กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/182
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorวีรพงศ์ วุฒิพันธุ์ชัยth
dc.contributor.authorสุบัณฑิต นิ่มรัตน์th
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned2019-03-25T08:45:55Z
dc.date.available2019-03-25T08:45:55Z
dc.date.issued2548
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/182
dc.description.abstractการเก็บรักษาน้ำเชื้อปลาตะเพียนขาว (Puntius gonionotus) และปลาดุกอุย (Clarias macrocephalus) แบบแช่เย็นโดยการนำเอาน้ำเชื้อสดมาเจือจางในสารละลายบัฟเฟอร์ภายใน rissue culture flask ในอัตราส่วน 1: 1 โดยปริมาตร และเก็บแช่เย็นที่อุณหภูมิ 0-4 องศาเซียลเซียส ปรากฏว่าสารละลาย Calcium-free Hank’s balanced salt solution (Ca-F HBSS) มีความเหมาะสมในการแช่เย็นน้ำเชื้อ ปลาตะเพียนขาวมากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับการใช้ Hank’s balanced salt solution (HBSS), Cortland solution, Extender 7 และ Extender 13 เนื่องจากสามารถยืดระยะเวลาการเก็บรักษาน้ำเชื้อแช่เย็นได้นานกว่าสารละลายบัฟเฟอร์สูตรอื่นๆ โดยการเจือจางน้ำเชื้อปลาตะเพียนขาวใน Ca-F HBSS สามารถเจือจางได้มากที่สุดเพียง 1 : 2 โดยปริมาตรเท่านั้น เนื่องจากการใช้อัตราเจือจางที่สูงขึ้นทำให้ระยะเวลาที่สามารถเก็บรักษาน้ำเชื้อได้สั้นลง การแช่น้ำเชื้อปลาดุกอุยพบว่าสารละลาย HBSS ให้ผลการเก็บรักษาน้ำเชื้อได้ดีที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับการใช้ Extender 7, Extender 13 และ Cortland solution โดยไม่พบความแตกต่างของอัตราส่วนการเจือจางน้ำเชื้อใน HBSS ในอัตราส่วนตั้งแต่ 1: 1, 1 : 2 และ 1 : 4 การเก็บรักษาน้ำเชื้อปลาตะเพียนขาว และปลาดุกอุยแบบแช่แข็งได้แบ่งการทดลองออกเป็น 2 ตอน คือ ตอนที่ 1 ทดสอบความเป็นพิษของสารละลายไครโอโพรเทคแทนท์ และตอนที่ 2 การแช่แข็งน้ำเชื้อด้วยเครื่องมือ controlled-rate programmable freezer การทดสอบความเป็นพิษของสารไครโอโพรเทคแทนท์ต่อน้ำเชื้อปลาตะเพียนขาวทำโดยน้ำเชื้อปลาตะเพียนขาวมาเจือจางในสารไครโอโพรเทคแทนท์ชนิดต่างๆ ได้แก่ Dimethylsulfoxide (DMSO), acetamide, methanol, formamide, sucrose, propylene glycol, glycerol, ethanol และ ethylene glycol โดยที่แต่ละชนิดใช้ความเข้มข้นสุดท้าย 4 ระดับ(5%, 10%, 15% และ 20%) ทำการทดสอบใน tissue culture flask ที่อุณหภูมิ 25 °C พบว่า methanol, sucrose และ DMSO มีความเป็นพิษต่อน้ำเชื้อปลาตะเพียนขาวในระดับที่ต่ำ ในขณะที่การทดสอบความเป็นพิษของสารไครโอโพรเทคแทนท์ต่อน้ำเชื้อปลาดุกอุยพบว่า propylene glycol, glycerol และ formamide มีความเป็นพิษต่ำ เมื่อเปรียบเทียบกับ acetamide และ ethylene glycol การแช่แข็งน้ำเชื้อปลาตะเพียนขาวในน้ำยาสูตร Ca-F HBSS โดยใช้ DMSO ที่ความเข้มข้น 5%, 10%, 15% และ 20% เป็นสารไครโอโพรเทคแทนท์โดยใช้อัตราการลดอุณหภูมิ 3 ระดับ ได้แก่ การลดอุณหภูมิอย่างรวดเร็ว (10°C/นาที), ระดับการลดอุณหภูมิอย่างปานกลาง (5°C/นาที) และระดับการลดอุณหภูมิอย่างช้า(3°C/นาที) พบว่าการใช้ DMSO 10% ที่ระดับอัตราการลดอุณหภูมิอย่างรวดเร็ว (10°C/นาที) มีเปอร์เซ็นต์การเคลื่อนที่ของสเปริม์หลังการละลายดีที่สุด และสามารถปฏิสนธิกับไข่ปลาตะเพียนขาวได้ไม่แตกต่างจากการใช้น้ำเชื้อสด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05) การแช่แข็งน้ำเชื้อปลาดุกอุยโดยใช้สารละลายบัฟเฟอร์ C –F HBSS และใช้สารไครโอโพรเทคแทนท์ที่มีความเป็นพิษน้อย 3 ตัว (propylene glycol, glycerol และ formamide) ที่ความเข้มข้น 4 ระดับ (5%, 10%, 15% และ 20%) โดยใช้อัตราการลดอุณหภูมิ 3 ระดับคืออัตราการลดอุณหภูมิอย่างรวดเร็ว (10°C/นาที), อัตราการลดอุณหภูมิอย่างปานกลาง (5°C/นาที) และอัตราการลดอุณหภูมิอย่างช้า(3°C/นาที) พบว่าการใช้ propylene glycol 15 %ที่อัตราการลดอุณหภูมิอย่างรวดเร็วมีเปอร์เซ็นต์การเคลื่อนที่ของสเปิร์มหลังการละลายดีที่สุด และสามารถปฏิสนธิกับไข่ปลาดุกอุยได้ไม่แตกต่างจากการใช้น้ำเชื้อสดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(P>0.05)th_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectน้ำเชื้อ - - การเก็บและรักษาth_TH
dc.subjectปลา - - การผสมเทียมth_TH
dc.subjectปลา - - การสืบพันธุ์th_TH
dc.subjectปลาดุกอุยth_TH
dc.subjectปลาตะเพียนขาวth_TH
dc.subjectสาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยาth_TH
dc.titleการเก็บรักษาน้ำเชื้อปลาตะเพียนขาวและปลาดุกอุยแบบแช่เย็นและแบบแช่แข็งเพื่อการผสมเทียมth_TH
dc.title.alternativeDevelopment of short-term chilled storage and cryopreservation techniques of common silver barb and Gunther's walking catfish spermatozoa for artificial inseminationen
dc.typeResearch
dc.year2548
dc.description.abstractalternativeAbstract Short-term chilled storage of common silver barb (Puntius gonionotus) and catfish (Clarias macrocephalus) semen was investigated by diluting freshly collected semen in different kinds of sperm extender at a ratio of 1 : 1 by volume in tissue culture flasks before storage at temperature of 0-4 °C. Calcium-free Hank’s balanced salt solution (Ca-F HBSS) was the most suitable sperm extender for chilled storage of P. gonionotus semen, compared to the use of Hank’s balanced salt solution (HBSS), Cortland solution, Extender 7 and Extender 13. A maximum dilution ratio of P. gonionotus semen in Ca-F HBSS was 1:2 by volume since the use of higher dilution ratio significantly declined the successful period of sperm motility before loss of motility. In order to chilled storage of C. macrocephalus semen, HBss was shown to be the appropriate sperm extender, compared to Extender 7, Extender 13 and Cortland solution. In addition, there was no significant difference in successful storage period of C. macrocephalus sperm samples diluted with HBSS at 1:1, 1:2 or 1:4. Cryopreservation of P. goninotus and C. macrocephalus semen was studies based on evaluation on the toxicity of to cryoprotectants on sperm motility and development of cryopreservation protocol. Semen of P. gonionotus was diluted with different cryoprotectants namely, dimethylsulfoxide (DMSO) , acetamide, methanol, formamide, sucrose, propylene glycol, glycerol, ethanol and ethylene glycol at four concentration levels (5%, 10%, 15% and 20%). Methanol, sucrose and DMSO were less toxic to P. gonionotus semen. On the other hand, propylene glycol, glycerol and formamide were less toxic to C. macrocephalus semen, compared to the use of acetamide and ethylene glycol. Cryopresrvation of P. gonionotus semen was accomplished by diluting semen in Ca-F HBSS and DMSO at the final concentrations of 5%, 10%, 15% and 20% Diluted semen was crypreserved at three freezing rates, namelyslow (3°C/min), medium (5°C/min) and fast (10°C/min) freezing rate using programmable controlled-rate freezer. Results showed that P. gonionotus semen cryopreserved with 10% DMSO at 10°C/min resulted in the highest percentage of sperm motility and were capable of fertilizing eggs similar to the fresh semen. Similarly, C. macrocephalus semen was diluted with propylene glycol, glycerol and formamide to get final concentrations of 5, 10, 15 and 20% using Ca-F HBSS as extender. They were frozen using different freezing rate, fast (10°C/min), medium (5°C/min) and slow (3°C/min) freezing rate. Result showed that C. macrocephalus semen samples cryopreserved with 15% propylene glycol using the fast freezing rate had the highest sperm motility after thawing, and were capable of fertilizing eggs similar to the fresh semen.en
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น