคเรอเนสซองส์ การปฏิรูปศาสนา การเกิดของรัฐชาติสมัยใหม่ที่เป็นรัฐฆราวาสและการที่กฎหมายระหว่างประเทศเข้ามาแทนที่กฎหมายศาสนจักร ส่งผลให้ฟรานซิสโก้ ซัวเรซและฮูโก้ โกรเซียสได้นำเอาแนวคิดดังกล่าวมาพัฒนา โดยเฉพาะโกรเชียสมองว่า การใช้กำลังจะต้องเป็นการป้องกันตนเองเพื่อกป้องชีวิตและทรัพย์สินจากการโจมตีบนดินแดนของรัฐอื่น อีกทั้งแนวคิดดังกล้าวได้ปรากฏในสนธิสัญญาเวสต์ฟาเลีย ค.ศ. 1648 อีกด้วย หลังจากนั้น ในยุคศตวรรษที่ 19 อิทธิพลทางความคิดของปรัญาสำนักปฎิฐานนิยมได้ส่งผลให้หลักกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศว่าด้วยการใช้กำลังเกิดขึ้นจากคดีเรือแคโรไลน์ รวมไปถึงการเกิดข้อตกลงระหว่างประเทศที่เน้นเรื่องการจำกัดการใช้กำลังหลังจากนั้น ไม่ว่าจะเป็นกติกาสันนิบาตชาติ ความตกลง เคลล็อกก์-บริอองด์ ค.ศ. 1928 ไปจนถึงกฎบัตรสหประชาชาติ ทั้งนี้ในกติกาสันนิบาตชาตินั้น ยังคงอาศัยหลักการการชะลอการใช้กำลังอยู่ จึงมีข้อตกลงเคลลอกก์ บริอองด์ดังกล่าวมาเสริมเพื่อไม่ให้ใช้กำลังทหารในการระงับข้อพิพากษ์ระหว่างประเทศ อย่างไรก็ตามข้อตกลงดังกล่าวไม่ประสบความสำเร็จจนส่งผลให้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 และกฎบัตรสหประชาชาติที่เกิดขึ้นกลังจากนั้นได้กำหนดให้หารใช้กำลัง รวมไปถึงการข่มขู่ว่าจะใช้กำลังเป็นการปฏิบัติที่มิชอบด้วยกฎหมายในข้อ 2(4) โดยกำหนดข้อยกเว้นเรื่องการป้องกันตนเองจากการโจมตีทางการทหารของรัฐอื่นเอาไว้ในข้อ 51 และหมวดที่ 7 ของ กฎบัตรสหประชาชาติในเรื่องของการปฏิบัติการทางทหารเพื่อรักษาสันติภาพของกองกำลังสหประชาชาติซึ่งจะต้องประกอบไปด้วยกองทัพของรัฐสมาชิก ภายใต้มติของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ซึ่งได้มีพลวัตรและข้อท้าทายบางประการมาจนถึงปัจจุบัน The concept of international law against use of force has been evolved for more than millennium. In the age of medieval, the concept of Just War was laid out, by St..Augustine, that war should be waged for self-defence, protection of property and amendment of injuries. Later, St.Thomas Aquinas supplemented St.Augustine’s concept that it should be declared for punishing a wrongdoer because of his guilt and waged only by sovereign. In Renaissance, it had been developed by Francisco Suarez and Hugo Grotius along with the Reformation, the rise of Secular or Nation State and the replacement of canon law by international law. It was perceived, especially by Grotius, that state can make a Just War for protection of peoples’ lives and properties and for self-defense when its territory has been attacked. The development of this approach actually existed in The Treaty of Westphalia 1648. In 19th Century, the influence of Legal Positivism made a great change for international law because it contributed to the formation of customary international law and treaty law. They were conceived as law between nations instead of supra-national law. These influenced over the international law against use of force by forming a customary international law that has been accepted until now via Caroline case. However, a treaty against or even restraining use of force had not been adopted until the post World War I ear. The Covenant of League of Nations and the Kellogg-Briand Pact 1928 provided the principle of moratorium and condemnation of war as an instrument of foreign policy but it remained not to prohibiting it. After the ending of World War II and the establishment of United Nations, the article 2(4)of the UN Charter prohibits the use of force against territorial integrity and political independence of member states. Moreover, it goes further than the League Covenant and Kellogg-Briand Pact by prohibiting a threat of use of force. However, it does not absolutely prohibit use of force by allowing the right of self-defense and authorization of a military operation by UN. If operatior are carried out by army of UN member according to UN Security Council’s resolution. That reflects the concept of use of force that state can not use force against another except for self-defence or some other activities for protection of security of international community and there are some dynamics and challenges and challenges in current international situations thereof.
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2298
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
p53-81.pdf5.33 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น