กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1996
ชื่อเรื่อง: ศิลปะการเล่นหนังใหญ่ของไทย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Nang Yai or Thai Shadow Play
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ประเทิน มหาขันธ์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศิลปกรรมศาสตร์
คำสำคัญ: การละเล่น
หนังใหญ่
สาขาปรัชญา
วันที่เผยแพร่: 2558
สำนักพิมพ์: คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: งานวิจัยเรื่อง ศิลปะการเล่นหนังใหญ่ของไทยเป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ที่มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) สืบค้นรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการเล่นหนังใหญ่ของไทย ทั้งที่เป็นข้อมูลลายลักษณ์ และมิใช่ลายลักษณ์ 2) ตรวจสอบวิพากษ์ วิเคราะห์ และสังเคราะห์ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องชัดเจน 3) เพื่อให้ได้องค์ความรู้เกี่ยวกับศิลปะการเล่นหนังใหญ่ ทั้งในด้านนาฏศิลป์ คีตศิลป์ ดุริยางคศิลป์ วรรณศิลป์ วิจิตรศิลป์ และหัตถศิลป์ เข้าไว้ด้วยกัน อย่างมีความประสมประสาน กลมกลืนผลการวิจัยพบว่า การเล่นหนังใหญ่ของไทยมีมาตั้งแต่ครั้งอาณาจักรสุโขทัย โดยได้รับแบบอย่างการเล่นมาจากอินเดีย (ชมพูทวีป) โดยตรง หรือรับผ่านเขมรมาพร้อมกับการค้าและการเผยแพร่ศาสนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งศาสนาพราหมณ์ และฮินดู หรืออีกนัยหนึ่งเป็นการละเล่นที่คนไทยประดิษฐ์ขึ้นเอง ยังมิอาจหาข้อยุติได้ กระบวนการเล่นหนังใหญ่ของไทย เริ่มต้นด้วยการสร้างตัวหนังจากหนังโค หนังกระบือที่ผ่านกระบวนการฟอกและตากแห้งแล้ว นำมาเขียนลวดลาย และฉลุสลักเป็นตัวหนังตามตัวละครในเรื่องรามเกียรติ์ (เรื่องที่ใช้แสดงหนังใหญ่คือเรื่องรามเกียรติ์) เมื่อได้ตัวหนังตามที่ต้องการแล้วในส่วนของการแสดง 1)ต้องเตรียมคนพากย์ การพากย์หนังใหญ่มีลักษณะเดียวกันกับการพากย์โขน ฉะนั้นคนพากย์ต้องเป็นผู้มีเสียงดี มีความรู้ในเรื่องการอ่านบทกลอน และการพากย์โขน 2) เตรียมวงดนตรี (วงปี่พาทย์) สำหรับบรรเลงประกอบการแสดง 3) คนเชิดหนังต้องเป็นผู้ที่มีพื้นฐานความรู้ ความชำนาญในการเต้นโขน ส่วนอุปกรณ์ประกอบการแสดง ได้แก่ 1) จอหนัง เป็นผ้าขาวผืนใหญ่ สำหรับให้ตัวหนังทาบ และ 2) กองไฟส่องตัวหนัง เพื่อให้เห็นลวดลายที่ตัวหนังชัดเจน This study is conducted based on qualitative research methodology. The objectives of this study are 1) to investigate and to collect information either written or non-written about Nang Yai or Thai shadow play, 2) to criticize, to analyze, and to synthesize the obtained information, and 3) to develop Nang Yai knowledge in terms of harmoniously artistic integration of dancing, singing, music, literature, and fine arts. The findings show that Nang Yai or Thai shadow play has happened since Sukhothai period. However, there is no assumption that this kind of artistic play was derived directly from India, nor was passed through the trade with Khmer and the propagation of Brahminism and Hinduism, nor was it developed by the Thai. Nang Yai characters are made out of bleached and dried hide (from cow or buffalo). Characters are drawn on the skin and openwork is done. Mostly, the characters for Nang Yai are from Ramayana because Ramayana is usually played. For the performance, there must be singers (similar to Khon dancing), Thai classical music band (Pi Pat), and manipulators (handling, controlling, and dancing the characters). For the equipment, there must be screen made of large white cloth and light shot from behind the screen.
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1996
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น