กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/183
ชื่อเรื่อง: การค้นหาสารที่ออกฤทธิ์ต้านการอักเสบในสมุนไพรจากภาคตะวันออก
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Investigation of anti-inflammatory agents from medicinal plants from East of Thailand
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เอกรัฐ ศรีสุข
กล่าวขวัญ ศรีสุข
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
คำสำคัญ: การรักษาด้วยสมุนไพร
การอักเสบ
สมุนไพร
สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช
วันที่เผยแพร่: 2551
สำนักพิมพ์: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อค้นหาสารต้านอักเสบที่สามารถยับยั้งการผลิตไนตริกออกไซด์ และโพรสตาแกลนดิน E2 (PGE2) ซึ่งเป็นสารสื่อกลางการอักเสบที่ผลิตโดยเอนไซม์ inducible nitric oxide synthase และ cyclooxygenase-2 ตามลำดับ จากพืชสมุนไพรไทย ส่วนสกัดเฮกเซน และเอทิลอะซิเตท จากลำต้นใต้ดินของพืช 5 ชนิดในตระกูลขิงข่า ได้แก่ ขิงแม่โขง กระทือป่า ว่านสาวหลง เร่วหอม และว่านริดสีดวง สามารถยับยั้งการผลิตไนตริกออกไซด์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในเซลล์แมคโครฟาจ RAW 264.7 ที่สัมผัสกับ LPS โดยส่วนสกัดเอทิลอะซิเตทจะมีศักยภาพในการยับยั้งมากที่สุด มีค่า IC50 อยู่ ระหว่าง 5.23 to 20.69 µg/mL นอกจากนี้ยังพบว่าส่วนสกัดเอทิลอะซิเตทของพืชทั้ง 5 ชนิด ยกเว้นขิงแม่โขง แสดงฤทธิ์ในการยับยั้งการผลิต PGE2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการทดลองที่ได้แสดงให้เห็นว่าส่วนสกัดเอทิลอะซิเตท ของพืชทั้ง 5 ชนิด ควรนำไปศึกษาวิจัยต่อ และอาจนำไปใช้ประโยชน์ในการรักษาโรคที่เกิดจากการอักเสบต่างๆ ABSTRACT This work aimed to search for inducible nitric oxide synthase (iNOS) and cyclooxygenase-2 (COX-2) which produced nitric oxide (NO) and prostaglandin E2 (PGE2), respectively. NO and PGE2are inflammatory mediators that involved in various inflammatory diseases. In the course of our studies on bioactive constituents from those medicinal plants, we found that hexane and ethyl acetate extracts from the dried rhizomes of Zingiberaceae plants, Zingiber mekongense Gagnep, Zingiber thorelii Gagnep, Amomum biflorum Jack, Etlingera paviena (Pierre ex Gagnep.) R.M.Sm, and Curcuma sp., inhibited significantly on NO production in macrophages RAW 264.7 stimulated with lipopolysaccharide (LPS). The ethyl acetate extracts of those Zingiberaceae plants showed the most potent inhibitory effect with IC50 values of 5.23 to 20.69 µg/mL. Additionally, all ethyl acetate extracts at 50 µg/mL except the Z. mekongense extract exhibited inhibitory activities on PGE2 production. Thus, these results indicate that ethyl acetate extracts of those Zingiberaceae plants contain useful components for treating various inflammatory diseases.
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/183
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น