กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2007
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาเมืองผู้สูงอายุแสนสุข (ปีที่ 3)
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Development saensuk happiness elderiy community model (Phase II)
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เวธกา กลิ่นวิชิต
พิสิษฐ์ พิริยาพรรณ
รัชนีภรณ์ ทรัพย์กรานนท์
สรร กลิ่นวิชิต
พวงทอง อินใจ
วนัสรา เชาวน์นิยม
ทนงศักดิ์ ยิ่งรัตนสุข
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์
คำสำคัญ: การดูแลผู้สูงอายุ
ความเครียดในผู้สูงอายุ
ผู้สูงอายุ
สุขภาพผู้สูงอายุ
สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: แผนงานวิจัย ปีที่ 3 ระยะที่ 3 นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเมืองผู้สูงอายุ มีโครงการวิจัยย่อย ภายใต้ แผนงานวิจัยจํานวน 5 โครงการวิจัยย่อย ซึ่งมีวัตถุประสงค์ย่อย ดังนี้ 1) เพื่อพัฒนาชุมชนต้นแบบเป็นเมือง ผู้สูงอายุแสนสุข ในชุมชนเทศบาลเมืองแสนสุข อําเภอเมือง จังหวัดชลบุรี 2)เพื่อพัฒนาแกนนําสุขภาพนิสิต มหาวิทยาลัยบูรพาเพื่อการดูแลผู้สูงอายุในชุมชนเทศบาลเมืองแสนสุข อําเภอเมือง จังหวัดชลบุรี 3) เพื่อ พัฒนาแกนนําสุขภาพครอบครัวและชุมชนเพื่อการดูแลผู้สูงอายุ ในชุมชนเทศบาลเมืองแสนสุข อําเภอเมือง จังหวัดชลบุรี 4) เพื่อศึกษาผลการให้คําปรึกษาด้วยเทคนิคเสริมสร้างพลังแห่งตนตามทฤษฏีโปรแกรมภาษา ประสาทสัมผัสต่อการพัฒนาสุขภาพจิตของผู้สูงอายุ 5)เพื่อศึกษาแบบแผนการบริโภคอาหาร ภาวะ โภชนาการ และปัจจัยขับเคลื่อนชุมชนผู้สูงอายุสุขภาพดี 6) คุณลักษณะผู้สูงอา ยุจิตอาสาต้นแบบ กระบวนการดําเนินกิจกรรมจิตอาสา และแนวทางการพัฒนาผู้สูงอายุจิตอาสาเมืองแสนสุข 7) เพื่อศึกษา และพัฒนากระบวนการเรียนรู้เพื่อการประกอบอาชีพ ของผู้สูงอายุชุมชนเทศบาลเมืองแสนสุข อําเภอเมือง จังหวัดชลบุรี ใช้วิจัย วิจัยกึ่งทดลอง วิจัยเชิงพัฒนา วิจัย เชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม เชิงปรากฏการณ์ วิทยา และ การวิจัยแบบผสมผสาน ระยะเวลาในการศึกษา ตั้งแต่ ตุลาคม 2557-กันยายน 2558 ซึ่งสามารถ สรุปผลการวิจัยได้ดังนี้ 1. การรับรู้ภาวะสุขภาพและปัญหาด้านสุขภาพผู้สูงอายุของแกนนําสุขภาพครอบครัวและชุมชนก่อนได้รับการพัฒนามีการรับรู้ อยู่ในระดับ ปานกลาง (X =3.16,SD = 0.68) และหลังได้รับการพัฒนา มี การรับรู้ อยู่ในระดับมาก (X =3.55, SD = 0.89) การรับรู้ความสามารถในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุของ แกนนําสุขภาพครอบครัวและชุมชน ก่อนได้รับการพัฒนามีการรับรู้ความสามารถในการดูแลผู้สูงอายุ อยู่ใน ระดับ ปานกลาง (X =5.09) และหลังได้รับการพัฒนา อยู่ในระดับค่อนข้างทําได้ 2. ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของการรับรู้ภาวะสุขภาพและปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุของแกนนํา ในภาพรวม ก่อนและหลังได้รับการพัฒนา พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .001 (t = -3.872, p <.001) และเมื่อเปรียบเทียบเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญ ได้แก่ ด้านการรับรู้ภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุในปัจจุบัน (t = -3.487, p <.001) ด้านการรับรู้ภาวะสุขภาพ ในอดีต (t = -4.640, p <.001) ด้านความกังวลเกี่ยวกับสุขภาพผู้สูงอายุ (t = 4.787, p <.001) ด้านการ รับรู้ความต้านทานหรือความอ่อนแอของผู้สูงอายุ (t = -2.969, p <.01) ด้านการรับรู้แนวโน้มสุขภาพของ ผู้สูงอายุ (t = -2.178, p <.05) ด้านการยอมรับความเจ็บป่วยของผู้สูงอายุ (t = -2.143, p <.05) และด้าน ทัศนคติบวกต่อการไปรับการรักษาจากแพทย์ (t = -2.207, p <.05) โดยมีด้านการปฏิเสธความเจ็บป่วยของ ผู้สูงอายุ ที่ไม่มีความแตกต่างกัน (t = 0.109, p = 0.46) 3. ผลการเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยของการรับรู้ความสามารถในการดูแลผู้สูงอายุของแกนนําก่อนและหลังได้รับการพัฒนาตามรูปแบบเพื่อการดูแลผู้สูงอายุ ในภาพรวม พบว่ามีความแตกต่างกันอย่าง มีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .001 (t = -9.565, p <.001) โดยพบว่า ทุกด้านมีความแตกต่างกันอย่างมี นัยสําคัญที่ระดับ .001 ได้แก่ ด้านการรับรู้ความสามารถของตนเองในการผ่อนปรน(t = -3.707, p <.001) ด้านการรับรู้ความสามารถของตนเองในการตอบสนองต่อพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของผู้สูงอายุ (t = -7.735, p <.001) และด้านความสามารถในการควบคุมความคิดที่ไม่พอใจในการเป็นผู้ดูแล (t= -9.618, p <.001) สรุป การพัฒนาแกนนําสุขภาพครอบครัวและชุมชนเพื่อการดูแลผู้สูงอายุ โดยใช้รูปแบบการพัฒนา ศักยภาพเพื่อการดูแลผู้สูงอายุ มีความสําคัญและช่วยให้แกนนํามีศักยภาพในการดูแลผู้สูงอายุได้ดีขึ้น 4. ผลการให้คําปรึกษาแก่ผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรังโดยใช้เทคนิครัศมีพลังแห่งตนตามทฤษฎโปรแกรมภาษาประสาทสัมผัสต่อภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุ พบว่า มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างวิธีการทดลองกับ ระยะเวลาของการทดลองอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรังและมีภาวะซึมเศร้า กลุ่มทดลองที่ได้รับการให้คําปรึกษาด้วยเทคนิครัศมีพลังแห่งตนมีระดับภาวะซึมเศร้าในระยะหลังการ ทดลองและระยะติดตามผลต่ํากว่าผู้สูงอายุที่เป็นกลุ่มควบคุมที่ได้รับการให้คําปรึกษาด้วยวิธีปกติ อย่างมี นัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผู้สูงอายุกลุ่มทดลองมีระดับภาวะซึมเศร้าในระยะหลังการทดลองและ ระยะติดตามผลต่ำกว่าาระยะก่อนการทดลองอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 5. ผู้สูงอายุจิตอาสา มีประสบการณ์การทํางานจิตอาสา ระยะเวลานานที่สุด มากกว่า 10 ปีทุกคนปฏิบัติงานจิตอาสาอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง มีคุณลักษณะสําคัญ 5 ประการ ได้แก่ มีใจรัก (Integrity) มีเวลา (Flexibility) มีความพร้อมส่วนตน (Energy) มีวินัย (Reliability) และมีความรับผิดชอบ (Responsibility) กระบวนการดําเนินกิจกรรมจิตอาสาระหว่างผู้สูงอายุจิตอาสากับหน่วยงานแบบยั่งยืน แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ 1) หน่วยงาน/ องค์กรที่ต้องการให้มีจิตอาสา มาปฏิบัติ ดําเนินการโดย 5 ขั้นตอน คือ ให้การยอมรับ กําหนดขอบเขตภารกิจที่ต้องการให้ช่วยปฏิบัติ ระบุพื้นที่ที่ต้องปฏิบัติ กําหนด บุคคลประสานงานหลัก คัดเลือก และปฐมนิเทศ และ 2) ผู้สูงอายุที่สนใจปฏิบัติงานจิตอาสา ให้ศึกษา ขอบเขตงานที่จะปฏิบัติ เลือกพื้นที่ปฏิบัติ เตรียมความพร้อมส่วนตน จัดการตนเองให้พร้อมในการปฏิบัติ และเข้าร่วมดําเนินกิจกรรมและประเมินผล โดยมีประเด็นการเชื่อม 2 ส่วนนี้โดยการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อ ต่าง ๆ การติดต่อกับบุคคลโดยตรง และการประชุมอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนแนวทางการพัฒนาผู้สูงอายุจิต อาสาเมืองแสนสุขในประเด็นด้านความรู้ที่จําเป็นสําหรับการดําเนินกิจกรรม ทักษะความสามารถพิเศษ เช่น สิ่งประดิษฐ์ งานฝีมือ การทําขนม การทําอาหาร เป็นต้น การบริหารเวลา ความพร้อมส่วนตนด้านสุขภาพ และใจรักงานจิตอาสา เพื่อให้เกิดความยั่งยืนในการปฏิบัติงาน อันนําไปสู่ประโยชน์สูงสุดทั้งแก่องค์กร และ ผู้สูงอายุ จิตอาสา ทั้งนี้ต้องอยู่ภายใต้บริบทของผู้สูงอายุและกติกาของหน่วยงานนั้น ๆ 6. กลุ่มตัวอย่างมากกว่าหนึ่งในสามมีภาวะเสี่ยงต่อโรคอ้วน คือมีดัชนีมวลกาย เส้นรอบเอว และสัดส่วนเอวกับสะโพกเกินเกณฑ์ ปริมาณไขมันในเลือดอยู่ในระดับสูง และชุมชนนี้อยู่ในแหล่งอาหารทะเล กลุ่มเสี่ยงทั้งหมดเข้าร่วม กําหนดรูปแบบการดูแลโดยมีแกนนําสุขภาพและสมุดบันทึกรายการอาหารและ ร่วมกิจกรรมต่อเนื่อง 3 เดือนเมื่อเปรียบเทียบผลค่าความดันโลหิต ค่าดัชนีมวลกาย ค่าระดับน้ําตาลในเลือด และค่าไขมันในเลือดโดยรวม ก่อนและหลังการทดสอบรูปแบบด้วยสถิติ Wilcoxon Sign Rank test พบว่า ผู้สูงอายุ มีค่าบ่งชี้สุขภาพดีขึ้น อย่างมีนัยสาคัญ (p<0.05) สําหรับค่า Mean arterial pressure ค่าดัชนี มวลกาย และค่า Triglyceride มีการเปลี่ยนแปลงอย่าง ไม่มีนัยสําคัญ 7. ผลการทดสอบรูปแบบการเรียนรู้ของผู้สูงอายุเพื่อส่งเสริมภาวะพฤฒพลัง โดยการนําไปทดลองใช้ พบว่า ค่าคะแนนเฉลี่ยของภาวะพฤฒพลัง หลังการเรียนรู้เป็นระยะเวลา 1 และ 4 สัปดาห์ สูงกว่ าก่อนการเรียนรู้อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p<0.001) และผลการประเมินรับรองรูปแบบโดยใช้ผู้เชี่ยวชาญ พบระดับความเหมาะสมของรูปแบบอยูในระดับมาก (X = 4.38, S.D. = 0.76) และผู้ประเมินได้รับรอง ความเหมาะสมของการนํารูปแบบการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมภาวะพฤฒพลังไปใช้อยู่ในระดับมาก (X = 4.00 S.D. = 0.0) โดยมีขอเสนอแนะให้ปรับปรุงรูปแบบโดยกําหนดพฤติกรรมที่พึงประสงค์ของการเรียนรู้ไว้ด้วย เพื่อให้เกิด ความต่อเนื่องในการพัฒนาภาวะพฤฒพลัง ส่วนการนํารูปแบบไปใช้มีข้อเสนอแนะดังนี้คือ 1) ควรคัด สรรชุมชนที่มีผู้นําชุมชนที่มีศักยภาพสูง 2) ควรคัดสรรชุมชนที่มีแกนนํา ผู้สูงอายุ 3) ควรมีบุคลากรที่ดําเนินงานเป็นผู้รับผิดชอบหลักในการจัดกิจกรรม เช่น นักวิชาการสาธารณสุข นักสังคมสงเคราะห์ และ 4) ควรมีการจัดสรรงบประมาณเป็นค่าดําเนินการจัดกิจกรรม
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2007
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2560_037.pdf1.39 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น