กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/195
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorรัตนาภรณ์ ศรีวิบูลย์th
dc.contributor.authorอุดมลักษณ์ ธิติรักษ์พาณิชย์th
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล
dc.date.accessioned2019-03-25T08:45:56Z
dc.date.available2019-03-25T08:45:56Z
dc.date.issued2551
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/195
dc.description.abstractจากการเก็บตัวอย่าง 3 ครั้ง จากบริเวณชายฝั่ง บางตัวอย่างเป็นดินบริเวณป่าชายเลนในจังหวัดชลบุรี และบริเวณหาดสวนสน จังหวัดระยอง และได้ตัวอย่างทั้งหมด 29 ตัวอย่าง นำดินมา Pretreat ที่ 55 ° C 15 นาที และที่ 100 ° C 1 ชั่วโมง ก่อนที่จะนำมาเจือจาง 10 -100 เท่า และเกลี่ยลงบนอาหารเลี้ยงเชื้อ Starch casein ager (SCA) และ Humic acid vitamin ager (HA) หลังจากที่ได้บ่มเชื้อไว้ 7 – 14 วัน ที่ 35 ° C และนำเชื้อแอคติโนมัยซีท ขึ้นบนจานเพาะเชื้อมาตรวจดู แยกเชื้อและทำให้บริสุทธิ์พบเชื้อแอคติโนมัยซีททั้งหมด 286 ไอโซเลต เป็นเชื้อที่แยกได้จากจังหวัดชลบุรี 162 ไอโซเลต และจากจังหวัดระยอง 124 ไอโซเลต โดยพบทั้งแอคติโนมัยซีทที่มีโคโลนีสีต่าง ๆ คือ สีเทา เทาเขียว ชมพู แดง น้ำตาล เหลือง ส้ม และสีม่วง เชื้อแอคจติโมมัยซีทส่วนใหญ่ที่สร้างรงควัตถุได้มาก เป็นแอคติโนมัยซีทในสกุล Streptomyces โดยที่มีเชื้อที่สร้างรงควัตถุที่ละลายลงในอาหารเลี้ยงเชื้อได้มีทั้งสี เหลือง น้ำตาล น้ำตาลเหลือง ม่วง ชมพู สีแดง สีเขียว และสีเขียวเหลือง โดยสร้างรงควัตถุละลายสีน้ำตาลมากที่สุด (17 isolates) รองลงมาคือสีเหลือง (12 isolates) และสีน้ำตาลเหลือง สีม่วง สีชมพู สีแดง สีเขียว และสีเขียวเหลือง 9, 3, 3, 3, 2, 1 isolates ตามลำดับ นอกนั้นก็เป็นรงควัตถุที่ sporemass และที่ substrate mycelium ซึ่งมีทุกสีที่กล่าวมา จากกการนำเอา แอคโนมัยซีทที่สร้างรงควัตถุได้มาเลี้ยงในอาหารชนิดต่าง ๆ กัน พบว่าส่วนมากแล้วแอคติโนมัยซีทเจริญได้ดี และสร้างสีได้มากในอาหารเลี้ยงเชื้อ ISP2 และ ISP3 รงควัตถุละลายส่วนมากละลายได้ดีใน Methanol และรงควัตถุที่สร้างขึ้น ส่วนมากไม่เป็นพิษ เนื่องจากผลการทดสอบระดับความเป็นพิษนั้น ในความเข้มข้นของสาร ตั้งแต่ 0.781 µɡ / ml ไม่พบว่า artemia ตายไปภายในระยะเวลา 24 ชั่วโมงของการทดสอบ ยกเว้น strain A 11-8 ที่ให้ค่า LC50 ที่ 0.781 µɡ / ml ซึ่งการใช้ค่า LC50 สำหรับเป็นเครื่องชี้บอกถึงระดับความเป็นพิษของสารนั้น หากค่า LC50 มากกว่า 20 µɡ / ml จะถูกนับว่าสารนั้นไม่มีพิษth_TH
dc.description.sponsorshipโครงการวิจัยนี้ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากงบประมาณแผ่นดิน ประจำปีงบประมาณ 2550 และ 2551en
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectจุลินทรีย์ - - การใช้ประโยชน์th_TH
dc.subjectสีผสมอาหารth_TH
dc.subjectสาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัชth_TH
dc.titleการใช้ประโยชน์จากจุลินทรีย์ ในการผลิตสีผสมอาหารที่ปลอดภัยth_TH
dc.title.alternativeUtilization of microorganisms for safety food dyeen
dc.typeงานวิจัย
dc.year2551
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น