กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2270
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อของนักเรียนอาชีวศึกษาเอกชน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors Related to Private Vocational Student's Decision Making on Their Further Study
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อารมณ์ เพชรชื่น
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: นักเรียนอาชีวศึกษา - - การศึกษาต่อ
สาขาการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2547
บทคัดย่อ: วัตถุประสงค์ของการวิจัยเรื่องนี้มี 3 ประการคือ (1) เพื่อศึกษาภูมิหลังของนักเรียนอาชีวศึกษาเอกชนที่มีความต้องการศึกษาต่อ และไม่ต้องการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น (2) เพื่อศึกษาความของตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับ การตัดสินใจเลือกศึกษาต่อของนักเรียนอาชีวศึกษาเอกชนและ (3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัย ของสถานศึกษาที่ต้องการศึกษาต่อกับการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อของนักเรียนอาชีวศึกษาเอกชน การออกแบบการวิจัยประชากรที่ศึกษาเป็นนักเรียนที่กำลังศึกษาเป็นนักเรียนที่กำลังศึกษาหลักสูตรพาณิชยการและบริหารธุรกิจ ชั้นปีที่ 3 ปีการศึกษา 2545 จากโรงเรียนเอกชน 8 โรงเรียน ในเขตจังหวัดชลบุรี และฉะเชิงเทรา รวม 4,866 คนกลุ่มตัวอย่างที่ได้จากการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิได้กลุ่มตัวอย่าง 408 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวม ข้อมูลเป็นแบบสอบถาม 1 ฉบับ แบ่งเป็น 3 ตอน คือ ตอนที่ 1 ถามภูมิหลังของนักเรียน ตอนที่ 2 ถามความสำคัญของตัวแปรความต้องการที่เกี่ยวพันกับการตัดสินใจ เลือกศึกษาต่อ ตอนที่ 3 ถามลักษณะของสถานศึกษาและลักษณะการบริหารจัดการสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยความเบี่ยงเบน แบบมาตรฐาน t-test และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนอาชีวศึกษาเอกชน ปีที่ 3 ส่วนมากเป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 18-19 ปี มีผลการเรียนเฉลี่ยส่วนมากอยู่ในระดับพอใช้ หรือปานกลาง รายได้ของครอบครัวส่วนมากค่อนข้างต่ำ บิดามารดา ส่วนมากประกอบอาชีพเป็นลูกจ้าง หลังจากจบการศึกษา ปวช. แล้วส่วนมากต้องการศึกษาต่อ ตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตัดสินใจศึกษาต่อคือต้องการพัฒนาตนเอง ต้องการพัฒนาทางอาชีพ ต้องการตอบสนองความต้องการของผู้เกี่ยวข้อง และต้องการพัฒนาสถานะภาพทางสังคมตามลำดับ ปัจจัยของสถานศึกษามีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจศึกษาต่อ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ปัจจัยของสถานศึกษาคือ ปัจจัยด้านโรงเรียน ที่สำคัญได้แก่ ความสามารถและปฏิบัติตน ของครู ระบบการจัดการภายในสภาพแวดล้อม และระบบการแนะแนวและจัดหางานตามลำดับ
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2270
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
p65-76.pdf11.53 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น